ปักกิ่ง, 17 พ.ย. 2567 /PRNewswire/ — เมื่อโลกกำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายที่เชื่อมโยงกันทั้งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมทางสังคม ความร่วมมือในระดับโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรับมือกับประเด็นเหล่านี้ CGTN จึงได้จัดรายการพิเศษอย่าง "G20 Think Hub: Together for Tomorrow" (G20 Think Hub: ผนึกกำลังเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า) โดยได้เชิญชวนผู้นำทางความคิดจากหลากหลายสาขา มาร่วมหาแนวทางที่สอดรับกับธีมการประชุมสุดยอด G20 อย่าง "Building a Just World and a Sustainable Planet" (สร้างโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน) รายการนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การอภิปรายโต๊ะกลมเกี่ยวกับความยุติธรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลก การนำเสนอแบบ TED ในหัวข้อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการพูดคุยในห้องน้ำชาที่เน้นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
The poster showcases the 23 guests from the CGTN special program, G20 Think Hub: Together for Tomorrow, where thought leaders from diverse fields discussed strategies aligned with the G20 Summit’s theme, Building a Just World and a Sustainable Planet.
การอภิปรายโต๊ะกลมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การบรรลุความยุติธรรมในระดับโลก โดยอาศัยการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งในประเด็นการพึ่งพาทางเศรษฐกิจนั้น นักลงทุนชาวอเมริกันอย่าง Jim Rogers ได้เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีน เพื่อร่วมกันจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ขณะที่ Jessica Durdu นักศึกษาปริญญาเอกชาวตุรกี ได้กล่าวถึงโครงการริเริ่มระดับโลกของประธานาธิบดี Xi Jinping ผู้นำจีน ในด้านการพัฒนา ความมั่นคง และอารยธรรม โดยชี้ให้เห็นว่าความยุติธรรมและความยั่งยืนเป็นเป้าหมายที่เชื่อมโยงกันสำหรับคนรุ่นต่อไป ส่วน Kim Sook อดีตเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำสหประชาชาติ ได้สะท้อนถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของประเทศในกลุ่มโลกใต้ (Global South) และความจำเป็นเร่งด่วนในการมีเครื่องมือที่นำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ
David Ferguson บรรณาธิการจากสหราชอาณาจักร ได้เน้นย้ำคุณค่าของการเจรจาแบบมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกอย่าง G20 ด้าน André Quemé ผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีชาวบราซิล ชี้ให้เห็นบทบาทของบราซิลในการดูแลป่าแอมะซอน ซึ่งช่วยสนับสนุนทั้งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก ขณะที่ Joseph Olivier Mendo‘o ตัวแทนเยาวชนจากแอฟริกา เรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาที่นำโดยชาวแอฟริกา พร้อมเพิ่มบทบาทของแอฟริกาในการตัดสินใจในระดับโลก
ส่วนในช่วงการนำเสนอแบบ TED นั้น ผู้พูดได้นำเสนอกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อความยั่งยืน ซึ่งในหัวข้อความยืดหยุ่นด้านสิ่งแวดล้อม Adalberto Noyola ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยชาวเม็กซิกัน ได้พูดถึงความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำที่ยั่งยืน ขณะที่ Francesco Faiola ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมชาวอิตาลี เน้นย้ำถึงแนวทางแก้ไขที่อิงธรรมชาติเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ Joseph Olivier Mendo‘o นักรณรงค์เพื่อเยาวชนแอฟริกา ได้เน้นบทบาทสำคัญของคนรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั่วแอฟริกา Andrew Justin Olsvik นักศึกษาปริญญาเอกชาวแคนาดา ได้ส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า และ Elisa Hörhager ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน พูดถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รายการนี้ปิดท้ายด้วยการสะท้อนมุมมองเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยในประเด็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันนั้น David Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและนโยบายชาวออสเตรเลีย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการริเริ่มที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน เพื่อสร้างความเคารพและความร่วมมือ ส่วนในช่วงพูดคุยในห้องน้ำชา ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันเรื่องราวและมุมมองต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมมีส่วนในการหล่อหลอมความร่วมมือระดับโลก
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network