หัวเว่ยช่วยสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการศึกษาอัจฉริยะในภาคเหนือของฟิลิปปินส์ ด้วยการเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล

เซินเจิ้น จีน, 18 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

ในเดือนสิงหาคม 2565 นักศึกษาที่มาบาลาคัต ซิตี้ คอลเลจ (Mabalacat City College หรือ MCC) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "เอ็มซีซี") ในฟิลิปปินส์ มีห้องเรียนแบบไฮบริดโดยเฉพาะ สิ่งที่แตกต่างจากคลาสเรียนในอดีตก็คือสามารถมองเห็นเนื้อหาการสอนได้อย่างชัดเจนบนหน้าจออัจฉริยะ อาจารย์ในห้องเรียนสามารถสื่อสารและโต้ตอบกับนักศึกษาแบบออนไลน์ได้อย่างราบรื่นตลอดทั้งคลาสเรียน ทุกคนสามารถสนทนาอย่างกระตือรือร้นและเพลิดเพลินกับเสน่ห์ของการสอนอันชาญฉลาด ในฐานะมหาวิทยาลัยรัฐบาลของฟิลิปปินส์ที่สร้างสรรค์รูปแบบการสอนอย่างต่อเนื่อง เอ็มซีซีได้ร่วมมือกับหัวเว่ย (Huawei) สร้างห้องเรียนอัจฉริยะเพื่อให้บริการการสอนคุณภาพสูงสำหรับอาจารย์และนักศึกษา เร่งการสร้างข้อมูลสารสนเทศของวิทยาลัย และสร้างโมเดลใหม่สำหรับระบบการศึกษาอัจฉริยะในมาบาลาคัต


เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและยกระดับการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาด

เอ็มซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 เป็นวิทยาลัยท้องถิ่นในเมืองมาบาลาคัต ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในตอนกลางของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยสี่สถาบันและมีนักศึกษาประมาณ 4,000 คน ในการตอบสนองต่อผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อการศึกษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอ็มซีซีได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่นำเสนอโดยการปฏิวัติทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม การอัปเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกของเครือข่ายและอุปกรณ์การสอนช่วยเสริมสร้างจุดแข็งของการพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะ โดยก้าวข้ามข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่แบบดั้งเดิม พร้อมอำนวยความสะดวกในการเผยแพร่ความรู้ ทำให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถสอนและเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา

ในช่วงต้นปี 2563 เอ็มซีซีได้ริเริ่มโครงการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายวิทยาเขต และใช้ระบบการประชุมทางวิดีโอเพื่ออำนวยความสะดวกในการสอนออนไลน์และรับประกันการศึกษาที่ต่อเนื่อง ในยุคหลังการแพร่ระบาด กระแสหลักทั่วโลกได้เปลี่ยนไปสู่โหมดการสอนแบบผสมผสานระหว่าง "ออนไลน์และออฟไลน์" เป็นผลให้ทั้งครูและนักเรียนต้องพึ่งพาเครือข่ายคุณภาพสูงและอุปกรณ์สถานีสื่อสารขั้นสูงมากขึ้น ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานเดิมของโรงเรียนจึงจำเป็นต้องตอบสนองต่อความต้องการที่ครอบคลุมของห้องเรียนไฮบริด เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เอ็มซีซีมีเป้าหมายที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อสนับสนุนการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะและปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาแบบดิจิทัล

การสร้างห้องเรียนอัจฉริยะแบบโต้ตอบและยืดหยุ่นด้วยหัวเว่ย ไอเดียฮับ

มหาวิทยาลัยเอ็มซีซีเลือกใช้โซลูชันห้องเรียนอัจฉริยะที่มีไวท์บอร์ดอัจฉริยะหัวเว่ย ไอเดียฮับ (Huawei IdeaHub) เป็นศูนย์กลางเพื่ออัปเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน ICT โซลูชันที่เป็นนวัตกรรมนี้ก้าวข้ามขอบเขตทางกายภาพ ขจัดข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่ และช่วยให้การเรียนรู้แบบไฮบริดชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หัวเว่ย ไอเดียฮับ เป็นองค์ประกอบสำคัญของห้องเรียนอัจฉริยะ โดยผสานรวมการใช้งานที่เป็นนวัตกรรม เช่น ไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์แบบอินเทอร์แอ็กทีฟ การฉายภาพที่สะดวกสบาย และแพลตฟอร์มการประชุมผ่านวิดีโอความละเอียดสูง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นพอร์ทัลที่เชื่อมช่องว่างระหว่างนักเรียนออนไลน์และห้องเรียนออฟไลน์ การบูรณาการระบบนิเวศฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การสอนช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกัน การโต้ตอบ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบไฮบริดได้อย่างราบรื่น ด้วยการสนทนาแบบเห็นหน้ากันและการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ ครูและนักเรียนจะสามารถสร้างบรรยากาศการสอนที่มีชีวิตชีวาซึ่งช่วยส่งเสริมความสนใจและแรงจูงใจ


นักศึกษาจากหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชามัธยมศึกษา เอกภาษาอังกฤษ แบ่งปันประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับห้องเรียนอัจฉริยะว่า "หัวเว่ย ไอเดียฮับ ได้ปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้แบบผสมผสานของเรา ทำให้มีการโต้ตอบกันมากขึ้น ไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้อาจารย์เขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เราในฐานะนักศึกษาก็สามารถสแกนโค้ดเพื่อดาวน์โหลดเนื้อหาที่เขียนลงบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ได้ ทำให้เราทบทวนได้ตลอดเวลาหลังเลิกเรียน นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการประชุมผ่านวิดีโอแบบ HD ยังสร้างห้องเรียนโต้ตอบระยะไกลแบบพาโนรามาที่ชาญฉลาด ช่วยให้นักศึกษาที่เรียนออนไลน์สามารถดูและได้ยินทุกสิ่งได้อย่างชัดเจนแบบเรียลไทม์"

ผู้บริหารกิจการนักศึกษาของเอ็มซีซีกล่าวเน้นว่าหัวเว่ย ไอเดียฮับ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมหลักสูตร และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ทางไกลและการสื่อสาร นักศึกษาทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์สามารถมีส่วนร่วมในการโต้ตอบและถามตอบได้อย่างกระตือรือร้น ซึ่งสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่มีชีวิตชีวามากขึ้น เป็นผลให้นักศึกษามีส่วนร่วมและมีสมาธิมากขึ้นในระหว่างคาบเรียน ทำให้พวกเขาสามารถจดจำเนื้อหาการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เปิดยุคใหม่ของการศึกษาอัจฉริยะสำหรับมาบาลาคัต

ปัจจุบัน เอ็มซีซีได้ติดตั้งหัวเว่ย ไอเดียฮับ ในห้องเรียน โดยให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษามากกว่า 4,000 คน การสร้างห้องเรียนอัจฉริยะทำให้เอ็มซีซีประสบความสำเร็จในการใช้งานแอปพลิเคชันขั้นสูงต่าง ๆ รวมถึงการสอนแบบโต้ตอบระยะไกล การแบ่งปันทรัพยากรการศึกษาคุณภาพสูง และการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เอ็มซีซีก้าวข้ามข้อจำกัดของแพลตฟอร์มออนไลน์แบบเดิม ๆ เพื่อเปลี่ยนจากแนวทางการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางมาเป็นแนวทางการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งผลให้มีการพัฒนาทั้งเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพเป็นอย่างมาก

"มาบาลาคัตในปัจจุบันมีวิทยาลัยหนึ่งแห่งและโรงเรียนอาชีวศึกษาหนึ่งแห่ง ซึ่งทั้งสองแห่งต้องเผชิญกับความท้าทายจากประสบการณ์การเรียนรู้แบบผสมผสานและคุณภาพการสอนต่ำอันเนื่องมากจากข้อจำกัดของแพลตฟอร์มออนไลน์แบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ความพยายามร่วมกันของเอ็มซีซีและหัวเว่ยในการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวเว่ย ไอเดียฮับ ผสานรวมข้อมูลและเทคโนโลยีการประชุมผ่านวิดีโอแบบ HD ไว้ในอุปกรณ์อัจฉริยะเครื่องเดียว ที่ช่วยให้การสื่อสารแบบออนไลน์และออฟไลน์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยยกระดับประสบการณ์การสอนโดยรวมอย่างมาก" มิเชล อากีลาร์-องก์ (Michelle Aguilar-Ong) ประธานเอ็มซีซี กล่าว "ห้องเรียนอัจฉริยะของเอ็มซีซีได้กลายเป็นมาตรฐานการสอนอันชาญฉลาดในการศึกษาระดับวิทยาลัยของมาบาลาคัต และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วเมือง เนื่องจากสถาบันหลัก ๆ กำลังเปลี่ยนไปสู่นวัตกรรมการศึกษาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การใช้การศึกษาแบบดิจิทัลจึงเป็นก้าวสำคัญสำหรับมาบาลาคัตในการเร่งการพัฒนาการศึกษาอัจฉริยะ และบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถคุณภาพสูงรอบด้าน"

บทความนี้ถูกคัดเลือกมาจากนิตยสารไอซีที อินไซต์ส (ICT Insights) ฉบับสมาร์ต เอ็ดดูเคชัน (Smart Education) โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย
https://e.huawei.com/en/ict-insights/global/ict_insights/ict34-intelligent-education 

ติดต่อ: hwebgcomms@huawei.com

Source : หัวเว่ยช่วยสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการศึกษาอัจฉริยะในภาคเหนือของฟิลิปปินส์ ด้วยการเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles