เจพีเอ เฮลธ์ เผยคะแนนความเชื่อมโยงเพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นรายสำคัญ
วอชิงตัน, 2 พฤศจิกายน 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานฉบับใหม่จากเจพีเอ เฮลธ์ (JPA Health) ชื่อว่า "โลกหนึ่งเดียว สุขภาพหนึ่งเดียว: สำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม" (One World, One Health: Exploring the Connectability between Human, Animal and Environmental Health) เผยปัญหาที่น่ากังวลเกี่ยวกับการขาดการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ทรงอิทธิพลระดับโลกในด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
The One Health Connectability Chart. ATTRIBUTION SOURCE: JPA Health, “One World, One Health: Exploring the Connectability between Human, Animal and Environmental Health”
แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งสนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention) ตระหนักถึงความจำเป็นของการทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม[1],[2] หลักการสุขภาพหนึ่งเดียวยังสะท้อนอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ทั้งการยุติความหิวโหย (เป้าหมายที่ 2) สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี (เป้าหมายที่ 3) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (เป้าหมายที่ 6) ระบบนิเวศชีวิตใต้น้ำ (เป้าหมายที่ 14) และระบบนิเวศชีวิตบนบก (เป้าหมายที่ 15)[3]
"เราหวังว่าการวิเคราะห์นี้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจุดประกายให้เกิดการสนทนาและการลงมือทำงานร่วมกันที่สร้างแรงบันดาลใจสู่อนาคตที่มีการโอบรับสุขภาพหนึ่งเดียวเป็นรากฐานของการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพที่ซับซ้อนในยุคสมัยของเรา" ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล แลร์มอร์ (Michael Lairmore) สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ (กิตติคุณ) และอดีตคณบดี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (UC Davis) ผู้มีส่วนร่วมในรายงานฉบับนี้ กล่าว
เพื่อสร้างรายงานฉบับนี้ มีการใช้เครื่องมือมุมมองเชิงลึกของเจพีเอ เฮลธ์ อย่างเกรเทล (GRETEL®) เพื่อประเมินความเชื่อมโยงและอิทธิพลระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคล (โดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมเป็นตัวแปรแทน) ข้อค้นพบที่สำคัญมีดังนี้
- การสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวเกิดขึ้นในฟองอากาศเฉพาะกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวพูดคุยเฉพาะกับฝ่ายของตนเอง และไม่ได้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในภาคส่วนสุขภาพสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์แทบจะขาดหายไปจากการสนทนาและปฏิสัมพันธ์ว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว ขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายหลักสองกลุ่ม ได้แก่ด้านสุขภาพสัตว์และสุขภาพมนุษย์ มีส่วนร่วมในการหารือว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 2.76 และ 1.44 ตามลำดับ) แต่ยังมีการมีส่วนร่วมน้อยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ในการสนทนาและปฏิสัมพันธ์ว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 0.21 และ 0.33 ตามลำดับ)
- ผู้ออกนโยบายขาดการเชื่อมโยงกับแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ทรงอำนาจและทรงอิทธิพลสูงสุด ผู้ออกนโยบายโดยทั่วไปขาดการเชื่อมโยงกับการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 0.11)
เพื่อสร้างข้อค้นพบเหล่านี้ เจพีเอ เฮลธ์ ใช้ ‘คะแนนความเชื่อมโยง’ (Connectability Score) และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินประสิทธิผลของการสร้างความเชื่อมโยงทางสังคมและการเผยแพร่ประเด็นสื่อสารโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ โดยคะแนนความเชื่อมโยง 1.0 คะแนนขึ้นไปหมายถึงแนวโน้มที่สูงกว่าสำหรับการเผยแพร่ประเด็นสื่อสารในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การได้คะแนน 2.0 คะแนนขึ้นไปเป็นที่พึงประสงค์สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของการเข้าถึงประเด็นสื่อสารและความตระหนักรู้โดยรวม
"เราพัฒนารายงานนี้ขึ้นเพื่อเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมถึงซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง เพื่อที่จะชูความสำคัญของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว และทำงานอย่างมีความมุ่งหมายมากขึ้นเพื่อปกป้องสุขภาพของทั้งคนและสัตว์ ตลอดจนความยั่งยืนในระยะยาวของโลกของเรา" คุณแคร์รี โจนส์ (Carrie Jones) ซีอีโอของเจพีเอ เฮลธ์ กล่าว "เราสนับสนุนให้ผู้นำธุรกิจสร้างแบบอย่าง ชูการสื่อสารข้ามภาคส่วน ประกอบกับยึดถือความมุ่งมั่นร่วมกันสู่โลกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น สิ่งนี้มิใช่เพียงภาระหน้าที่ทางศีลธรรมเท่านั้น แต่เป็นความจำเป็นเชิงกลยุทธ์สำหรับความสำเร็จทางธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว"
