วันหลอดเลือดอุดตันโลก ชวนประชาชน "ขยับนิดพิชิตหลอดเลือดอุดตัน" ในวาระครบรอบ 10 ปีของการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ทั่วโลก

แชเปิลฮิลล์, นอร์ทแคโรไลนา–13 ตุลาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เนื่องในวันหลอดเลือดอุดตันโลก (World Thrombosis Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี สมาคมระหว่างประเทศว่าด้วยหลอดเลือดอุดตันและกลไกการห้ามเลือด (International Society on Thrombosis and Haemostasis: ISTH) ได้รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณ อาการ และปัจจัยเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดอุดตัน หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

วันหลอดเลือดอุดตันโลกร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร 5,000 แห่ง จาก 120 ประเทศ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการรักษาและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปี แคมเปญนี้ได้สนับสนุนให้ประชาชน "ขยับนิดพิชิตหลอดเลือดอุดตัน" (Move Against Thrombosis) ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายบ้างเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดและอาจหลุดไปตามกระแสเลือดทั่วร่างกาย และมักก่อให้เกิดอาการที่อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นโรคอื่น สำหรับสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของลิ่มเลือดที่ขา หรือภาวะหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตัน (Deep Vein Thrombosis: DVT) ประกอบด้วยอาการกดเจ็บที่น่อง ข้อเท้าหรือเท้าบวม มีรอยแดง และ/หรือ รู้สึกอุ่นในบริเวณดังกล่าว ส่วนสัญญาณของลิ่มเลือดในปอด หรือภาวะหลอดเลือดปอดอุดตัน (Pulmonary Embolism: PE) ประกอบด้วยอาการหายใจไม่สะดวกโดยไม่ทราบสาเหตุ หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว และ/หรือ เวียนหัว

แพทย์หญิง ลานา คาสเตลลุชชี (Lana Castellucci) ประธานคณะกรรมการอำนวยการวันหลอดเลือดอุดตันโลก กล่าวว่า "สาเหตุหนึ่งที่หลอดเลือดอุดตันกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกมากถึง 1 ใน 4 ก็คือ อาการหลายอย่างคล้ายกับโรคอื่นที่พบได้ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นตะคริวที่ขา ก็ไม่น่าจะไปตรวจคัดกรองลิ่มเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้อาการดังกล่าวร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ เราจึงพยายามให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับสัญญาณและอาการของภาวะหลอดเลือดอุดตัน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่มีอาการจะได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมก่อนที่จะสายเกินไป"

ปัจจัยเสี่ยงบางประการที่เพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้

  • การรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน: 60% ของผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism: VTE) เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง
  • การรักษาโรคมะเร็ง: ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเกิดลิ่มเลือดรุนแรงมากขึ้นสี่เท่า อันเป็นผลมาจากการผ่าตัดและการทำเคมีบำบัด
  • การตั้งครรภ์และหลังคลอด: มีความเสี่ยงสูงระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกที่กดทับหลอดเลือดดำในอุ้งเชิงกรานอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดในขาช้าลง

ทั้งนี้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ วันหลอดเลือดอุดตันโลกจึงจัดแคมเปญในหัวข้อ "ขยับนิดพิชิตหลอดเลือดอุดตัน" โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้ประชาชนเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดนั่นเอง

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.worldthrombosisday.org 

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/454627/ISTH_Logo.jpg?p=medium600 

Source : วันหลอดเลือดอุดตันโลก ชวนประชาชน "ขยับนิดพิชิตหลอดเลือดอุดตัน" ในวาระครบรอบ 10 ปีของการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ทั่วโลก

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles