CGTN: เมื่อโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางดำเนินมาครบ 10 ปี ถึงเวลาที่จีนและยุโรปต้องหารือกันท่ามกลางความไม่แน่นอน

ปักกิ่ง, 18 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เซอร์เบียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ประโยชน์จากโครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ BRI โดยมีโรงถลุงเหล็กอายุนับศตวรรษในเมืองสเมเดเรโว (Smederevo) ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตัวอย่างที่สำคัญ โดยโรงเหล็กสเมเดเรโวก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2456 และในช่วงที่ขึ้นถึงจุดสูงสุด เคยทำรายได้ถึง 40% ให้กับเมือง จนเป็นที่รู้จักในนาม "ความภาคภูมิใจของเซอร์เบีย"

แต่ต่อมาเพราะการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงขึ้นและการดำเนินงานที่ย่ำแย่ โรงเหล็กแห่งนี้จึงเริ่มขาดทุนปีแล้วปีเล่าจนเกือบล้มละลาย รัฐบาลเซอร์เบียเคยเสนอขายให้ต่างประเทศหลายครั้งแต่ทุกครั้งล้มเหลว พนักงานกว่า 5,000 คนเผชิญความไม่แน่นอนในปี 2559 จนกระทั่งเหอเป่ย์ ไอออน แอนด์ สตีล กรุ๊ป (Hebei Iron and Steel Group) ของจีนเข้ามาตั้งเอชบีไอเอส เซอร์เบีย สตีล (HBIS Serbia Steel) พร้อมแนะนำการจัดการและเทคโนโลยีขั้นสูงให้ เปลี่ยนโรงเหล็กแห่งนี้ให้กลายเป็นองค์กรระดับโลกที่เน้นลูกค้าและห่วงโซ่อุปทาน จากนั้นบริษัทก็บูรณาการเข้ากับ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" และกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ สร้างชื่อเสียงอย่างรวดเร็วในฐานะองค์กรเหล็กที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงของยุโรปและเป็นตัวอย่างของความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ

ความร่วมมือ BRI ระหว่างจีนกับยุโรป

การฟื้นตัวของโรงเหล็กอายุนับศตวรรษเป็นตัวอย่างที่ดีของประโยชน์ที่ BRI มอบให้กับยุโรป โดย 26 ประเทศในยุโรปได้ลงนามร่วมโครงการ BRI กับจีน ภายใต้ความร่วมมือ BRI การนำเข้าของจีนจาก EU ระหว่างปี 2559-2564 เพิ่มขึ้น 63.7% ขณะที่การนำเข้าของจีนจากประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเพิ่มขึ้น 127.3% ในช่วงเดียวกัน รถไฟด่วนไชน่า เรลเวย์ เอ็กซ์เพรส (China Railway Express) ที่เชื่อมโยงหลายเมืองยูเรเชียทางชายฝั่งตะวันออกของจีนเข้ากับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ก็พลุกพล่านมากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามีรถไฟวิ่งผ่านเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรป 16,000 ขบวน แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับช่วงการเปิดตัวไชน่า เรลเวย์ เอ็กซ์เพรส เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้วที่มีเพียง 80 ขบวน

ความท้าทายใหม่ ๆ

เมื่อเทียบกับช่วงสองสามปีแรกของโครงการ สถานการณ์ระหว่างจีนกับยุโรปมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความสัมพันธ์แบบทวิภาคีจำเป็นต้องได้รับการปรับเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนและความท้าทาย รวมถึงต้องยกระดับกรอบความคิดเพื่อแทนที่แนวคิดแบบ "ถ้ามีคนชนะก็ต้องมีคนแพ้" ที่ล้าสมัยแล้ว หวัง อี้ (Wang Yi) นักการทูตอาวุโสของจีน ได้กล่าวในการเจรจายุทธศาสตร์ระดับสูงจีน-EU ครั้งที่ 12 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จีนกับ EU คือหุ้นส่วนกัน ไม่ใช่คู่แข่งกัน และต่างก็มีความเข้าใจร่วมกันมากกว่าความแตกต่าง ขณะที่โจเซป บอร์เรล (Josep Borrell) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า แม้ว่าระบบการเมืองและเศรษฐกิจจะแตกต่างกัน แต่ EU กับจีนก็สนใจจะสานต่อความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และมั่นคงร่วมกัน

ขณะเดียวกัน BRI ก็กำลังก้าวสู่ระยะใหม่เช่นกัน โดยในระยะเริ่มต้น ผู้รับเหมาทั้งเอกชนและของรัฐคือผู้นำในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้ช่วยสานต่อไมตรีจิตทางการเมืองและส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจในท้องถิ่น และต้องขอบคุณคนกลุ่มนี้ที่ทำให้บริษัทเอกชนของจีนดำเนินธุรกิจในประเทศหุ้นส่วน BRI ได้สบายใจขึ้น ทั้งนี้โดยจีนสนับสนุนให้องค์กรเอกชนมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้นและมีส่วนร่วมในโครงการ "เล็กและงดงาม" ซึ่งหมายถึงโครงการเล็ก ๆ ที่ยกระดับความเป็นอยู่ในท้องถิ่นได้โดยตรง โดยการลงทุนใหม่ ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ธุรกิจในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น พลังงานใหม่, การดูแลสุขภาพ, การสื่อสารเคลื่อนที่ และอีคอมเมิร์ซ

ยังต้องเจรจาต่อ

นับตั้งแต่เปิดตัว BRI พันธมิตรทั่วโลกได้พยายามค้นหากรอบทฤษฎีและการจัดการเชิงสถาบันเพิ่มเพื่อให้โครงการร่วมมือระดับโลกนี้มีความยั่งยืน ซึ่งประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้เสนอความริเริ่มการพัฒนาโลก (Global Development Initiative), ความริเริ่มความมั่นคงโลก (Global Security Initiative) และความริเริ่มอารยธรรมโลก (Global Civilization Initiative) และความริเริ่มเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากประชาคมโลกด้วยมีส่วนสนับสนุนการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชนของโลกในประเด็นเฉพาะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การพัฒนา และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เมื่อพิจารณาจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่จีนและยุโรปจะดำเนินการเจรจาเพิ่มเติมในประเด็นเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ โดย CGTN จะเป็นเจ้าภาพจัดเสวนาทางโทรทัศน์นอกรอบในงานแฟรงก์เฟิร์ต บุ๊ค แฟร์ (Frankfurt Book Fair) ปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "ความริเริ่มของจีนกับ BRI: โอกาสหรือความเสี่ยง?" (China’s Global Initiatives and the BRI: Opportunities or Risks?)

ผู้ร่วมเสวนา ก็ได้แก่ ดานิโล เติร์ก (Danilo Türk) อดีตประธานาธิบดีสโลวีเนีย, มิคาเอล ชูมันน์ (Michael Schumann) ประธานคณะกรรมการสมาคมสหพันธรัฐเยอรมนีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศ, รูดอล์ฟ ชาร์ปิง (Rudolf Scharping) อดีตรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี, ซูซาน เบามันน์ (Susanne Baumann) อดีตผู้อำนวยการสถาบันขงจื๊อแห่งดึสเซิลดอร์ฟ และจง หง (Zhong Hong) อดีตรองประธานอาวุโสของอีโวนิค อินดัสตรีส์ (Evonik Industries) ทั้งนี้โดยผู้ร่วมเสวนาจะอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-EU ภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงเสถียรภาพและความรุ่งเรืองของโลกด้วย

https://news.cgtn.com/news/2023-10-17/As-the-Belt-and-Road-turns-10-high-time-for-China-and-Europe-to-talk-amid-uncertainties-1nXkFjKKduU/index.html


 

Source : CGTN: เมื่อโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางดำเนินมาครบ 10 ปี ถึงเวลาที่จีนและยุโรปต้องหารือกันท่ามกลางความไม่แน่นอน

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles