FETC International Thailand จัดงานสัมมนา "Smart Mobility" ในงาน iCHE 2024 ชูประเด็นด้านการคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ รวมถึงระบบเก็บค่าผ่านทาง M-Flow

กรุงเทพฯ, 25 กันยายน 2567 /PRNewswire/ — FETC International Thailand เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติวิศวกรรมงานทาง ครั้งที่ 5 (5th International Conference on Highway Engineering 2024 หรือ iCHE2024) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน โดยบริษัทฯ ได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ "Smart Mobility" (การคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ) เพื่อแบ่งปันความสำเร็จในการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETC) จากทั่วโลก นอกจากนี้ FETC International Thailand ยังได้รับเชิญจากกรมทางหลวงแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง

เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา: คุณเคนนี่ เฉิน (Mr.Kenny Chen) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟอีทีซี อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (FETC International Thailand), ดร.ธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง, ดร.ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง, ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย (Thai ITS Association)
เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา: คุณเคนนี่ เฉิน (Mr.Kenny Chen) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟอีทีซี อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (FETC International Thailand), ดร.ธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง, ดร.ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง, ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย (Thai ITS Association)

"เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน iCHE 2024 และมีความยินดีที่ได้ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากอุตสาหกรรมการขนส่งของประเทศไทย" คุณเคนนี่ เฉิน กรรมการผู้จัดการ FETC International Thailand กล่าว  "แขกผู้มีเกียรติของเราประกอบด้วยรองอธิบดีกรมทางหลวง ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งทุกท่านได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับแนวทางที่ประเทศไทยนำระบบ M-Flow (Multi-Lane Free Flow) ซึ่งเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางไร้ไม้กั้น มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรที่คับคั่งบนท้องถนน"

ในระหว่างการสัมมนา คุณเคนนี่ได้เน้นย้ำถึงข้อดีของเทคโนโลยี M-Flow โดยระบุว่านอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทางหลวงแล้ว เทคโนโลยีนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มทั่วโลกในการนำเทคโนโลยี M-Flow มาใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การจดทะเบียนรถยนต์ การควบคุมบริเวณชายแดน และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

ดร.ปิยะพงศ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการขนส่งอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านการค้าของโลก โดยกล่าวถึงอนาคตของการขนส่งที่ต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างราบรื่น เช่น AI และ 5G ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์และการสร้างระบบขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืน

ดร.ธนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้กล่าวถึงความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญในการใช้ระบบเก็บค่าผ่านทาง โดยระบุว่า "ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยคงที่อยู่ที่ 30% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความไม่คุ้นเคยของประชาชนในการเติมเงินล่วงหน้า ส่งผลให้ต้องสร้างด่านเก็บเงินแบบมีไม้กั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เริ่มใช้ระบบ M-Flow อัตราการใช้งานได้เพิ่มขึ้นเป็น 42% หรือเติบโตที่ 8% ต่อปี และคาดว่าภายในปี 2568 ทางหลวง 3 สาย และด่านเก็บเงิน 29 แห่งในประเทศไทยจะนำระบบ M-Flow มาใช้เต็มรูปแบบ"

ศ.ดร.เอกชัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายทางเทคนิคในการนำระบบเก็บค่าผ่านทางที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้ในประเทศไทย โดยระบุว่าระบบดังกล่าวจำเป็นต้องสามารถอ่านตัวอักษรและตัวเลขภาษาไทย รวมถึงชื่อจังหวัดบนป้ายทะเบียนรถได้อย่างแม่นยำ "เทคโนโลยี AI สามารถอ่านป้ายทะเบียนรถในประเทศไทยได้อย่างแม่นยำผ่านการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า M-Flow จะได้รับการยอมรับในวงกว้างด้านความสะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงต้องพัฒนาบริการและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อผลักดันให้อัตราการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น"

ดร.ต้องการ ประธานสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย มองว่าระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS) เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยกล่าวว่า "อนาคตของระบบขนส่งอัจฉริยะขึ้นอยู่กับนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การขับขี่แบบไร้คนขับ การจัดการจราจรแบบเรียลไทม์ และการบำรุงรักษาถนนและอุปกรณ์เชิงคาดการณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี AI และ 5G ขณะเดียวกัน การปกป้องข้อมูลจะมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาเทคโนโลยีจะเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม"

การเข้าร่วมของ FETC International Thailand ในงาน iCHE 2024  และบทบาทในการส่งเสริมการคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการนำนวัตกรรมมาใช้ในระบบขนส่งและการสร้างความร่วมมือใน    
ระดับโลก นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับรางวัล Taiwan Prime Award ด้านความก้าวหน้าในเทคโนโลยี AI เมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย

Source : FETC International Thailand จัดงานสัมมนา "Smart Mobility" ในงาน iCHE 2024 ชูประเด็นด้านการคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ รวมถึงระบบเก็บค่าผ่านทาง M-Flow

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles