อาร์ตไพรซ์ โดยอาร์ตมาร์เก็ต เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2566 เผยตลาดโตกว่า 2200% นับตั้งแต่ปี 2543 ตอกย้ำว่าศิลปะคือสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี

ปารีส, 18 ตุลาคม 2566 /PRNewswire/ — อาร์ตไพรซ์ (Artprice) โดยอาร์ตมาร์เก็ต (Artmarket) เปิดตัวรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art Market Report) ประจำปี 2566 ประจวบเหมาะกับงานนิทรรศการศิลปะฟรีซ (Frieze) ของกรุงลอนดอน และงานปารีสพลัส โดยอาร์ต บาเซิล (Paris+ by Art Basel) ในเมืองหลวงของฝรั่งเศส โดยประเด็นสำคัญของรายงานฉบับนี้อยู่ที่ ตลาดศิลปะที่เติบโตขึ้นมากกว่า 2,200% นับตั้งแต่ปี 2543 สถิติใหม่ที่ค่อย ๆ ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง และศิลปะยังคงเป็นสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

Artprice's 2023 Contemporary Art Market Report cover, featuring the NFT “Flow” by Josh PIERCE
Artprice’s 2023 Contemporary Art Market Report cover, featuring the NFT “Flow” by Josh PIERCE

 

[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/10/2023-contemporary-art-market-report-artprice-com-by-artmarket-nft-flow-josh-pierce-en.jpg]

ในรายงานประจำปีฉบับที่ 27 อาร์ตไพรซ์ โดยอาร์ตมาร์เก็ตดอทคอม (Artmarket.com) นำเสนอและสำรวจตลาดศิลปะร่วมสมัย (Contemporary) และศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (Ultra-Contemporary) ซึ่งมีชีวิตชีวามากกว่าครั้งไหน ๆ รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2566 ของอาร์ตไพรซ์ พร้อมให้อ่านฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ บนเว็บไซต์

https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2023

คุณเธียร์รี เออร์มันน์ (thierry Ehrmann) ผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์และซีอีโอของบริษัทแม่อย่างอาร์ตมาร์เก็ต ระบุว่า ตลาดศิลปะร่วมสมัยได้เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ด้วยการประมูลที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 2,200% จำนวนศิลปินร่วมสมัยที่มามีส่วนร่วมมากขึ้น (จากศิลปิน 5,400 คน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 38,000 คน) และปริมาณการแลกเปลี่ยนผลงานที่เพิ่มขึ้น (จาก 12,000 ล็อตที่เสนอขายสู่ 123,000 ล็อต) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในเชิงโครงสร้าง รวมถึงเชิงภูมิศาสตร์ด้วยโดยมีประเทศที่เข้าร่วมในตลาดนี้ 64 ประเทศ เมื่อเทียบกับ 39 ประเทศเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แน่นอนว่า ตลาดศิลปะร่วมสมัยเร่งตัวขึ้นด้วยอินเทอร์เน็ตและความลื่นไหลในการทำธุรกรรมทางไกล และตอนนี้ตลาดนี้ได้กลายเป็นตัวแทนของตลาดศิลปะที่มีชีวิตชีวาและทำกำไรได้มากที่สุดในศตวรรษที่ 21

I. ศิลปะร่วมสมัย (ศิลปินเกิดหลังจากปี 2488): ตัวเลขสำคัญในปี 2565/2566

  • มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2565 – มิถุนายน 2566)
  • ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัย
  • มูลค่าการประมูลในภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้น 22 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/2544 (103 ล้านดอลลาร์)
  • ศิลปะร่วมสมัยมีสัดส่วนคิดเป็น 16% ของตลาดการประมูลวิจิตรศิลป์ (Fine Art) และเอ็นเอฟที (NFT) (1.41 หมื่นล้านดอลลาร์)
  • ภาคส่วนนี้มีการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นทำลายสถิติที่ยอดขาย 123,450 ล็อต ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา (+2%)
  • ปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/2544 (ซึ่งศิลปะร่วมสมัยถูกจำหน่ายเพียง 12,500 ล็อต)
  • การทำธุรกรรมมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ ร่วงลง 22% (290 ครั้ง เทียบกับ 372 ครั้งในปี 2564/2565)
  • อัตราการขายไม่ออกของภาคส่วนนี้ยังคงอยู่ที่ 34% (เทียบกับ 33% เมื่อปีที่แล้ว)
  • ราคาสูงสุดที่จ่ายให้กับผลงานศิลปะร่วมสมัยคือ 67.1 ล้านดอลลาร์ ผลงานของฌอง-มิเชล บาสเกีย (Jean-Michel Basquiat)
  • ราคาประมูลเฉลี่ยของศิลปะร่วมสมัยอยู่ที่ 18,600 ดอลลาร์

ซอฟต์พาวเวอร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2565/2566

  • สหรัฐเป็นผู้นำระดับโลกในภาคส่วนนี้ด้วยมูลค่าการประมูลที่ 857 ล้านดอลลาร์ ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา
  • อย่างไรก็ดี ตลาดสหรัฐมีมูลค่าอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564/2565
  • ตลาดจีนตามมาเป็นอันดับ 2 โดยมีมูลค่า 744 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าจะหดตัวลง 5% (มีมูลค่าอยู่ที่ 785 ล้านดอลลาร์ในปี 64/65)
  • สหราชอาณาจักรครองอันดับ 3 ด้วยมูลค่า 376 ล้านดอลลาร์
  • ฝรั่งเศสเป็นอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่า 46 ล้านดอลลาร์
  • ญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์
  • คริสตีส์ (Christie’s) เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับโลกชั้นนำในภาคส่วนนี้ โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 650 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 31% ของมูลค่ารวมทั่วโลก)
  • บริษัทประมูลซัทเทบีส์ (Sotheby) ครองอันดับ 2 ด้วยมูลค่า 595 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 28%) และบริษัทประมูลฟิลิปส์ (Phillips) ตามมาเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 12%)
  • ไชนา การ์เดียน (China Guardian) เป็นบริษัทประมูลชั้นนำของจีน โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 82 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็น4%)
  • เคตเทเรอร์ (Ketterer) เป็นบริษัทประมูลชั้นนำของยุโรป โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์ (0.5%)

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัย

  • ผลงานศิลปะร่วมสมัย 11 ชิ้นมีมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านดอลลาร์ (เทียบกับจำนวน 20 ชิ้น ในปี 2564/2565)
  • ผลงานศิลปะ 290 ชิ้นมีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ 1 ล้านดอลลาร์ (เทียบกับ 372 ชิ้นในปี 64/65)
  • 54% ของล็อตศิลปะร่วมสมัยถูกขายไปในราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (อาทิ ผลงาน 66,600 ชิ้น)
  • จิตรกรรมมีสัดส่วนคิดเป็น 74% ของมูลค่าการประมูลศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก
  • ประติมากรรมมีสัดส่วนคิดเป็น 10% และภาพเขียนมีสัดส่วนคิดเป็น 9%
  • ภาพพิมพ์ (4%) สร้างมูลค่าการประมูลได้สูงกว่าภาพถ่ายเป็นเท่าตัว (2%)
  • ศิลปินร่วมสมัย 30,532 คน มีการประมูลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2565/2566
  • ศิลปิน 10 คนครองสัดส่วน 27% ของมูลค่าการประมูลศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก

10 อันดับศิลปินร่วมสมัยที่มีมูลค่าการประมูลสูงที่สุด
(1 กรกฎาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2566) ©Artprice.com

ศิลปิน

สัญชาติ

มูลค่าการซื้อขาย (ดอลลาร์)

ยอดขายล็อต

มูลค่าสูงสุด (ดอลลาร์)

1

ฌอง-มิเชล บาสเกีย (2503-2531)

สหรัฐอเมริกา

235,524,904

235

67,110,000

2

โยชิโตโมะ นาระ (2502)

ญี่ปุ่น

97,737,808

460

12,809,701

3

แบงก์ซี (2517)

สหราชอาณาจักร

48,873,898

1,654

9,724,500

4

เซซิลี บราวน์ (2512)

สหราชอาณาจักร

47,713,568

34

6,711,450

5

เจฟฟ์ คูนส์ (2498)

สหรัฐอเมริกา

36,136,551

331

16,992,500

6

คีธ แฮริง (2501-2533)

สหรัฐอเมริกา

35,807,795

1,006

5,820,000

7

คริสโตเฟอร์ วูล (2498)

สหรัฐอเมริกา

33,671,700

50

10,070,000

8

เดเมียน เฮิร์สท์ (2508)

สหราชอาณาจักร

32,722,142

989

2,220,000

9

จอร์จ คอนโด (2500)

สหรัฐอเมริกา

32,064,762

97

4,669,026

10

มาร์ค กร็อตจาห์น (2511)

