ผลสำรวจโดย Sun Life Asia ชี้ให้เห็นความท้าทายด้านเงินเฟ้อในกลุ่มผู้เกษียณอายุ

ท่ามกลางประชากรในเอเชียที่มีอายุมากขึ้น คนรุ่นใหม่ต่างเกษียณอายุช้าลงเพื่อออมเงินมากขึ้น

  • ผู้เกษียณอายุในปัจจุบันเกือบหนึ่งในสี่รู้สึกเสียดายเกี่ยวกับการตัดสินใจทางการเงินในอดีต โดยสาเหตุหลักคือการออมเงินไม่เพียงพอ (66%) รองลงมาคือลงทุนไม่เพียงพอ (52%) และไม่มีการวางแผนค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล (34%)
  • ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 60% จะวางแผนค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุก่อนเกษียณอายุจริงภายใน 5 ปี
  • ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุน้อยกำลังปรับเปลี่ยนความคาดหวังเนื่องจากความท้าทายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเลื่อนแผนเกษียณออกไป โดยมีสาเหตุหลักคือความจำเป็นต้องออมเงินเพิ่มขึ้น (61%) ความต้องการมีกิจกรรมทำ (49%) การมีความสุขกับการทำงาน (46%) และค่าครองชีพที่สูงขึ้น (43%)

ฮ่องกง, 3 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ — ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรอย่างมีนัยสำคัญ โดยเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรจะมีอายุมากกว่า 60 ปีภายในปี 25931 การวิจัยใหม่ของ Sun Life Asia ได้เผยให้เห็นถึงความท้าทายและโอกาสในการวางแผนการเกษียณอายุทั่วทั้งภูมิภาค

Financial security is the cornerstone of a fulfilling retirement but many are unprepared.
Financial security is the cornerstone of a fulfilling retirement but many are unprepared.

งานวิจัยที่มีชื่อว่า มองการเกษียณอายุใหม่: เผชิญหน้ากับอนาคตอย่างมั่นใจ (Retirement Reimagined: facing the future with confidence) ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 3,500 คนในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม เกี่ยวกับความคาดหวังและวิธีการวางแผนของพวกเขาในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยชรา

คนส่วนใหญ่ขาดความพร้อมในการรับมือกับความเป็นจริงทางการเงินหลังเกษียณอายุ

งานวิจัยเผยให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการมีความมั่นคงทางการเงินแบบพึ่งพาตนเองได้ในวัยชรา เนื่องจากแผนการเกษียณอายุกำลังเปลี่ยนจากการพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐและครอบครัว มาสู่การให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนส่วนบุคคล การออมเพื่อการเกษียณถูกระบุว่าเป็นเป้าหมายทางการเงินอันดับหนึ่งในช่วง 12 เดือนข้างหน้าสำหรับทุกกลุ่มอายุที่ทำการสำรวจ อย่างไรก็ตาม หลายคนยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับความเป็นจริงทางการเงิน โดย 59% จะเลื่อนการวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับเกษียณอายุออกไปจนถึง 5 ปีหรือน้อยกว่านั้นก่อนเกษียณ และกลุ่มที่น่ากังวลว่าอีก 14% จะไม่วางแผนเรื่องนี้เลย

David Broom ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าและการจัดจำหน่ายของ Sun Life Asia กล่าวว่า "ภูมิทัศน์ของการเกษียณอายุในเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อันเป็นผลมาจากอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นและบรรทัดฐานทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า แม้ความมั่นคงทางการเงินแบบพึ่งพาตนเองได้จะถูกมองว่าเป็นรากฐานสำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ แต่หลายคนยังคงไม่พร้อมรับมือกับความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น การวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ และการออมอย่างมีวินัยจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมั่นใจ"

แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะออมเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้เพื่อการเกษียณอายุ แต่ก็เป็นที่น่าตกใจว่ามีถึง 23% ที่ยังไม่มีการออมเงินใด ๆ เมื่อถามถึงแหล่งที่มาของรายได้ที่วางแผนไว้สำหรับการเกษียณอายุ คำตอบเฉลี่ยคือ 25% ของรายได้จะมาจากเงินสดที่ออมไว้ ตอกย้ำถึงโอกาสที่อาจพลาดไปในการเพิ่มรายได้หลังเกษียณอายุผ่านการลงทุนและการตามอัตราเงินเฟ้อให้ทัน

ผู้เกษียณอายุไม่ทันตั้งตัวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และรู้สึกเสียดายที่เตรียมตัวไม่เพียงพอ

เพื่อเตือนใจคนรุ่นหลัง ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 26% ของผู้เกษียณอายุยอมรับว่าตนไม่ได้วางแผนค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ส่งผลให้ 20% ของผู้เกษียณรู้สึกไม่พร้อมเมื่อเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้เกษียณอายุที่ไม่ทันตั้งตัวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สาเหตุสำคัญคือค่าครองชีพทั่วไป (76%) และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (51%) โดยมีหลายคนถูกบังคับให้ลดค่าใช้จ่าย (73%) และขายสินทรัพย์การลงทุน (29%) เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้

ผู้เกษียณอายุประมาณ 23% รู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจทางการเงินในอดีต โดยสาเหตุหลักคือการออมเงินไม่เพียงพอ (66%) ตามมาด้วยการลงทุนไม่เพียงพอ (52%) และการไม่วางแผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (34%)

คนรุ่นใหม่กับความคาดหวังที่เปลี่ยนไป: การเกษียณช้าลงและออมเงินให้มากขึ้น

เป็นที่น่าสนใจว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุน้อยกำลังตระหนักถึงความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้ความคาดหวังเปลี่ยนตามไป โดยผู้ที่ยังทำงานในปัจจุบันคาดว่า ตนเองจะเกษียณเฉลี่ยที่อายุ 64 ปี ซึ่งช้ากว่าค่าเฉลี่ยของวัยเกษียณในปัจจุบันถึง 5 ปี (59)

ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ยังไม่ได้เกษียณอีก 17% เลื่อนแผนการเกษียณอายุออกไปอย่างจริงจัง ขณะที่มีเพียง 8% ของผู้ที่เกษียณแล้วที่ทำเช่นเดียวกัน สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ส่วนบุคคล สาเหตุหลักที่ทำให้การเกษียณถูกเลื่อนออกไป ได้แก่ ความจำเป็นต้องออมเงินเพิ่มขึ้น (61%) ความต้องการมีกิจกรรมทำ (49%) การมีความสุขกับการทำงาน (46%) และค่าครองชีพที่สูงขึ้น (43%)

ผู้ที่คาดว่าจะเกษียณอายุในภายหลังมีแนวโน้มที่จะยกให้ค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุหลัก (46%) มากกว่าผู้เกษียณในปัจจุบันที่เลื่อนการออกจากงาน ซึ่งมีสัดส่วนที่ 19%

กลุ่ม Gold Star มองการเกษียณด้วยความหวัง ขณะที่กลุ่ม Retirement Rebels ยังต้องดิ้นรนต่อไป

ผลสำรวจยังเผยให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างสองกลุ่มที่แตกต่างกัน: "Gold Star" หรือผู้ที่วางแผนการเกษียณอายุอย่างดีเยี่ยม และ "Retirement Rebels" หรือผู้ที่ไม่มีแผนเลย โดยกลุ่ม Gold Star มีการวางแผนค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามากกว่าห้าปีก่อนเกษียณ และออมเงินไว้สำหรับเกษียณมากกว่า 10% ของรายได้ และได้รับความคุ้มครองอย่างดีจากผลิตภัณฑ์ประกันและเงินบำนาญ

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Gold Star กับกลุ่ม Retirement Rebels ซึ่งไม่มีประกันและเงินบำนาญ และไม่มีการวางแผนและการออมที่เพียงพอในช่วงเกษียณพบว่า กลุ่ม Gold Star ที่เกษียณแล้วมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายไม่เกินค่าใช้จ่ายที่คาดไว้ (73% เทียบกับ 31%) และมีแนวโน้มที่จะเสียดายกับการตัดสินใจทางการเงินหลังเกษียณน้อยกว่า (14% เทียบกับ 40%)

กลุ่ม Gold Star ยังมีแนวโน้มที่จะปรึกษาแหล่งข้อมูลมืออาชีพเกี่ยวกับการวางแผนการเกษียณอายุมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือที่ปรึกษาอิสระ และพวกเขามีความมั่นใจในสุขภาพและการเงินของตนเองมากขึ้นในช่วงหลังเกษียณ

เมื่อพิจารณาจากทุกกลุ่มแล้ว ความปรารถนาสูงสุดในการเกษียณอายุคือการใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง (35%) รองลงมาคือโอกาสในการหลีกหนีจากงานประจำและการได้หยุดพักผ่อน (22%) และการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก (18%) ขณะที่ความกังวลสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับช่วงหลังเกษียณคือปัญหาสุขภาพและการเสื่อมถอยของร่างกาย (59%) ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อความฝันเหล่านี้

David Broom ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าและการจัดจำหน่ายของ Sun Life Asia กล่าวว่า "การดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเป็นความท้าทายร่วมกันในชุมชนของเรา สุขภาพซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญที่สุดยังคงมีความเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความมั่นคงทางการเงิน การทำงานที่มีประสิทธิผล และการมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับครอบครัวและชุมชน เรามีโอกาสที่ไม่เหมือนใครในการกำหนดนิยามใหม่ให้แก่การเกษียณอายุอย่างมั่นคงและมีสุขภาพดี ซึ่งหมายถึงการทำให้ผู้คนมีความมั่นใจหลังการเกษียณงานของพวกเขาด้วยแผนการเงินเชิงรุก"

เกี่ยวกับ Sun Life

Sun Life เป็นองค์กรบริการทางการเงินระหว่างประเทศชั้นนำที่ให้บริการโซลูชันด้านการจัดการสินทรัพย์ ความมั่งคั่ง การประกันภัย และสุขภาพแก่ลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าสถาบัน Sun Life ดำเนินธุรกิจในตลาดหลายแห่งทั่วโลก ประกอบด้วยแคนาดา, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, อินเดีย, จีน, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, เวียดนาม, มาเลเซีย และเบอร์มิวดา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 Sun Life มีสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารอยู่ที่ 1.46 ล้านล้านดอลลาร์ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sunlife.com

Sun Life Financial Inc. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โทรอนโต (TSX), นิวยอร์ก (NYSE) และฟิลิปปินส์ (PSE) ภายใต้สัญลักษณ์ย่อ SLF

ติดต่อฝ่ายสื่อสัมพันธ์:
Iris Ng
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีลูกค้า Sandpiper
โทร: +85298383501
[email protected] 

Becky Marshall
ผู้อำนวยการ ฝ่ายสื่อสาร Sun Life Asia
โทร: +8526170312
[email protected]

1 ที่มา: Asian Development Bank: https://www.adb.org/what-we-do/topics/social-development/aging-asia

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2522370/Sun_Life_Asia_Sun_Life_Asia_Survey_Highlights_Inflation_Challeng.jpg?p=medium600

Source : ผลสำรวจโดย Sun Life Asia ชี้ให้เห็นความท้าทายด้านเงินเฟ้อในกลุ่มผู้เกษียณอายุ

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles