บาหลี, อินโดนีเซีย–19 ตุลาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
การประชุมปรึกษาหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Consultation Meeting: SCM) ครั้งที่ 2 ของการประชุมน้ำโลก (World Water Forum) ครั้งที่ 10 ได้จัดขึ้นที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม 2566 ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้มีการจัดทำข้อตกลงและข้อเสนอต่าง ๆ และจะมีการสรุปผลในการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 ในปี 2567
การประชุมครั้งนี้รวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1,094 ราย จาก 73 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยประมุขแห่งรัฐ ตัวแทนจากรัฐบาลกลาง หน่วยงานท้องถิ่น รัฐสภา องค์กร และชุมชนต่าง ๆ
ตลอดสองวันของการประชุม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมกันพัฒนาแนวคิดและกำหนดขอบเขตของหัวข้อย่อย ประเด็น รวมถึงจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการระดับภูมิภาคและระดับหัวข้อ
กระบวนการทางการเมืองได้เปิดโอกาสให้ผู้นำที่มีอำนาจตัดสินใจในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ประมุขแห่งรัฐ รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หน่วยงานจัดการลุ่มน้ำ ไปจนถึงหน่วยงานท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยเหล่าองค์กรประสานงานกระบวนการทางการเมืองได้มาร่วมแบ่งปันผลลัพธ์ที่คาดหวังและแผนงานเบื้องต้นของตนเอง
นอกจากนั้นยังได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับภูมิภาค ได้แก่ สถาบันน้ำเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Water Institute), การประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Water Forum), สภาน้ำแห่งเอเชีย (Asia Water Council) และสภาน้ำระดับรัฐมนตรีแห่งแอฟริกา (African Minister’s Council on Water) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะยอมรับมิติระดับภูมิภาค และตระหนักถึงความท้าทายและแนวทางแก้ไขที่แตกต่างกันในการจัดการน้ำทั่วทั้งเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียแปซิฟิก แอฟริกา และอเมริกา
คุณเอริก ทาร์ดู (Eric Tardieu) รองประธานสภาน้ำโลก (World Water Council: WWC) เปิดเผยว่า หัวข้อใหม่ที่มีความสำคัญมากขึ้นในระหว่างการอภิปรายสองวันประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ น้ำ พลังงาน อาหาร ระบบนิเวศและความเชื่อมโยงด้านสุขภาพ วิธีแก้ปัญหาอิงธรรมชาติและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ความมั่นคงทางน้ำ ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และน้ำหมุนเวียน
"เราตระหนักถึงความจำเป็นในการบูรณาการปัญหาและแนวทางแก้ไขแบบองค์รวมมากขึ้น เช่น การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ความยืดหยุ่นและความมั่นคงด้านน้ำ ความยุติธรรมและความครอบคลุมทางสังคมในการจัดการน้ำ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนในการวางแผน ความสำคัญของข้อมูลเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านน้ำตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนในวงกว้าง" เขากล่าวเสริม
คุณโมฮัมหมัด ไซนาล ฟาตาห์ (Mohammad Zainal Fatah) ประธานเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานแห่งชาติของการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 กล่าวเสริมว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แจกแจงปัญหาและความท้าทายภายใต้กรอบของ 6 กระบวนการระดับหัวข้อ ได้แก่ ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองด้านน้ำ, น้ำเพื่อมนุษย์และธรรมชาติ, การลดความเสี่ยงและการจัดการภัยพิบัติ, ธรรมาภิบาล ความร่วมมือ และการทูตน้ำ, การเงินด้านน้ำที่ยั่งยืน รวมถึงความรู้และนวัตกรรม
"เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 ในปี 2567 จะมอบผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนก่อให้เกิดความมุ่งมั่นทางการเมืองในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน" เขากล่าวสรุป
ติดต่อ:
สำนักเลขาธิการการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10
เอกสารประกอบ:
https://drive.google.com/drive/folders/1c9sGdh8PLuI-ao9HwbZIQxTIRogg0y_H?usp=sharing
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network