นักโบราณคดีขุดค้นพบเมืองยุคสำริดในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอาระเบีย และเป็นการค้นพบครั้งแรกของภูมิภาคนี้

  • ท้าทายแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากวิถีชีวิตเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนไปสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเมืองในระยะเริ่มต้น 

อัลอูลา, ซาอุดีอาระเบีย, 2 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ —  การวิจัยทางโบราณคดีครั้งใหม่ได้เผยให้เห็นเมืองยุคสำริด (Bronze Age) ครั้งสำคัญในโอเอซิสคัยบาร์ (Khaybar) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาระเบีย ซึ่งยืนยันให้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นการตั้งถิ่นฐานในเมืองในช่วงครึ่งหลังของสหัสวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช

A 3D virtual reconstruction of the Bronze Age town of al-Natah, based on newly published archaeological evidence. Khaybar LDAP (CNRS-AFALULA-RCU)
A 3D virtual reconstruction of the Bronze Age town of al-Natah, based on newly published archaeological evidence. Khaybar LDAP (CNRS-AFALULA-RCU)

การค้นพบนี้บ่งบอกว่าโอเอซิสอย่างเช่นคัยบาร์เป็นภูมิประเทศที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อเกิดการทำเกษตรกรรมขึ้น โอเอซิสเหล่านี้ก็สามารถรองรับประชากรผู้อาศัยแบบถาวร และกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับการแลกเปลี่ยนและติดต่อปฏิสัมพันธ์กับชุมชนที่เร่ร่อน การเกิดขึ้นของความเป็นเมืองในระยะเริ่มต้นนี้ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้

เมืองที่ถูกค้นพบใหม่นี้รู้จักกันในชื่อ อัล-นาทาห์ (Al-Natah) ซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่มีการใช้งานแตกต่างกันอย่างชัดเจน นั่นคือเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่สำหรับพิธีศพซึ่งอยู่ภายในป้อมปราการ อัล-นาทาห์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,400-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และดำรงอยู่จนถึงช่วง 1,500-1,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองแห่งนี้เป็นที่อยู่ของประชากรราว 500 คน ครอบคลุมพื้นที่ 2.6 เฮกตาร์ โดยมีแนวกำแพงหินล้อมรอบโอเอซิสคัยบาร์ปกป้องเมืองแห่งนี้

ประชากรในอัล-นาทาห์อาศัยอยู่ในบ้านที่มีชั้นล่างซึ่งอาจใช้เป็นที่เก็บของ และชั้นบนเป็นพื้นที่อยู่อาศัย พวกเขาเดินตามทางถนนแคบ ๆ และฝังศพของผู้ตายในสุสานทรงหอคอยที่มีขั้นบันได เตรียมอาหารด้วยครกและสาก ผลิตและค้าขายเครื่องปั้นดินเผา และเดินทางไปเป็นระยะทางกว้างไกล ทั้งยังมีอาชีพเกี่ยวกับโลหะ ปลูกธัญพืช และเลี้ยงสัตว์

เจ้าชาย Badr bin Abdullah bin Mohammed bin Farhan Al Saud ผู้ว่าการคณะกรรมาธิการแห่งราชอาณาจักรอัลอูลา (AlUla) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของซาอุดีอาระเบีย ทรงระบุว่า "การค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญนี้เน้นให้เห็นความสำคัญระดับโลกของราชอาณาจักรในสาขาโบราณคดี และยืนยันถึงอารยธรรมที่ลึกซึ้งของแผ่นดินแห่งนี้ การค้นพบครั้งนี้ช่วยเสริมความพยายามเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักร และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญกับโลก เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ"

พระองค์ตรัสเสริมว่า "การค้นพบนี้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรในการอนุรักษ์มรดกของโลก และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมตามบทบัญญัติในวิสัยทัศน์ Saudi Vision 2030 นอกจากนี้ยังเน้นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อส่งต่อมรดกอันรุ่มรวยนี้ไปยังคนรุ่นต่อไปและทั่วโลก"

การค้นพบนี้นำโดย ดร. Guillaume Charloux จากโครงการวิจัยโบราณคดี Khaybar Longue Durée และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (French National Centre for Scientific Research: CNRS) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญชาวซาอุดีอาระเบียจากคณะกรรมาธิการแห่งราชอาณาจักรอัลอูลา (Royal Commission for AlUla: RCU) ดร. Munirah Almushawh หัวหน้าโครงการร่วม และ Saifi Alshilali นักประวัติศาสตร์และสมาชิกชุมชนท้องถิ่นในคัยบาร์

การวิจัยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดย RCU และหน่วยงานฝรั่งเศสเพื่อการพัฒนาอัลอูลา (AFALULA) ทั้งนี้ ทีมงานโบราณคดี การสะสม และการอนุรักษ์ของ RCU ได้ควบคุมโครงการวิจัยโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่และท้าทายในอัลอูลา

การค้นพบนี้ช่วยผลักดันให้อัลอูลาและซาอุดีอาระเบียเป็นศูนย์กลางของการวิจัยทางโบราณคดีและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระดับโลก RCU แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านโบราณคดีและความรับผิดชอบในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรม ด้วยการมอบหมายให้ดำเนินการและสนับสนุนการวิจัยที่เปิดเผยให้เห็นกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิชื่อ PLOS One โดยเนื้อหาของงานวิจัยนี้ท้าทายภาพลักษณ์ของระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตทางสังคมที่เน้นการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนเป็นวิถีชีวิตหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอาระเบียในยุคสำริดตอนต้นและตอนกลาง

ดร. Charloux กล่าวถึงการค้นพบว่า "การค้นพบของเราท้าทายแบบแผนของภูมิภาคอาระเบียตะวันตกเฉียงเหนือในยุคสำริด โดยเมืองอัล-นาทาห์เป็นสิ่งยืนยันว่าความเป็นเมืองแบบชนบทนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เคยเชื่อกัน ทำให้เราสามารถพิจารณาความซับซ้อนของการตั้งถิ่นฐานถาวรในโอเอซิสที่มีกำแพงล้อมรอบในยุคสำริดได้"

ในฤดูกาลภาคสนามช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่จะมาถึงนี้ RCU ให้การสนับสนุนโครงการโบราณคดี 10 โครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญกว่า 100 คนในเขตอัลอูลาและคัยบาร์

สามารถอ่านบทความนี้ได้ที่นี่: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0309963

สำหรับภาพและคำบรรยาย รวมถึงการจำลองภาพลักษณะของเมืองอัล-นาทาห์ กรุณาเยี่ยมชม: https://drive.google.com/drive/folders/1_Jbw6gbmTHGG27DGtdyMcVwxc-M8y_k4

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2546742/RCU_Fig_14.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2546743/RCU_Fig_7.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2546752/RCU_Logo.jpg?p=medium600

The residential area of the al-Natah site, looking west. Khaybar LDAP (CNRS-AFALULA-RCU)
The residential area of the al-Natah site, looking west. Khaybar LDAP (CNRS-AFALULA-RCU)

 

 

Source : นักโบราณคดีขุดค้นพบเมืองยุคสำริดในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอาระเบีย และเป็นการค้นพบครั้งแรกของภูมิภาคนี้

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles