ลดความเหลื่อมล้ำในการดูแลสุขภาพในไทย และประเทศอื่น ๆ ด้วยข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

กรุงเทพฯ, 18 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

"ดิฉันมีความฝันว่าทุก ๆ คนควรเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกัน" คุณอรพรรณ วนะเจริญ หรือ คุณไอซ์ นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการภาคสนาม จากบีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) กล่าว "มันเป็นเรื่องที่ท้าทายมากที่จะบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ในไทย ซึ่งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของบริษัทและการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา ดิฉันเชื่อว่าเราจะบรรลุความฝันนี้ได้"

https://static.prnasia.com/pro/fec/jwplayer-7.12.1/jwplayer.js jwplayer.key=”3Fznr2BGJZtpwZmA+81lm048ks6+0NjLXyDdsO2YkfE=”

 

jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2248094/Healthcare_for_all___Belt_and_Road_Initiative_Thailand.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2248094/Healthcare_for_all___Belt_and_Road_Initiative_Thailand.mp4?p=medium’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});

เพื่อน ๆ และครอบครัวเรียกคุณอรพรรณว่าคุณไอซ์ โดยเธอมีความมุ่งมั่นในความฝันนี้มาตั้งแต่สมัยศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท สาขาการก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม จากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

คุณไอซ์เดินหน้าก้าวไปสู่ความฝันของเธอ ผ่านอาชีพการงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการภาคสนาม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์จากบีจีไอ จีโนมิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเทคโนโลยีทางพันธุกรรม เช่น การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา (Non-Invasive Prenatal Testing หรือ NIPT) เธอกล่าวอย่างร่าเริงว่า เธอจะเดินทางไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม ในวันรุ่งขึ้นหลังจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้

แผนการเดินทางเพื่อธุรกิจที่ค่อนข้างยุ่งของเธอเป็นเครื่องเตือนใจว่าคุณไอซ์ได้เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศเข้าด้วยกันอย่างไร เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นในไทยและทั่วทั้งอาเซียน โดยสอดคล้องกับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI)

ในเดือนกรกฎาคม 2566 บีจีไอ จีโนมิกส์ และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงรายอื่น ๆ เช่น ศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิและจตุตถภูมิที่ใหญ่ที่สุดในไทยอย่างโรงพยาบาลศิริราช ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโปรแกรมการป้องกันและรักษาโรคธาลัสซีเมีย รวมถึงการร่วมพัฒนาความร่วมมือด้านเซลล์และยีนบำบัด โดยธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากฮีโมโกลบินไม่เพียงพอ หรือฮีโมโกลบินไม่ทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 345 ล้านคนทั่วโลก

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าประชากรไทย 30-40% หรือประมาณ 18-24 ล้านคนมียีนธาลัสซีเมีย โดยมีผู้ป่วยที่มีความรุนแรงปานกลางมากกว่า 600,000 ราย ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการถ่ายเลือดและคีเลชันบำบัดเพื่อขจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากเลือด การรักษาเหล่านี้นับเป็นภาระทางการเงินที่สูงมากสำหรับครอบครัวและสังคม กระทรวงฯ จึงได้แนะนำให้คู่รักเข้ารับการคัดครองก่อนแต่งงานหรือวางแผนมีลูก เพื่อดูว่าเป็นพาหะของยีนธาลัสซีเมียหรือไม่

การวิเคราะห์ข้อมูลลำดับเบสในปริมาณมากช่วยให้เข้าใจจีโนไทป์และความเสี่ยงของโรคสำหรับผู้ป่วยได้ดีขึ้น โดยให้แนวทางที่แม่นยำยิ่งขึ้นในการป้องกัน คัดกรอง และรักษาธาลัสซีเมีย คุณไอซ์อธิบายว่า "ด้วยวุฒิการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ ดิฉันขอแนะนำอย่างสูงว่าให้การตรวจคัดกรองเป็นเครื่องมือในการป้องกัน เนื่องจากเรามีความชุกของโรคธาลัสซีเมีย โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคที่เกี่ยวข้องกับฮีโมโกลบินผิดปกติค่อนข้างสูง แทบไม่มีใครในประเทศไทยที่ไม่รู้จักโรคธาลัสซีเมีย"

ตลอดการทำงานของเธอ คุณไอซ์ทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ความรู้ ฝึกอบรม และตอบคำถามจากพันธมิตรรายต่าง ๆ เธอยังมีความเห็นเดียวกันถึงบรรดาพันธมิตรเหล่านี้ว่า "ผลลัพธ์ที่แม่นยำจากการตรวจคัดกรองนี้สามารถส่งผลต่อแผนการรักษาของผู้ป่วยได้ และดิฉันให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเหล่านี้เสมอ"

คุณไอซ์ร่วมงานกับบีจีไอ จีโนมิกส์ ในปี 2565 นับตั้งแต่นั้นก็ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเธอเพิ่มเติมในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวของกับปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction หรือ PCR) แบบเรียลไทม์ วิธีการตรวจด้วยสารเรืองแสง (fluorescence in situ hybridization) และแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกที่อิงตามเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่ (Next-Generation Sequencing หรือ NGS)

นอกเหนือจากการฝึกอบรมภาคปฏิบัติแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณไอซ์ยังใช้เวลาฝึกอบรม 2 สัปดาห์ที่สำนักงานใหญ่ของบีจีไอ จีโนมิกส์ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการฝึกอบรมทั่วไปและการฝึกอบรมเฉพาะงานนี้ นับเป็นโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ล่าสุดของบริษัทฯ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "โอมิกส์ ฟอร์ ออลล์" (Omics for All) เธอกล่าวว่า "ดิฉันได้เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานทั่วโลกเกี่ยวกับเส้นทางต่าง ๆ มากมายในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับพวกเขาในอนาคต"

เมื่อถูกถามถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน คุณไอซ์ชี้ว่า ไทยมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) ในฐานะสมาชิกอาเซียน โดยโครงการริเริ่มเหล่านี้นำมาซึ่งโอกาสทางการค้า การจ้างงาน และการแบ่งปันความรู้ที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน

ความเท่าเทียมกันและการสำรวจคือ 2 ค่านิยมที่สะท้อนถึงความเป็นคุณไอซ์ โดยเธอได้จัดการการศึกษาและอาชีพของเธอให้สอดคล้องกัน ความเท่าเทียมกันในด้านการดูแลสุขภาพได้ใกล้เข้ามายิ่งขึ้นผ่านทางโครงการ BRI เนื่องจากประเทศต่าง ๆ และบุคคลที่มีความแนวคิดเหมือนกันได้มีอีกเวทีหนึ่งในการตระหนักถึงศักยภาพและความฝันของพวกเขาอย่างเต็มที่

เกี่ยวกับบีจีไอ จีโนมิกส์

บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการชั้นนำระดับโลก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 บีจีไอ จีโนมิกส์ (300676.SZ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บีจีไอ กรุ๊ป (BGI Group) ได้จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นอย่างเป็นทางการ

Source : ลดความเหลื่อมล้ำในการดูแลสุขภาพในไทย และประเทศอื่น ๆ ด้วยข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles