ปิดฉากการประชุมปรัชญานานาชาติริยาด ประจำปี 2567 เน้นย้ำประเด็นคุณภาพชีวิต

วันที่ 3 ของการประชุมมุ่งอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของปรัชญาที่มีต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงประเด็นด้านจริยธรรมของ AI และผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์

ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 8 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ — การประชุมปรัชญานานาชาติริยาด (Riyadh International Philosophy Conference) ประจำปี 2567 ได้ดำเนินมาถึงวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ด้วยการจัดเสวนากระตุ้นความคิดในประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต งานประชุม 3 วันนี้จัดขึ้น ณ หอสมุด King Fahad National Library ในกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมีนักคิดชั้นนำระดับโลกกว่า 60 ท่านเข้าร่วม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง ดร. Fausto Fraisopi ดร. Abdelrahim Dekkoun และ ดร. Nermine Ezzeldin

Mr. Khalid AlSameti, General Manager of the General Administration of Literature at the Literature, Publishing & Translation Commission
Mr. Khalid AlSameti, General Manager of the General Administration of Literature at the Literature, Publishing & Translation Commission

การประชุมครั้งนี้มีขึ้นในธีม "Philosophy and Quality of Life: Existence, Truth, and Goodness" (ปรัชญาและคุณภาพชีวิต: การดำรงอยู่ ความจริง และความดี) ซึ่งตอกย้ำถึงบทบาทความเป็นผู้นำของซาอุดีอาระเบีย ในการผลักดันการถกเถียงทางปรัชญาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

ดร. Mohammed bin Hasan Alwan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคณะกรรมการวรรณกรรม การพิมพ์ และการแปล ได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จของการประชุมนี้ว่า "การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของปรัชญา ในการจัดการกับปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยของเรา การรวมตัวกันของนักคิดชั้นนำจากทั่วโลกได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดที่มีความหมาย และจุดประกายความคิดใหม่ ๆ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า"

การประชุมครั้งนี้ปิดท้ายด้วยสุนทรพจน์อันทรงพลังจากคุณ Khalid AlSameti ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหารวรรณกรรม สังกัดคณะกรรมการวรรณกรรม การพิมพ์ และการแปล ซึ่งกล่าวยืนยันว่า "การประชุมครั้งนี้ดึงดูดผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีผู้เข้าชมกว่า 5,400 คนตลอดระยะเวลา 3 วัน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการผสานศักยภาพอันโดดเด่นของราชอาณาจักรฯ เข้ากับความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ทางฝ่ายบริหารวรรณกรรมหวังให้การประชุมนี้เป็นเวทีชั้นนำด้านการวิจัยทางปรัชญาและเป็นงานวิชาการที่มีความบุกเบิก ไม่เพียงแต่ในตะวันออกกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกอีกด้วย"

การรวมตัวของนักคิดระดับโลก

โปรแกรมในวันที่ 3 ครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ ตั้งแต่บทบาทของปรัชญาในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า ไปจนถึงความท้าทายในการยกระดับคุณภาพชีวิตในโลกพหุวัฒนธรรม

ไฮไลต์สำคัญของวันนี้คือการเสวนาหัวข้อ "A Philosophical Framework for Enhancing the Quality of Life in Cities in the Context of Diversity and Multiculturalism" (กรอบแนวคิดทางปรัชญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในเมือง ภายใต้บริบทความหลากหลายและพหุวัฒนธรรม) นำโดย ดร. Walid Al-Zamil ซึ่งได้อภิปรายถึงความสำคัญของการสร้างเมืองที่ครอบคลุมและเท่าเทียม โดยคำนึงถึงความต้องการและคุณค่าที่หลากหลายของผู้อยู่อาศัยทุกคน นอกจากนี้ยังมีการเสวนาอีกหัวข้อคือ "The Role of Social Solidarity in Supporting Female Athletes with Disabilities" (บทบาทของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคมเพื่อสนับสนุนนักกีฬาหญิงผู้พิการ) โดยคุณ Najat Al-Shafai ซึ่งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนทางสังคม ในการเสริมพลังให้ผู้หญิงที่มีความพิการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการได้

นอกจากนี้ การประชุมนี้ยังได้สำรวจจุดตัดระหว่างปรัชญากับศาสนา ผ่านการเสวนาที่ศึกษาธรรมชาติของจิตวิญญาณและบทบาทในชีวิตมนุษย์ โดย ดร. Chafik Graigue ได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความสิ้นหวังและนัยทางปรัชญา ในขณะที่ศาสตราจารย์ Hossam Abdellatif ได้พาสำรวจความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความท้าทายในสังคมไฮเทค การเสวนาเหล่านี้ได้มอบมุมมองที่มีคุณค่าเกี่ยวกับคำถามอันเป็นนิรันดร์ของการดำรงอยู่ของมนุษย์ และความท้าทายที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

จุดประกายแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่

การประชุมยังมีการเสวนาพิเศษโดย ดร. Robert Bernasconi และการอภิปรายหัวข้อ "Artificial Intelligence and Its Impact on the Quality of Human Life: New Horizons and Ethical Challenges" (ปัญญาประดิษฐ์และผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์: ขอบฟ้าใหม่และความท้าทายทางจริยธรรม) นำโดย ดร. Ingy Hamdi การเสวนานี้ได้ลงลึกถึงประเด็นซับซ้อนด้านจริยธรรมของ AI และสำรวจแนวทางการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์แทนที่จะลดทอนคุณค่าลง

นอกจากนี้ยังมีการจัดเวิร์กช็อปและสัมมนาอีกหลากหลายหัวข้อ อาทิ ทักษะการโต้แย้ง การคิดเชิงวิพากษ์ สุนทรียศาสตร์ และประวัติศาสตร์ตรรกะในอารยธรรมอิสลาม เวิร์กช็อปเหล่านี้ได้มอบเครื่องมือและข้อคิดที่สามารถนำแนวคิดทางปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้เข้าร่วม ที่สำคัญ การประชุมครั้งนี้ยังได้สร้างความร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง รวมถึง New Philosopher และ The School of Life เป็นครั้งแรกในซาอุดีอาระเบียด้วย

การประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการคุณภาพชีวิต โดยได้ตอกย้ำความสำคัญของปรัชญาในการรับมือกับความท้าทายของสังคมร่วมสมัย การประชุมนี้เชื่อมช่องว่างระหว่างแนวคิดทางวิชาการกับการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรฯ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางปัญญาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

การประชุมปรัชญานานาชาติริยาด ประจำปี 2567 ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น ในการรวบรวมนักคิดชั้นนำจากทั่วโลกมาร่วมถกประเด็นสำคัญเร่งด่วนในยุคสมัยของเรา สำรวจรากฐานทางปรัชญาของคุณภาพชีวิต และจุดประกายความคิดและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บเพจของการประชุม

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2575873/Mr_Khalid_AlSameti.jpg?p=medium600

Source : ปิดฉากการประชุมปรัชญานานาชาติริยาด ประจำปี 2567 เน้นย้ำประเด็นคุณภาพชีวิต

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles