ซานย่า จีน, 10 ธ.ค. 2567 /PRNewswire/ — ในการประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก (Symposium on Global Maritime Cooperation and Ocean Governance) ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยหัวหยางเพื่อความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล (Huayang Center for Maritime Cooperation and Ocean Governance), สถาบันทะเลจีนใต้ศึกษาแห่งชาติ (National Institute for South China Sea Studies), มูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาสมุทรของจีน (China Oceanic Development Foundation) และ สถาบันวิจัยท่าเรือการค้าเสรีไหหนาน (Hainan Free Trade Port Research Institute) เหล่าวิทยากรได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางนิเวศในทะเล และการพัฒนาการประมงในทะเลอย่างยั่งยืน
คุณ Warwick Gullett ศาสตราจารย์ประจำศูนย์ทรัพยากรและความมั่นคงทางมหาสมุทรแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National Centre for Ocean Resources and Security) แนะนำให้มุ่งเน้นหลักการการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยชี้ว่าจีนควรให้ความสนใจในการออกกฎหมายภายในประเทศที่สอดคล้องกัน
คุณ Zhou Jian นักวิจัยวุฒิคุณประจำศูนย์วิจัยหัวหยางเพื่อความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล แนะนำว่า เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงในกลุ่มรัฐรอบทะเลจีนใต้ เราควรเสนอแนวทางสี่ขั้นตอน ประการแรก การจัดการความขัดแย้งและการควบคุมตนเองโดยรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยมีหลักการว่าชาวประมงและเรือประมงของรัฐชายฝั่งใดก็ตามไม่ควรตกเป็นเหยื่อของการจัดทำข้อตกลงตามข้อเรียกร้องการแบ่งเขตทางทะเล ประการที่สอง ควรมีการตรวจสอบและประเมินร่วมกันเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในทะเลจีนใต้ เพื่อมอบข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และเป็นระบบสำหรับการตัดสินใจโดยรัฐชายฝั่ง ประการที่สาม จากข้อมูลที่ได้เก็บมา รัฐชายฝั่งควรปรับนโยบายเกี่ยวกับการประกอบการประมงเพื่อให้เอื้อต่อการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร ประการที่สี่ สร้างองค์กรระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันและความร่วมมือเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงและการพัฒนาการประมงที่ยั่งยืน ข้อเสนอทั้งสี่ประการนี้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและความเป็นจริงที่เราจำเป็นต้องเผชิญในทะเลจีนใต้
คุณ Harrison Prétat รองผู้อำนวยการฝ่ายโครงการริเริ่มด้านความโปร่งใสทางทะเลในเอเชีย (Asia Maritime Transparency Initiative) ศูนย์การศึกษากลยุทธ์และการระหว่างประเทศ (Center for Strategic and International Studies) ชี้ว่าแนวปะการังมากกว่า 6,200 เอเคอร์ถูกทำลายโดยกิจกรรมการสร้างเกาะในทะเลจีนใต้ ทรัพยากรปลาในทะเลจีนใต้ถูกใช้อย่างเกินขอบเขต และแม้จะมีความพยายามจับปลาที่เพิ่มขึ้น ปริมาณปลาที่จับได้กลับไม่มีการเติบโตตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 การประมงเชิงอุตสาหกรรมโดยเวียดนามและจีนลดทอนความพยายามของรัฐชายฝั่งแห่งอื่น ๆ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลจากการใช้การลากอวนระดับพื้นทะเล
คุณ WU Qiaer รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการประมงทะเลจีนใต้ (South China Sea Fisheries Research Institute) สถาบันวิทยาศาสตร์การประมงจีน (Chinese Academy of Fishery Sciences) นำเสนอมาตรการหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงในจีน มาตรการหลักดังกล่าวนี้ประกอบด้วย การระงับการประมงชั่วคราว การก่อสร้างฟาร์มทะเล การชดเชยทางนิเวศสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการประมง และการปรับเปลี่ยนการอุดหนุนเชื้อเพลิงดีเซลเป็นการอุดหนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
Source : การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางนิเวศในทะเล และการพัฒนาการประมงในทะเลอย่างยั่งยืน
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network