ซานย่า, จีน–6 พฤศจิกายน 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก ประจำปี 2566 (The 2023 Symposium on Global Maritime Cooperation and Ocean Governance หรือ GMCOG) เตรียมเปิดฉากขึ้นที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2566 งานนี้ร่วมกันจัดโดยศูนย์วิจัยหัวหยางเพื่อความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล (Huayang Center for Maritime Cooperation and Ocean Governance), มูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาสมุทรของจีน (China Oceanic Development Foundation หรือ CODF) และสถาบันทะเลจีนใต้ศึกษาแห่งชาติ (National Institute for South China Sea Studies หรือ NISCSS)
การประชุมวิชาการนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ในฐานะเวทีเสวนากระตุ้นความคิดสำหรับบรรดานักคิดที่มีภูมิหลังหลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล นอกจากนั้นยังเป็นกระบอกเสียงให้กับประเทศแถบชายฝั่งทะเลจีนใต้ในด้านความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก อีกทั้งยังนำเสนอประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้เพื่อส่งเสริมสมุทราภิบาลโลก ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก พร้อมกับปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ข้อที่ 14 (การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) โดยการประชุมวิชาการนี้ได้ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษกับการพัฒนามหาสมุทรและทะเลอย่างยั่งยืนตลอดหลายปีที่ผ่านมา
การประชุมระยะเวลาสองวันประกอบด้วยการเสวนาใน 7 หัวข้อ ได้แก่ ความท้าทายด้านสมุทราภิบาลโลกและความร่วมมือทางทะเลระหว่างมหาอำนาจ, การสร้างความเชื่อมั่นร่วมกันในทะเลจีนใต้จากมุมมองของข้อริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก, การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีน้ำเงิน, ระเบียบในทะเลจีนใต้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติปี 2573 ข้อที่ 14 และการพัฒนาการประมงทางทะเลอย่างยั่งยืน, สนธิสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐและสมุทราภิบาลโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการวิจัยขั้วโลก
การประชุมวิชาการในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมจากกว่า 20 ประเทศและภูมิภาค รวมถึงนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากสถานศึกษาที่ทรงอิทธิพล นักการทูต เจ้าหน้าที่จากองค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาครัฐทั้งในและนอกภูมิภาค โดยวิทยากรหลักที่ยืนยันเข้าร่วมการประชุมแล้วประกอบด้วย นายหวัง อี้ (Wang Yi) สมาชิกกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน, นายซุน เว่ยตง (Sun Weidong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน, นายหวัง หง (Wang Hong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ว่าการบริหารรัฐกิจด้านมหาสมุทรของจีน, นายปีเตอร์ ทอมสัน (Peter Thomson) ผู้แทนพิเศษด้านมหาสมุทรของเลขาธิการสหประชาชาติ, นายหลิว เจิ้นหมิน (Liu Zhenmin) อดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติ และนายสตีเฟน เอ. ออร์ลินส์ (Stephen A. Orlins) ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-จีน ของสหรัฐอเมริกา
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network