ช่องว่างในการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งบ่งชี้โดยการวิเคราะห์ของเจพีเอ เฮลธ์ สามารถจัดการได้ในหลายวิธี ตัวอย่างเช่น นโยบายระดับรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่นที่มีการบูรณาการและยกระดับ แคมเปญการสื่อสารแบบมุ่งเป้า ความร่วมมือข้ามภาคส่วนที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และความพยายามส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และความครอบคลุมทั่วถึงที่จริงจังมากขึ้น
เข้าถึงรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่
แนวทาง
เจพีเอ เฮลธ์ ใช้เครื่องมือมุมมองเชิงลึกขับเคลื่อนด้วยเอไอซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กร ได้แก่เกรเทล (GRETEL®) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายทางสังคมระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 การวิเคราะห์ดังกล่าวนี้เผยให้เห็นมุมมองเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) รวมถึงคุณภาพของการสื่อสารระหว่างภาคส่วนด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ขณะที่โครงการริเริ่มสุขภาพหนึ่งเดียวมีผลกระทบระดับโลก รายงานนี้ชี้ว่าผู้เล่นรายหลักในวงการสุขภาพ การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวที่ดำเนินต่อเนื่องในเชิงลึก อีกทั้งยังฉายให้เห็นการสื่อสารที่จำกัดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้น โดยเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้นเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่ซับซ้อน
เกี่ยวกับเจพีเอ เฮลธ์
เจพีเอ เฮลธ์ (JPA Health) เป็นหน่วยงานอิสระที่ได้รับรางวัล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 มีสำนักงานในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยให้บริการเต็มรูปแบบในด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์ เมื่อไม่นานมานี้ เจพีเอ เฮลธ์ ได้รับรางวัลหน่วยงานแห่งปี (Agency of the Year) ประจำปี 2566 ของพีอาร์เดลี (PR Daily) บริษัทเป็นผู้นำในภาคสุขภาพสำหรับการทำงานที่ได้รับรางวัลในการออกแบบแคมเปญรณรงค์ด้านสุขภาพที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและมอบผลลัพธ์ที่วัดประเมินได้ ทีมงานเจพีเอ เฮลธ์ มีใจรักในการช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.jpa.com
เกี่ยวกับเกรเทล
เครื่องมือการสื่อสารแม่นยำ เกรเทล (GRETEL) ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กร ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สำรวจภูมิทัศน์ที่ซับซ้อนของการสื่อสารด้านสุขภาพ โดยมอบมุมมองเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ระบุกระแสแนวโน้ม และทำความเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกรเทลวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อระบุหัวข้อ กระแสแนวโน้ม และความต้องการในประเด็นทางสุขภาพที่จำเพาะ จึงเอื้อให้เกิดการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารประเด็นอย่างมุ่งเป้าและมีประสิทธิผลเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เกี่ยวกับแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว
แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เล็งเห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงระหว่างกันของสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม การป้องกันโรคและการติดตามเฝ้าระวังโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนสามารถลดความเสี่ยงของโรคระบาดร้ายแรง ขณะที่สุขภาพของสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยการตัดไม้ทำลายป่า มลภาวะ และภาวะโลกรวนส่งผลกระทบต่อทุกด้านในสุขภาพหนึ่งเดียว ในแง่นี้ ด้วยการคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้แบบองค์รวม เราสามารถจัดการกับประเด็นปัญหาด้านสุขภาพระดับโลกที่ซับซ้อน และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับเราทั้งมวล [1,2]
อ้างอิง
- World Health Organization: WHO (องค์การอนามัยโลก). One health (สุขภาพหนึ่งเดียว). https://www.who.int/ health-topics/one-health#tab=tab_1. เผยแพร่ 9 พฤษภาคม 2565
- Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ) . One Health Basics (พื้นฐานว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว). Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ). เผยแพร่ 5 พฤศจิกายน 2561 https://www.cdc.gov/onehealth/basics/index.html
- THE 17 GOALS | Sustainable Development (17 เป้าหมาย | การพัฒนาที่ยั่งยืน). https://sdgs.un.org/goals
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2262960/JPA23_One_Health_Report_page13.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1941041/4374667/JPA_Health_Logo.jpg?p=medium600
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network