หัวเว่ยเสนอแนวคิดสร้างเครือข่ายออปติคอลล้วน F5.5G ที่เน้น AI เพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายเติบโตไปอีกขั้น

อิสตันบูล, ตุรกี, 4 พ.ย. 2567 /PRNewswire/ — วันนี้ ในงาน Ultra-Broadband Forum ครั้งที่ 10 หรืองาน UBBF ประจำปี 2567 คุณ Bob Chen ประธานสายธุรกิจผลิตภัณฑ์ออปติคอลของหัวเว่ย (Huawei) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "Build AI-Centric F5.5G All-Optical Network for New Growth" (สร้างเครือข่ายออปติคอลล้วน F5.5G ที่เน้น AI เพื่อเติบโตไปอีกขั้น)

ยุค AI ได้มาถึงแล้ว โดยมีการพัฒนาโมเดลพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบัน มีการใช้งานโมเดลพื้นฐานมากกว่า 1,300 โมเดล นอกจากนี้ AI ยังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ ซึ่งในอนาคตนั้น AI จะกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของอุปกรณ์ปลายทางต่าง ๆ AI ช่วยเราในการวางแผนการเดินทาง เขียนโค้ด และตรวจสอบคุณภาพ ในอนาคต AI จะเปลี่ยนแปลงทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต การทำงาน และการผลิตของเรา

คุณ Bob Chen กล่าวว่าในยุค AI นั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายบางรายจะปรับตัวเป็นผู้ให้บริการ AI แบบครบวงจร และบางรายจะร่วมมือกับบริษัทภายนอกเพื่อให้บริการด้านการประมวลผล AI และการใช้งาน AI สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายแล้ว การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่แข็งแกร่งและ "เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยเครือข่าย" จะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในยุค AI โดยการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ AI กับคลาวด์ และการฝึกฝนการประมวลผลอัจฉริยะ จำเป็นต้องอาศัยแบนด์วิดท์เครือข่ายสูง ความหน่วงต่ำ และความน่าเชื่อถือสูง หัวเว่ยยังคงพัฒนานวัตกรรม F5.5G ในด้านการส่งสัญญาณออปติคอล การเข้าถึงระบบออปติคอล และแพลตฟอร์มการจัดการและควบคุม เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างเครือข่ายออปติคอลล้วนที่เน้น AI

Bob Chen, President of Huawei Optical Business Product Line, delivering a keynote speech
Bob Chen, President of Huawei Optical Business Product Line, delivering a keynote speech

ในด้านการส่งสัญญาณออปติคอลนั้น เทคโนโลยีการสวิตช์สัญญาณออปติคอลชั้นนำของหัวเว่ยได้ขยายไปสู่ศูนย์ข้อมูล (DC) และเอดจ์ในเมือง ประการแรก การสวิตช์สัญญาณออปติคอลทำให้ศูนย์ข้อมูลสามารถรองรับการเพิ่มขึ้นทั้งด้านขนาดและประสิทธิภาพของการประมวลผล AI โซลูชันการสวิตช์สัญญาณออปติคอลสำหรับศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ยนั้น รองรับการขยายการประมวลผลอัจฉริยะจาก 1,000 การ์ด เป็นหลายล้านการ์ด โดยอาศัยพอร์ตความหนาแน่นสูงและการใช้พลังงานที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับโซลูชันแบบดั้งเดิมแล้ว การติดตั้งแบบไม่ใช้โมดูลออปติคอลช่วยลดอัตราความล้มเหลวลงประมาณ 20% นอกจากนี้ การสวิตช์สัญญาณออปติคอลที่เอดจ์ในเมืองนั้น เปิดโอกาสให้หัวเว่ยช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างวงจรที่มีความหน่วงเวลา 1 มิลลิวินาที 5 มิลลิวินาที และ 10 มิลลิวินาที ผ่านเครือข่ายแบบเมช และการเชื่อมต่อแบบ one-hop ในลักษณะออปติคอลล้วนเพื่อการสวิตช์ออปติคอลล้วนแบบปลายทางถึงปลายทางจากเครือข่ายหลักไปยังเครือข่ายเมโทร เพื่อมอบประสบการณ์ AI ที่ดีที่สุด จนถึงปัจจุบัน มีผู้ให้บริการเครือข่ายมากกว่า 50 รายทั่วโลกที่ได้ขยายการสวิตช์แบบออปติคอลไปยังเอดจ์ในเมือง และสร้างเครือข่ายเมโทรระดับ 1 มิลลิวินาที

ในด้านการเข้าถึงแบบออปติคอล คุณ Bob Chen กล่าวว่า บรอดแบนด์แบบประจำที่ต้องให้บริการระดับพรีเมียม โดยการเชื่อมต่อด้วยใยแก้วนำแสงช่วยให้บรอดแบนด์แบบประจำที่สามารถมอบประสบการณ์บริการที่แน่นอนและมีการรับประกันสำหรับผู้ใช้ทุกราย ทั่วโลกมีรูปแบบการสร้างรายได้สำหรับบรอดแบนด์แบบประจำที่อยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ การสร้างรายได้จากพื้นที่ให้บริการ การสร้างรายได้จากแบนด์วิดท์ และการสร้างรายได้จากประสบการณ์การใช้งาน

ประการแรก การสร้างรายได้จากพื้นที่ให้บริการ ปัจจุบัน ผู้ใช้งานมากกว่า 28% ทั่วโลกยังไม่สามารถเข้าถึงการเชื่อมต่อใยแก้วนำแสง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งขยายพื้นที่ให้บริการใยแก้วนำแสงเพื่อคว้าโอกาสจากการเติบโตของประชากร โซลูชันของหัวเว่ย เช่น QuickConnect ODN และ AirPON สำหรับทุกสถานการณ์ สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างโครงข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำ

ประการที่สอง การสร้างรายได้จากแบนด์วิดท์ หนึ่ง ผู้ให้บริการเครือข่ายบางรายได้ติดตั้งบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสงแล้ว แต่แพ็กเกจมีความเร็วเพียงไม่กี่สิบ Mbps ส่งผลให้ปลดปล่อยศักยภาพของใยแก้วนำแสงได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ค่อย ๆ อัปเกรดแพ็กเกจเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ที่แข่งขันได้มากขึ้น สอง ผู้ให้บริการบางรายเสนอแพ็กเกจระดับกิกะบิต แต่ประสบการณ์การใช้งานยังไม่ดีและมักเกิดปัญหาวิดีโอกระตุก สาเหตุหลักเป็นเพราะใช้ GPON ในการให้บริการแพ็กเกจระดับกิกะบิต ดังนั้น จึงควรรีบอัปเกรดจาก GPON เป็น 10G PON โดยเร็วที่สุดเพื่อมอบประสบการณ์เครือข่ายที่ดีขึ้น

ประการสุดท้ายคือการสร้างรายได้จากประสบการณ์การใช้งาน ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับการพัฒนาจาก FTTH ที่ใช้ใยแก้วหนึ่งเส้น ไปสู่ FTTR ที่ใช้หนึ่งเครือข่าย การเชื่อมต่อแบบ FTTR มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนได้ทุกที่ทุกเวลา จนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้ FTTR ทั่วโลกมีมากกว่า 30 ล้านราย นอกจากนี้ หัวเว่ยกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมและอัปเกรด FTTR+X เพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างสรรค์การใช้งาน AI รูปแบบใหม่ ๆ รวมถึง AI พร้อมการจัดเก็บข้อมูล การรักษาความปลอดภัยบ้าน และการดูแลสุขภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสนับสนุนบ้านอัจฉริยะหนึ่งหลังบนเครือข่าย FTTR หนึ่งเครือข่าย

สำหรับแพลตฟอร์มการจัดการและควบคุมนั้น หัวเว่ยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทวินและโมเดล AI พื้นฐาน เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและบำรุงรักษา (O&M) ของโซลูชันบรอดแบนด์พรีเมียมและการส่งสัญญาณพรีเมียม โซลูชันบรอดแบนด์พรีเมียมของหัวเว่ยใช้ระบบค้นหาจุดบกพร่องอัตโนมัติ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของเครือข่ายในระดับนาที และแก้ไขปัญหาคุณภาพประสบการณ์ (QoE) เชิงรุก ช่วยลดการร้องเรียนจากผู้ใช้ลง 30% ส่วนโซลูชันการส่งสัญญาณพรีเมียมใช้ระบบวางแผนออนไลน์อัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการใหม่ (TTM) จากหลายเดือนเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง

"ทศวรรษหน้าจะเป็นยุคแห่งการแพร่หลายอย่างรวดเร็วของ AI" คุณ Bob Chen กล่าว "หัวเว่ยหวังที่จะร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายออปติคอลล้วน F5.5G ที่เน้น AI โดยขยายการสวิตช์แบบออปติคอลไปยังศูนย์ข้อมูลและเอดจ์ในเมือง สร้างเครือข่ายพรีเมียมสำหรับการเข้าถึงระบบออปติคอลผ่านการสร้างรายได้จากพื้นที่ให้บริการ แบนด์วิดท์ และประสบการณ์การใช้งาน รวมทั้งผนวกความสามารถด้าน AI เข้ากับแพลตฟอร์มการจัดการและควบคุมอย่างเต็มรูปแบบ แนวทางเช่นนี้เปิดโอกาสให้เราเร่งการแพร่หลายของ AI และสร้างการเติบโตทางธุรกิจใหม่ร่วมกันในยุคอัจฉริยะ!"

Source : หัวเว่ยเสนอแนวคิดสร้างเครือข่ายออปติคอลล้วน F5.5G ที่เน้น AI เพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายเติบโตไปอีกขั้น

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles