รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2567 ของ Artprice by Artmarket ได้รับการเผยแพร่อย่างประจวบเหมาะกับงาน Frieze London และ Art Basel Paris เพื่อสำรวจตลาดที่เติบโตขึ้น 1,800% ตั้งแต่ปี 2543 โดยละเอียด และยืนยันว่าศิลปะคือสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่

ปารีส, 9 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ — ในรายงานประจำปีฉบับที่ 29 นี้ Artprice by Artmarket ได้นำเสนอและวิเคราะห์ตลาดศิลปะร่วมสมัย และศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ดูระเบียบวิธีได้ที่ส่วนท้ายของข่าวประชาสัมพันธ์) โดยจะมีการเปิดตัวงาน Frieze London ในวันพุธที่ 9 ตุลาคมนี้ ตามด้วยงาน Art Basel Paris ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567

ฤดูใบไม้ร่วงเป็นช่วงที่คึกคักสำหรับตลาดศิลปะร่วมสมัย และนั่นเป็นสาเหตุที่ Artprice เลือกเผยแพร่รายงานประจำปีฉบับสำคัญเกี่ยวกับตลาดศิลปะร่วมสมัยในเดือนตุลาคม และหนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของรายงานก็คือ ผลการประมูลงานศิลปะทั่วโลก และข้อมูล AI ที่รวบรวมและประมวลผลโดย Intuitive Artmarket® ซึ่งเป็น AI ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ทั้งยังระบุแนวโน้มหลัก นำเสนอศิลปินที่มียอดขายสูงสุดด้วยการจัดอันดับ 10 อันดับแรก 100 อันดับแรกและ 500 อันดับแรกที่มีชื่อเสียงของเรา ศิลปินร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมที่ได้รับคัดสรร การแยกย่อยข้อมูลสถิติการประมูลงานศิลปะที่สำคัญในแต่ละประเทศ ตามสื่อศิลปะต่างๆ และตามกระแสศิลปะต่างๆ และการให้ความสำคัญไปที่ศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (อายุต่ำกว่า 40 ปี) โดยเน้นไปที่ตลาดงานศิลปะของศิลปินหญิง ศิลปะดิจิทัล และ NFT ที่กำลังเติบโต

อ่านรายงานของ Artprice เกี่ยวกับตลาดศิลปะงานร่วมสมัย ประจำปี 2567 ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษฟรีได้ที่นี่:

Artprice's 2024 Contemporary Art Market Report cover, featuring the digital work “Auntieverse Spa Menu 201” by Niceaunties
Artprice’s 2024 Contemporary Art Market Report cover, featuring the digital work “Auntieverse Spa Menu 201” by Niceaunties

Thierry Ehrmann ผู้ก่อตั้งและประธานของ Artmarket.com กล่าวว่า: ตลาดศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากตลาดในปี 2543 เป็นอย่างมาก โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างลึกซึ้ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น +1,800% อันเนื่องมาจากผลงานของศิลปินร่วมสมัยที่ขายในงานประมูลได้มากขึ้น (ศิลปิน 33,072 คนในช่วงปี 2566/24 เทียบกับศิลปิน 5,400 คนในปี 2543) และผลงานอื่นๆ อีกมากมายที่ขายได้ (132,380 ชิ้นในปัจจุบันเทียบกับ 12,000 ชิ้นในปี 2543) ในขณะเดียวกัน ตลาดได้มีการขยับขยายออกไปในเชิงภูมิศาสตร์ โดยปัจจุบันมีตลาดการประมูลงานศิลปะตั้งอยู่ใน 61 ประเทศ เมื่อเทียบกับ 39 ประเทศในปี 2543 ซึ่งก็เห็นได้ชัดเจนว่า อินเทอร์เน็ตได้เร่งให้เกิดการไหลเวียนของธุรกรรม "ระยะไกล" อย่างรวดเร็ว และตลาดศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นภาคส่วนตลาดงานศิลปะที่ทำกำไรและเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวามากที่สุดในศตวรรษที่ 21

ความเป็นไปได้อันไม่มีที่สิ้นสุดในราคาที่ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์

ปริมาณธุรกรรมการประมูลที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะร่วมสมัยได้สร้างสถิติใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีการเปลี่ยนมืองานศิลปะมากกว่า 132,000 ชิ้น การเติบโตนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายประการ รวมถึง ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในทั่วโลก และการขายทางออนไลน์แบบดิจิทัล โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคส่วนของงานศิลปะที่มี "ราคาย่อมเยา" ซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์ ทั้งยังเป็นส่วนที่อุปทานและธุรกรรมเติบโตเร็วที่สุด โดยเติบโตขึ้นถึง 6% ในเวลาเพียงหนึ่งปี

ช่วงราคานี้คิดเป็นธุรกรรม 108,000 รายการ (แต่ละรายการได้รับการซื้อขายในมูลค่าที่ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์) คิดเป็น 82% ของยอดขายงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมดในตลอดทั้งปี ภาคส่วนที่มีราคาย่อมเยานี้มักดึงดูดผู้ซื้อครั้งแรกและนักสะสมที่มีวิสัยทัศน์ และได้เติบโตอย่างน่าทึ่งขึ้นเป็นสามเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ความสำเร็จของภาคส่วนตลาดนี้ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญในงานศิลปะร่วมสมัยอย่าง Takashi Murakami, Damien Hirst และ Jeff Koons ตลอดจนศิลปินแนวสตรีทชื่อดังระดับโลกอย่าง Keith Haring, Banksy, Mr. Brainwash, KAWS, Shepard Fairey และ Invader ซึ่งผลงานศิลปะรุ่นจำกัดจำนวนหรือที่ผลิตในปริมาณมากของพวกเขาได้ช่วยผลักดันภาคส่วนที่กำลังเติบโตนี้

I. ศิลปะร่วมสมัย (ศิลปินเกิดหลังจากปี 2488) ตัวเลขสำคัญ  2566/67

–  มูลค่ารวม 1.89 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือน (1 กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)
–  ศิลปะร่วมสมัยคิดเป็น 17% ของมูลค่าการประมูลทั่วโลกจากงานวิจิตรศิลป์และ NFT (1.13 หมื่นล้านดอลลาร์)
–  ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นปีที่ 8 ในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะร่วมสมัย
–  ลดลง 18% เทียบกับปีก่อนหน้า (2.3 พันล้านดอลลาร์) อันเนื่องมาจากจำนวนธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ที่หดตัวเพิ่มเติม
–  มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า เทียบกับในปี 2543/44 (ทำรายได้ 103 ล้านดอลลาร์)

พัฒนาการของจำนวนงานศิลปะร่วมสมัยที่ขายในงานประมูลตามช่วงราคา https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/10/image2-artprice-contemporary-works-sold-at-auction-by-price-range.png 

Evolution of the number of Contemporary artworks sold at auction by price range
Evolution of the number of Contemporary artworks sold at auction by price range

ธุรกรรมที่หนาแน่นขึ้น

–  ทำลายสถิติใหม่ด้วยยอดขาย 132,380 ล็อตในระยะเวลา 12 เดือน (+4%)
–  จำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น 10.5 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/44 (ยอดขาย 12,500 ล็อต)
–  ธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ลดลง 23%
–  อัตราการขายไม่ออกเพิ่มขึ้นเป็น 35.6%
–  ราคางานศิลปะร่วมสมัยที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมาคือ 46.5 ล้านดอลลาร์ (Basquiat)
–  ราคาเฉลี่ยของล็อตที่ขายคือ 14,300 ดอลลาร์

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัย

งานศิลปะร่วมสมัย 14 ชิ้นได้รับการประมูลไปในราคากว่า 10 ล้านเหรียญ
224 ชิ้นได้รับการประมูลไปในราคากว่า 1 ล้านเหรียญ
57% (75,395 ล็อต) ของงานศิลปะร่วมสมัยถูกขายไปในราคาที่ต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์
งานจิตรกรรมคิดเป็น 73% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก โดยมีประติมากรรมคิดเป็น 10% และภาพวาดคิดเป็น 9%
มูลค่าการประมูลภาพพิมพ์ (4%) สูงกว่าภาพถ่าย (3%)

ศิลปินร่วมสมัย

ศิลปินร่วมสมัย 33,072 คนขายผลงานในงานประมูลได้อย่างน้อยหนึ่งชิ้นในปี 2566/67
ศิลปิน 10 คนมียอดขายคิดเป็น 29% ของยอดขายงานศิลปะร่วมสมัย

ซอฟต์พาวเวอร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัย

อันดับ 1 – สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยถึง 779 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 – จีน 511 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 – สหราชอาณาจักร 279 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 – ฝรั่งเศส 63 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 – เยอรมนี 34 ล้านดอลลาร์
Sotheby’s เป็นผู้จัดจำหน่ายงานศิลปะร่วมสมัยชั้นนำระดับโลก โดยสร้างรายได้ถึง 524 ล้านเหรียญสหรัฐ (28% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมด)
โดย Christie’s ทำรายได้ไป 486 ล้านเหรียญ (26%) และ Phillips ทำรายได้ไป 253 ล้านเหรียญ (13%)
China Guardian เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับชั้นนำของจีน โดยทำรายได้ไป 57 ล้านดอลลาร์ (3%)
Van Ham เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับชั้นนำในยุโรป โดยทำรายได้ไป 9 ล้านดอลลาร์ (0.5%)

ศิลปินร่วมสมัย 10 อันดับแรกตามมูลค่าการประมูล
(1
กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)

ศิลปิน

สัญชาติ

รายได้จากการขาย

ล็อตที่ขายได้

ยอดขายสูงสุด

1

Jean-Michel BASQUIAT (2503 – 2531)

สหรัฐอเมริกา

$240,029,370

112

$46,479,000

2

Yoshitomo NARA (เกิด 2502)

ญี่ปุ่น

$70,611,210

402

$12,257,420

3

George CONDO (เกิด 2500)

สหรัฐอเมริกา

$47,432,510

127

$3,652,800

4

Keith HARING (2501 – 2533)

สหรัฐอเมริกา

$36,179,150

731

$4,470,000

5

Julie MEHRETU (เกิด 2513)

เอธิโอเปีย

$35,987,550

26

$10,737,500

6

LIU Ye (เกิด 2507)

จีน

$31,124,020

21

$7,972,260

7

Damien HIRST (เกิด 2508)

สหราชอาณาจักร

$26,603,330

857

$1,810,930

8

Richard PRINCE (เกิด 2492)

สหรัฐอเมริกา

$23,007,320

124

$2,712,000

9

SALVO (2490 – 2558)

อิตาลี

$21,140,840

248

$1,115,020

10

BANKSY (เกิด 2517)

สหราชอาณาจักร

$20,097,870

711

$4,699,550

©Artprice.com

II. ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี):

ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีมูลค่ายอดขายในการประมูลทั่วโลกถึง 148 ล้านดอลลาร์ในปี 2566/67
ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นปีที่ 7 ในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 6.8 เท่า ในตลอดช่วงระยะเวลา 24 ปี (จาก 21.9 ล้านดอลลาร์ในปี 2543/44)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษคิดเป็น 8% ของตลาดศิลปะร่วมสมัย (1.89 พันล้านดอลลาร์)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษคิดเป็น 1.3% ของตลาดงานวิจิตรศิลป์และ NFT (1.13 หมื่นล้านดอลลาร์)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมียอดขาย 8,830 ชิ้นในปี 2566/67
มีอัตราการขายไม่ออกที่ 36% เช่นเดียวกับงานศิลปะร่วมสมัย

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ

ราคาเฉลี่ยของงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษอยู่ที่ 16,800 ดอลลาร์
งานจิตรกรรมคิดเป็น 85% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
ภาพวาดเป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภาคส่วนนี้: 8.9 ล้านดอลลาร์ (6%)
NFT คิดเป็น (4%) และงานประติมากรรมได้สร้างรายได้ (3%)
ฮ่องกงสร้างรายได้ 20% ของมูลค่าการซื้อขายของภาคส่วน UC และจีนแผ่นดินใหญ่สร้างรายได้ 9%
สหราชอาณาจักรสร้างรายได้ในตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษได้ถึง 19% (28 ล้านดอลลาร์)   

ความหลากหลายของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ

ศิลปิน 3,122 คนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ได้ทำการประมูลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2566/67
ผู้หญิง 7 คน ติด 10 อันดับแรกของศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษยอดนิยมโดยอิงจากมูลค่าการประมูล
Jadé Fadojutimi (2536) มีความโดดเด่นที่สุดในรุ่นของเธอด้วยยอดขาย 22 ล็อต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 14 ล้านดอลลาร์
Matthew Wong (2527 – 2562) ได้รับราคาเสนอสูงสุด: 4.2 ล้านดอลลาร์สำหรับ Night 1 (2561) ที่ Christie’s ณ นครนิวยอร์ก ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566

NFT โดยศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษ

NFT ศิลปะร่วมสมัยพิเศษได้สร้างรายได้ถึง 5.6 ล้านดอลลาร์
NFT คิดเป็น 4% ของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
NFT ที่มีราคาขายสูงสุดในปี 2566/67 คือ OMB Red Eye/Blue Eye/Green Eye/Orange Eye (2567) ของ Tony Tafuro (2532) ซึ่งขายได้ในราคา 441,000 ดอลลาร์ที่ Christie’s ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2566

ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี 10 อันดับแรก ตามมูลค่าการประมูล
(1 กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)

ศิลปิน

รายได้จากการขาย

ล็อตที่ขายได้

ขายไม่ได้

ยอดขายสูงสุด

1

Jadé FADOJUTIMI (เกิด 2536)

$14,031,602

22

7

$1,985,170

2

Lucy BULL (เกิด 2533)

$9,437,970

14

5

$1,814,500

3

Matthew WONG (2527 – 2562)

$8,326,350

10

1

$4,164,000

4

Avery SINGER (เกิด 2530)

$6,184,060

7

1

$3,206,000

5

Loie HOLLOWELL (เกิด 2526)

$4,277,220

17

13

$1,134,000

6

CHEN Fei (เกิด 2526)

$4,224,885

14

0

$1,211,780

7

Issy WOOD (เกิด 2536)

$3,242,220

16

3

$511,490

8

Christina QUARLES (เกิด 2528)

$3,234,520

11

2

$762,000

9

Ewa JUSZKIEWICZ (เกิด 2527)

$3,217,720

24

5

$882,090

10

Mohammed SAMI (เกิด 2527)

$2,996,810

10

0

$952,500

©Artprice.com

กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 2 พันล้านดอลลาร์

ตลาดศิลปะร่วมสมัยที่มียอดขายรวม 1.888 พันล้านดอลลาร์ได้กลับไปสู่ระดับช่วงก่อนการระบาดใหญ่ แต่ก็ยังมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีก่อนวิกฤตโควิดถึง 200 ล้านดอลลาร์

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มูลค่าทางเศรษฐกิจของศิลปะร่วมสมัยพุ่งสูงขึ้นจาก 169 ล้านเป็น 1.888 พันล้านดอลลาร์ และภาคส่วนนี้ก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของตลาดศิลปะโลก ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 18% ของมูลค่าโดยรวม เทียบกับเพียง 3% ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21

การเติบโตที่น่าทึ่งนี้ไม่เพียงได้รับแรงขับเคลื่อนจากราคาผลงานของศิลปินชื่อดังอย่าง Jean-Michel Basquiat, Yoshitomo Nara หรือ Jenny Saville ที่พุ่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้รับแรงผลักดันจากตลาดที่มีความหนาแน่นที่ดีอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันผลงานศิลปะร่วมสมัยคิดเป็น 18% ของตลาดงานวิจิตรศิลป์ในทั่วโลก

ปริมาณธุรกรรมที่สร้างสถิติใหม่

จำนวนยอดขายของผลงานศิลปะร่วมสมัยในงานประมูลได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในรอบสิบปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านวิธีการขายงานศิลปะไปสู่ระบบดิจิทัลครั้งใหญ่ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดเป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขยับขยายตลาดขึ้นอย่างมาก โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งถึง +72% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด โดยการเติบโตดังกล่าวได้สร้างสถิติใหม่ด้วยธุรกรรมมากกว่า 132,000 รายการในเวลาเพียงสิบสองเดือน ทั้งยังมีผู้คนเจเนอเรชัน X (อายุ 44-59 ปี) และ Y (อายุ 24-43 ปี) ที่ประมูลทางออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของพลวัตในครั้งนี้

ศิลปะ สินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่

โดยสรุปแล้ว ตลาดงานศิลปะอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง โดยสร้างสถิติการซื้อขายอยู่บ่อยครั้งสำหรับผลงานจากทุกยุคศิลปะและในหลากหลายประเทศในการขายครั้งล่าสุด ซึ่งค่อนข้างขัดกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากบริบททางภูมิรัฐศาสตร์และการเงิน อีกทั้งเราไม่ได้พบเห็นการยกเลิกการขายตามแคตตาล็อกคลาสสิกและ/หรือเพรสทีจสำหรับปี 2567 หรือ 2568 โดยยอดขายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในตลาดงานศิลปะทั้งหมด

สถาบันจัดประมูลและนักลงทุนรายใหญ่ต่างรู้ดีว่าศิลปะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นในปัจจุบันยังส่งผลให้มีการนำเงินทุนและการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดศิลปะอีกด้วย

Artprice ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากวิกฤตการณ์หลักของศตวรรษที่ 21 ต่อตลาดศิลปะอย่างเป็นระบบมาตลอด 25 ปี – ดัชนี Nasdaq เกิดฟองสบู่แตกในปี 2543, การโจมตี 9/11 ในปี 2544, สงครามอัฟกันในปี 2544, สงครามอิรักในปี 2546, วิกฤตซับไพรม์และ CDS ในปี 2550, อัตราดอกเบี้ยติดลบที่เริ่มขึ้นในปี 2554 และวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นในปี 2562 สงครามรัสเซีย/ยูเครน อัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมในอิสราเอลในปี 2566 ความขัดแย้งในตะวันออกใกล้และตะวันออกกลาง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ตลาดศิลปะได้รับผลกระทบน้อยกว่าระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างมาก

ช่วงเวลาปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ และความหวาดกลัวต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกก็ไม่อาจบั่นทอนตลาดงานศิลปะได้

ระเบียบวิธี

รายงานนี้ได้วิเคราะห์การประมูลงานวิจิตรศิลป์สาธารณะทั้งหมด (เช่น จิตรกรรม ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะจัดวาง พรม และ NFT แต่ไม่รวมของเก่า สินค้าทางวัฒนธรรมและเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ระบุชื่อ) โดยรายงานจะครอบคลุมผลการประมูลทั่วโลกที่ Artprice by Artmarket.com บันทึกไว้สำหรับผลงานของศิลปินที่เกิดหลังปี 2488 (ศิลปะร่วมสมัย) และเน้นไปที่ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี (ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2567

ราคาทั้งหมดที่ระบุไว้ในรายงาน Artprice by Artmarket อ้างอิงตามผลการประมูลสาธารณะ และได้รวมค่าธรรมเนียมของผู้ซื้อแล้ว สัญลักษณ์ $ ทั้งหมดหมายถึงดอลลาร์สหรัฐ

รูปภาพ: [https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/10/image1-Artmarket-Ultra-Contemporary-Art-Market-2024-the-Artprice-2024-report.png]

[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/10/image2-artprice-contemporary-works-sold-at-auction-by-price-range.png]

สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 Thierry Ehrmann www.artprice.com – www.artmarket.com

ฝ่ายเศรษฐมิติของ Artprice สามารถตอบทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับสถิติและการวิเคราะห์ส่วนบุคคลได้: [email protected]

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรากับศิลปินในการสาธิตฟรี: https://artprice.com/demo

บริการของเรา: https://artprice.com/subscription

เกี่ยวกับ Artmarket.com:

Artmarket.com มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris การวิเคราะห์ของ TPI ล่าสุดประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 18,000 ราย โดยไม่รวมผู้ถือหุ้นต่างชาติ บริษัท ธนาคาร FCPs UCITS: Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF

รับชมวิดีโอเกี่ยวกับ Artmarket.com และฝ่าย Artprice: https://artprice.com/video

Artmarket และฝ่าย Artprice ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ Thierry Ehrmann ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ Groupe Serveur (ก่อตั้งขึ้นในปี 2530) อ้างอิงชีวประวัติที่ได้รับการรับรองจาก Who’s Who In France©:

https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/02/2024_Biographie_thierry_Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf

Artmarket เป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน (เอกสารต้นฉบับ เอกสารโคเด็กซ์ต้นฉบับ หนังสือที่มีคำอธิบายประกอบ และแคตตาล็อกการประมูลที่ได้มาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา) ในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 853,000 ราย

Artprice Images® ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 181 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา

Artmarket และฝ่าย Artprice ได้ปรับปรุงฐานข้อมูลของบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และเผยแพร่แนวโน้มตลาดศิลปะอย่างต่อเนื่องให้กับเอเจนซี่และสื่อหลักทั่วโลกใน 119 ประเทศ และ 9 ภาษา

https://www.prnewswire.com/news-releases/artmarketcom-artprice-and-cision-extend-their-alliance-to-119-countries-to-become-the-worlds-leading-press-agency-dedicated-to-the-art-market-nfts-and-the-metaverse-301431845.html

Artmarket.com ให้บริการโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกแก่สมาชิก 9.3 ล้านคน (สมาชิกที่เข้าสู่ระบบ) ซึ่งขณะนี้ถือเป็น Standardized Marketplace® แห่งแรกของโลกสำหรับการซื้อขายงานศิลปะในราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)

อนาคตสำหรับตลาดศิลปะมาถึงแล้วด้วย Intuitive Artmarket® AI ของ Artprice

Artmarket และฝ่าย Artprice ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดย French Public Investment Bank (BPI) ถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ

Artprice by Artmarket ได้เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2567:

https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2024

ดูรายงานประจำตลาดศิลปะโลก ปี 2566 ของเรา ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2567 โดย Artprice by Artmarket: https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2023

สรุปข่าวประชาสัมพันธ์ของ Artmarket กับฝ่าย Artprice: https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/

ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับ Artmarket และฝ่าย Artprice ทาง Facebook และ Twitter:

www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.5 ล้านคน)

twitter.com/artmarketdotcom

twitter.com/artpricedotcom

สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของ Artmarket และแผนก Artprice: https://www.artprice.com/video

ซึ่งมีสำนักงานใหญ่คือพิพิธภัณฑ์ Museum of Contemporary Art Abode of Chaos dixit The New York Times / La Demeure of Chaos:

https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013

La Demeure du Chaos/Abode of Chaos – Total Work of Art และ Singular Architecture 
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ: https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf

ติดต่อ Artmarket.com และฝ่าย Artprice – ติดต่อ: [email protected]

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2525937/Artmarket_Report.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2525936/ArtMarket_Artwork.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2260897/Artmarket_logo.jpg?p=medium600

 

Source : รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2567 ของ Artprice by Artmarket ได้รับการเผยแพร่อย่างประจวบเหมาะกับงาน Frieze London และ Art Basel Paris เพื่อสำรวจตลาดที่เติบโตขึ้น 1,800% ตั้งแต่ปี 2543 โดยละเอียด และยืนยันว่าศิลปะคือสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles