ปักกิ่ง, 28 ต.ค. 2567 /PRNewswire/ — รายงานข่าวโดย China.org.cn:
A model for China’s ecological development: Refreshing Guiyang, turning lush mountains and lucid waters into invaluable assets
ต้นแบบการพัฒนาเชิงนิเวศของจีน: กุ้ยหยาง เมืองสดชื่น เปลี่ยนขุนเขาเขียวขจีและสายน้ำใสสะอาดให้เป็นสินทรัพย์ล้ำค่า
https://youtu.be/vvTff9U_qOA
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมืองกุ้ยหยางได้มุ่งพัฒนาเมืองโดยเน้นความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เมืองกุ้ยหยางยึดหลักการพัฒนาเชิงนิเวศ จนค่อย ๆ สร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ของอุตสาหกรรมสีเขียว ที่ผสมผสานระหว่างระบบนิเวศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว พร้อมพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กุ้ยหยางเป็นที่รู้จักเพราะมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงาม ด้วยภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเนินเขาสวยงามและภูเขาเขียวขจี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองแห่งการพักร้อน" และ "เมืองแห่งป่าไม้" โดยหลังจากที่ได้พัฒนาและอนุรักษ์มาหลายปี ปัจจุบันกุ้ยหยางเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในป่ามากถึง 3,657 ชนิด รวมถึงเหยี่ยวเคสเตรลและนกคู้ต
ในด้านวัฒนธรรมนั้น กุ้ยหยางเป็นแหล่งกำเนิด "ลัทธิหยางหมิง" อันทรงอิทธิพล โดยเมื่อ 500 ปีก่อน Wang Shouren (Wang Yangming) ผู้เป็นนักปราชญ์สมัยราชวงศ์หมิง ได้พัฒนาแนวคิดของท่านที่ดินแดนหลงฉางของเมืองกุ้ยหยาง ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา กุ้ยหยางได้มุ่งมั่นพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพสูงที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ สอดรับกับหลักการ "การบูรณาการความรู้และการปฏิบัติ" ตามลัทธิหยางหมิง
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นในการพัฒนาการท่องเที่ยวของกุ้ยหยางด้วย โดยเมื่อได้มาเยือนกุ้ยหยางแล้ว ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสประสบการณ์สุดประทับใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นขึ้นมาในโรงแรมสไตล์จีนที่มีกระเบื้องดำและผนังขาว เมื่อก้าวออกมาก็จะพบกับตลาดสุดคึกคัก ได้กลิ่นหอมของอาหารรสเลิศ อย่างซุปปลารสเปรี้ยวและลูกชิ้นเต้าหู้ และหาก "เดินเล่นในเมือง" สักหน่อย ก็จะได้ยินทำนองเพลงไพเราะจาก "การแสดงดนตรีข้างถนน" ที่กำลังเป็นที่นิยม
เมื่อไม่นานมานี้ จีนได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับแนวทางเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนและทุกพื้นที่ กุ้ยหยางเป็นเพียงหนึ่งในผู้บุกเบิกบนเส้นทางนี้ โดยพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับด้านอื่น ๆ ภายใต้แนวทางการอนุรักษ์ระบบนิเวศ
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และความพยายามอย่างจริงจัง กุ้ยหยางได้เปลี่ยนข้อได้เปรียบทางธรรมชาติให้กลายเป็นจุดแข็งในการพัฒนา โดยผลงานในการพัฒนาเมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า เราสามารถเปลี่ยนขุนเขาเขียวขจีและสายน้ำใสสะอาดให้เป็นสินทรัพย์ล้ำค่าได้อย่างไร และจะสร้างความกลมกลืนระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูง รวมถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างไร
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network