สหรัฐอเมริกา

30,025,287

24

9,809,000

II. ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี): สถิติที่น่าสนใจสำหรับครึ่งแรกของปี 2566

  • กลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษกวาดรายได้ 127 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกลดลง 38% เมื่อเทียบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 (206 ล้านดอลลาร์)
  • เป็นช่วงครึ่งปีที่ดีที่สุดอันดับ 3 ในกลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษ นับตั้งแต่ปี 2543
  • ในระยะเวลา 23 ปี มูลค่าการซื้อขายของภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้น 8.5 เท่า (จาก 14.9 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543)
  • ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีสัดส่วน 12% ของตลาดการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมด
  • ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีสัดส่วน 2% ของมูลค่าการซื้อขายงานวิจิตรศิลป์และ NFT ทั่วโลก
  • ผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษจำนวน 4,520 ชิ้นถูกขายในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • อัตราผลงานที่ประมูลไม่ได้ของกลุ่มนี้อยู่ที่ 34% (เช่นเดียวกับกลุ่มศิลปะร่วมสมัยโดยรวม)

โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • ราคาเฉลี่ยของผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษแตะ 28,100 ดอลลาร์
  • ภาพจิตรกรรมมีสัดส่วน 80% ของมูลค่าการซื้อขายของกลุ่มศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
  • NFT นับเป็นสื่อกลางที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มนี้ แตะ 14 ล้านดอลลาร์ (11%)
  • ภาพวาดมีสัดส่วน 5.8% และประติมากรรม 1.5%
  • สหรัฐก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางชั้นนำในการซื้อขายผลงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษ: 41 ล้านดอลลาร์ (32%)
  • ฮ่องกงมีมูลค่าการซื้อขายงานของกลุ่มนี้ 31% และจีนอยู่ที่ 7%
  • สหราชอาณาจักรมีมูลค่าการซื้อขายรวม 26 ล้านดอลลาร์ ทำรายได้ 20% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษทั่วโลก

ความหลากหลายของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • ศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี จำนวน 2,646 ราย ประมูลผลงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
  • ศิลปินหญิง 5 รายติด 10 อันดับแรกของศิลปินร่วมสมัยพิเศษ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขาย
  • แมทธิว หว่อง (Matthew Wong) (2527-2562) ทุบสถิติใหม่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 6.6 ล้านดอลลาร์

NFT โดยศิลปินร่วมสมัยพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

  • NFT ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ สร้างรายได้รวม 14.2 ล้านดอลลาร์ (เมื่อเทียบกับ 5.3 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี 2565)
  • NFT คิดเป็น 11% ของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
  • NFT ที่ขายดีที่สุดในปี 2565/2566 ได้แก่ Ringers #879 (The Goose) ปี 2564 ของดมิทรี เชอร์เนียก (Dimitry Cherniak) (เกิดปี 2531) ซึ่งคว้าเงินได้ 6.2 ล้านดอลลาร์ที่ซัทเทบีส์ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566

10 อันดับแรกของศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี ในแง่ของมูลค่าการซื้อขาย
(1 มกราคม 2566 – 30 มิถุนายน 2566) ©Artprice.com

ศิลปิน

มูลค่าการซื้อขาย (ดอลลาร์)

ยอดขายล็อต

มูลค่าสูงสุด (ดอลลาร์)

1

แมทธิว หว่อง (2527-2562)

14,116,706

7

6,662,115

2

ดมิทรี เชอร์เนียก (2531)

7,110,450

7

6,215,100

3

ลอว์เยอร์ ฮอลโลเวลล์ (2526)

5,756,267

11

2,292,383

4

เจเด ฟาโดจูติมิ (2536)

4,288,516

15

1,157,959

5

เอเวอรี ซิงเกอร์ (2530)

4,063,984

2

4,063,451

6

ไทเลอร์ ฮอบส์ (2530)

3,962,699

11

1,016,000

7

เอวา จูสกีวิคซ์ (2527)

3,198,240

13

762,371

8

เหลียง ห่าว (2531)

3,140,164

1

3,140,164

9

ลูซี บูล (2533)

2,898,618

8

1,206,207

10

อาบูเดีย ดิอารัสซูบา (2526)

2,880,822

43

180,278

ศิลปะ สินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางวิกฤต

โดยสรุป แม้ภาคส่วนอื่นของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากบริบททางภูมิศาสตร์การเมืองและการเงินในปัจจุบัน แต่ตลาดศิลปะก็ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยสร้างสถิติการซื้อขายอยู่บ่อยครั้งสำหรับผลงานจากทุกยุคศิลปะและในหลากหลายประเทศในการขายครั้งล่าสุด นอกจากนี้ ยังไม่มีการยกเลิกการขายตามแคตตาล็อกคลาสสิกและ/หรือเพรสทีจสำหรับปี 2566 หรือ 2567 ยอดขายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในตลาดงานศิลปะทั้งหมด

บริษัทประมูลและนักลงทุนรายใหญ่ต่างรู้ดีว่าศิลปะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและเป็นการลงทุนที่ดี ตามที่แสดงให้เห็นผ่านดัชนีอาร์ตไพรซ์100 (Artprice100©) ซึ่งสร้างผลตอบแทนดีกว่าดัชนีตลาดหุ้นแบบดั้งเดิม ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นในปัจจุบันยังส่งผลให้มีการนำเงินทุนและการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดศิลปะอีกด้วย

ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อาร์ตไพรซ์ได้สังเกตเห็นแล้วว่าตลาดศิลปะได้รับผลกระทบน้อยกว่าตลาดการเงินและเศรษฐกิจ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นจริงในระหว่างเหตุการณ์ ดัชนี Nasdaq เกิดฟองสบู่แตกในปี 2543, หลังการโจมตี 9/11 ในปี 2544, สงครามอัฟกานิสถานในปี 2544, สงครามอิรักในปี 2546, วิกฤตซับไพรม์และ CDS ในปี 2550, อัตราดอกเบี้ยติดลบที่เริ่มขึ้นในปี 2554 และวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 แม้ปัจจุบันจะเกิดความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหญ่และความหวาดกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดศิลปะก็ยังสามารถรักษาความแข็งแกร่งได้

ระเบียบวิธี

รายงานฉบับนี้ประเมินผลการประมูลงานวิจิตรศิลป์ในที่สาธารณะทั้งหมด เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะจัดวาง งานพรมผนัง และ NFT โดยไม่นับรวมโบราณวัตถุ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและเฟอร์นิเจอร์ รายงานยังครอบคลุมผลการประมูลทั่วโลกที่อาร์ตไพรซ์รวบรวมสำหรับงานศิลปะของศิลปินที่เกิดหลังปี 2488 (ศิลปะร่วมสมัย) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 และมุ่งความสนใจเป็นพิเศษไปที่การซื้อขายงานศิลปะของศิลปินที่อายุไม่ถึง 40 ปี (ศิลปินร่วมสมัยพิเศษ) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566 ราคางานศิลปะทั้งหมดที่ระบุในรายงานนี้อ้างอิงจากผลการประมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อต้องชำระ โดยมีการอ้างอิงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ($)

ข้อมูลและการศึกษาเชิงเศรษฐมิติที่จัดทำโดย Artmarket.com นำเสนอขึ้นโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจความเป็นจริงทางสถิติของตลาดศิลปะ และไม่ควรถือเป็นคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือการชักชวนให้ลงทุนในตลาดศิลปะ

รูปภาพ: [https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/10/2023-contemporary-art-market-report-artprice-com-by-artmarket-nft-flow-josh-pierce-en.jpg]

สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 เธียร์รี เออร์มันน์ www.artprice.com – www.artmarket.com

  • อย่าลังเลที่จะติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติของเรา เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับสถิติและการศึกษาวิจัยส่วนตัว: [email protected]
  • ทดลองบริการของเรา (ฟรี): https://www.artprice.com/demo
  • สมัครสมาชิกบริการของเราhttps://www.artprice.com/subscription

เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต

อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม (Artmarket.com) มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF

สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ผ่านวิดีโอ: www.artprice.com/video

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ เธียร์รี เออร์มันน์ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530

ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who’s who ©:
https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2023/04/2023_2_Biographie-thierry-Ehrmann_WhosWhoInFrance.pdf

อาร์ตมาร์เก็ตเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 817,000 ราย

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก

อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images®) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) โดยผู้ใช้ 7.2 ล้านราย (สมาชิกเข้าสู่ระบบ + โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็นตลาดมาตรฐานระดับโลก Global Standardized Marketplace® ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศสถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ

อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2023

รายงานตลาดงานศิลปะโลกของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต "ตลาดงานศิลปะในปี 2565" เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2022

อาร์ตไพรซ์เผยแพร่รายงานตลาดงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษปี 2565:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2022

ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดยอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์:
https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/

ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์:

www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.4 ล้านคน)

twitter.com/artmarketdotcom

twitter.com/artpricedotcom

สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้ที่ https://www.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ตมาร์เก็ตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe Contemporary Art Museum "The Abode of Chaos" (คำนิยมจากเดอะนิวยอร์กไทมส์): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013

La Demeure du Chaos / Abode of Chaos
GESAMTKUNSTWERK & SINGULAR ACRHITECTURE
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ:
https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf

·  L’Obs – The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o

·  https://vimeo.com/124643720

ติดต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ – ติดต่อ: เธียร์รี เออร์มันน์ อีเมล: [email protected]

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2248564/Artmarket.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1009603/Art_Market_logo.jpg?p=medium600

 

Source : อาร์ตไพรซ์ โดยอาร์ตมาร์เก็ต เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยประจำปี 2566 เผยตลาดโตกว่า 2200% นับตั้งแต่ปี 2543 ตอกย้ำว่าศิลปะคือสถานที่ปลอดภัยในยามวิกฤต

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles