หัวเว่ยนำเสนอเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะ ยกระดับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

เซินเจิ้น, จีน, 18 ตุลาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

"ฉันต้องทำงานนี้ให้ทันกำหนดเวลา แต่ต้องรอคิวประมวลผลนานมาก แล้วจะทำอย่างไรดีตอนนี้"


"เดดไลน์การทดลองของฉันคือสัปดาห์หน้า แต่ฉันเพิ่งสังเกตเห็นว่าข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง และต้องใช้เวลามากกว่า 100 ชั่วโมงเพื่อรันแบบจำลองอีกครั้ง มันทำให้เร็วขึ้นได้ไหม"

"การทดลองนี้สำคัญมาก และใกล้ถึงกำหนดเวลาส่งแล้ว ช่วยทำงานของฉันก่อนได้ไหม"

ปัญหาที่นักวิจัยวิทยาศาสตร์ต้องเผชิญไม่ได้มีเพียงการเคลื่อนที่ของโมเลกุล องค์ประกอบของดีเอ็นเอ การทดสอบในอุโมงค์ลม การทดลองการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน หรือการทดสอบแบบจำลองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด และการประสานงานระหว่างการรอคอยทรัพยากรที่ยาวนาน

เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) และลดต้นทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะของมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดให้มีการประเมินผู้ให้บริการ เพื่อเลือกเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงอัจฉริยะไร้การสูญเสียข้อมูล (lossless) ของหัวเว่ย (Huawei) อยู่ในอันดับที่ 1 เนื่องจากมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่ไม่มีใครเทียบได้

ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง

มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นผู้นำในการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในหมู่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศจีนหลังการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในปี 2506 ต่อมาในปี 2544 มหาวิทยาลัยฯ ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ เพื่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเป็นแพลตฟอร์มการวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพที่สามารถให้บริการกิจกรรมการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ในปี 2561 ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะ ประกอบด้วยคลัสเตอร์ 3 กลุ่มที่เริ่มมีการนำมาใช้งาน ได้แก่ เว่ยหมิง นัมเบอร์ วัน (Weiming No. 1) เว่ยหมิง ทีชชิง นัมเบอร์ วัน (Weiming Teaching No. 1) และเว่ยหมิง ไบโอโลจิคัล ไซแอนซ์ นัมเบอร์ วัน (Weiming Biological Science No. 1) โดยมีจำนวนคอร์ประมวลผลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มสาธารณะสูงถึง 31,732 หน่วย และพลังการประมวลผลสูงสุดอยู่ที่ 3.65 PFLOPS แพลตฟอร์มดังกล่าวมอบระบบนิเวศคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ กลศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา

รากฐานที่มั่นคงสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงทำหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนสำคัญสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยปักกิ่งมีผู้ใช้ถึง 5,070 รายจากทั้งหมด 96 คณะ แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสนับสนุนโครงการวิจัยมากกว่า 545 โครงการมูลค่ารวมกว่า 3.136 พันล้านหยวน และบทความวิจัยคุณภาพสูงมากกว่า 1,400 ฉบับ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเปิดตัวรางวัลกอร์ดอนเบลล์ (Gordon Bell Award) ในปี 2563 โดยโครงการที่ได้รับรางวัลนี้สามารถขยายขีดจำกัดการจำลองพลวัตของโมเลกุลด้วยจำนวนอะตอมมากกว่า 100 ล้านอะตอมผ่านจักรกลเรียนรู้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน

ความต้องการด้านการประมวลผลที่สูงขึ้น ทำให้การสร้างเครือข่ายใหม่เป็นเรื่องเร่งด่วน

เนื่องจากผู้ใช้แพลตฟอร์มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาระงานในการดำเนินงานจึงเข้าใกล้ขีดจำกัดสูงสุด สิ่งนี้นำไปสู่ปริมาณงานและความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ตัวอย่างเช่นคลัสเตอร์เว่ยหมิง ไบโอโลจิคัล ไซแอนซ์ นัมเบอร์ วัน ที่มีการใช้งานโหนดเกินเหนือ 95% มาเป็นระยะเวลานาน โดยมีเวลาดำเนินงานสูงสุดที่ 109 ชั่วโมง และเวลาเข้าคิวสูงสุดที่ 550 ชั่วโมง ทำให้การปรับปรุงระบบและเครือข่ายเป็นเรื่องเร่งด่วน

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ผู้ให้บริการหลายรายเสนอให้ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้การสูญเสียข้อมูล เช่น InfiniBand (IB), RoCEv1 และ RoCEv2 หลังจากการทดสอบที่เข้มงวดพบว่า แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะของมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้เลือกใช้โซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลคลาวด์แฟบริก 3.0 (CloudFabric 3.0) แบบไฮเปอร์คอนเวิร์จของหัวเว่ย เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ไม่มีใครเทียบได้ โซลูชันนี้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสร้างคลัสเตอร์ที่สามารถมอบพลังการประมวลผลได้ 100% และลดการดำเนินงานและเวลาในการเข้าคิวให้เหลือน้อยที่สุด

เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะของหัวเว่ย ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้แก่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

การทดสอบมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของ TCP/IP, IB และ RoCEv2 ในสถานการณ์การใช้งานต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือทดสอบเกณฑ์มาตรฐานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงอย่าง LINPACK, Community Earth System Model (CESM) และซอฟต์แวร์พลศาสตร์โมเลกุลอย่าง Virtual Analogue Switching Point (VASP)

ในการทดสอบ VASP นั้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะของหัวเว่ยอย่าง 100GE RoCEv2 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า IB ขณะที่การทดสอบ LINPACK และ CESM พบว่า 100GE RoCEv2 ของหัวเว่ยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ IB ทั้งหมดนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะของหัวเว่ยสามารถแทนที่ IB ในสถานการณ์การใช้งานจริงได้

โซลูชันเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะของหัวเว่ย ยังมาพร้อมอีเทอร์เน็ตไร้การสูญเสียข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอีเทอร์เน็ตทั่วไปแล้วพบว่า อีเทอร์เน็ตไร้การสูญเสียข้อมูลสามารถเพิ่มพลังการประมวลผลเป็นสองเท่าในระดับเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของโซลูชันคือสวิตช์คลาวด์เอ็นจิน 16800 (CloudEngine 16800) ที่มีคุณสมบัติพอร์ตขนาด 768 x 400GE ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในอุตสาหกรรม เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างคลัสเตอร์การประมวลผลขนาดใหญ่พิเศษระดับ 10E นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเป็นผู้จัดจำหน่ายเพียงรายเดียวที่ใช้การประมวลผลแบบใช้เครือข่าย หรือการประมวลผลในเครือข่าย (INC) โดยจากการตรวจสอบโดยโทลลี (Tolly) พบว่าเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เสร็จสิ้น (JCT) ในโซลูชันของหัวเว่ยนั้นสั้นกว่า IB ถึง 17%

แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยปักกิ่งให้บริการคลัสเตอร์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำในประเทศจีน โดยมีประสิทธิภาพของ LINPACK ทั้งระบบอยู่ที่อันดับหนึ่งอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความต้องการที่สูงมากในด้านประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเครือข่าย การทดสอบเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่า เครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จของหัวเว่ยนั้นทรงพลังเพียงใด และช่วยให้หัวเว่ยได้รับการยอมรับมากขึ้นจากอุตสาหกรรมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ในอนาคต เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะของหัวเว่ยจะถูกใช้งานมากขึ้นในสาขาต่าง ๆ เช่น การศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ วางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการประมวลผลทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมทางวิศวกรรม และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับสูง

บทความนี้ถูกคัดเลือกมาจากนิตยสารไอซีที อินไซต์ส (ICT Insights) ฉบับสมาร์ต เอ็ดดูเคชัน (Smart Education) โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย

https://e.huawei.com/en/ict-insights/global/ict_insights/ict34-intelligent-education 

ติดต่อ
[email protected] 

Source : หัวเว่ยนำเสนอเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะ ยกระดับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles