ปักกิ่ง–30 ตุลาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการนำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้เพื่อสร้างความก้าวหน้าระดับโลกและสร้างโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน ผ่านการมีส่วนร่วมในข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์แบบอินเทอร์แอคทีฟได้ที่ https://www.multivu.com/players/English/9220851-tsinghua-university-highlights-tsinghua-people-promoting-global-development/
บทสัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มโดยสถาบันสายแถบและเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว (Belt and Road Institute of Tsinghua University) เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางในปี 2566 นี้ โดยวิดีโอที่เผยแพร่บนยูทูบได้แสดงให้เห็นถึงคุณูปการของชาวมหาวิทยาลัยชิงหัวตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการเสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง
ศาสตราจารย์ จ้าว เค่อจิน (Zhao Kejin) รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหัว เป็นหนึ่งในคณาจารย์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางตั้งแต่ช่วงแรก ๆ โดยเขาและอาจารย์ท่านอื่นได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยกระทรวงและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรายงานหลายฉบับเพื่อมอบข้อมูลเชิงลึกให้แก่รัฐบาล ในปี 2560 เขาเป็นหนึ่งในหัวหอกจัดตั้งการประชุมสายแถบและเส้นทางดาวอส (Belt and Road Davos Forum) เพื่อนำเสนอแนวทางของจีนในการจัดการกับปัญหาทั่วโลกบนเวทีระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการ "เป็นกระบอกเสียงให้กับประเทศจีนและอธิบายนโยบายของจีนท่ามกลางเศรษฐกิจโลก"
คุณซื่อ จือฉิน (Shi Zhiqin) คณบดีบริหารสถาบันสายแถบและเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้อธิบายบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะ "ที่ปรึกษาด้านนโยบาย" ซึ่งทำการวิจัยสำคัญ ๆ และทำงานร่วมกับบรรดาองค์กรคลังสมองชั้นนำของจีน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง
ศาสตราจารย์หู อวี้ (Hu Yu) จากคณะวารสารศาสตร์และการสื่อสาร ผู้สอนวิชาสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลกและแนวปฏิบัติในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่า "อคติมักเกิดจากความไม่เข้าใจ ดังนั้น การได้รับทราบข้อมูลโดยตรงจึงมีความสำคัญมาก" เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันมากขึ้นระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ เขาได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรมหลายครั้ง ตลอดจนช่วยเหลือทั้งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน
คุณเจิ้ง ห่าว (Zheng Hao) นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมโยธา เป็นหนึ่งในตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ (UN Asia Pacific Youth Exchange Program) โดยเธอได้ทำการวิจัยในถิ่นทุรกันดารของประเทศไทย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่จุดประกายให้เธอต้องการเป็น "พลเมืองผู้ทำประโยชน์ให้กับโลก"
คุณเฉา เฟิงเจ้อ (Cao Fengze) ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัท ซิโนไฮโดร บูโร 11 จำกัด (Sinohydro Bureau 11 Co., Ltd.) สาขาแอฟริกา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้บอกเล่าประสบการณ์การเดินทางที่สร้างแรงบันดาลใจให้เขาค้นพบคุณค่าของตัวเองในการทำประโยชน์ให้กับประชาคมโลก ผ่านการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วแอฟริกา
คุณจาง อี้ฉิง (Zhang Yiqing) ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยชิงหัว คือผู้จัดการทั่วไปผู้อยู่เบื้องหลังโครงการสร้างอาคารฉลองครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการฑูตจีน-อียิปต์ ซึ่งสร้างขึ้นในปี 2564 โดยมีความสูง 385 เมตร ตั้งตระหง่านใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในเมืองหลวงใหม่ของอียิปต์ และได้รับตำแหน่งตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา เขาได้อธิบายองค์ประกอบการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของจีนในด้านการก่อสร้าง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างทั้งสองประเทศอีกด้วย
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network