ฉงชิ่ง, จีน–6 พฤศจิกายน 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
The Fifth China-ASEAN Legal Cooperation Forum commenced in Chongqing on November 1. (Photo/Event organizer)
รายงานข่าวโดย iChongqing
การประชุมความร่วมมือทางกฎหมายจีน-อาเซียน (China-ASEAN Legal Cooperation Forum) ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ "พัฒนาประชาคมจีน-อาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นผ่านความร่วมมือทางกฎหมาย" ได้จัดขึ้นที่นครฉงชิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
การประชุมในปีนี้มุ่งเน้นไปที่แนวปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไปและความจำเป็นเร่งด่วนในการกระชับความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างจีนกับอาเซียน การส่งเสริมการเจรจาอย่างครอบคลุมและการประกาศมาตรการส่งเสริมกรอบกฎหมายระดับภูมิภาค การบ่มเพาะผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในด้านภูมิภาคศึกษา และการขยายความร่วมมือด้านบริการทางกฎหมายภายใต้ขอบเขตของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRI)
สำหรับวาระการประชุมประกอบด้วยพิธีเปิด การกล่าวปาฐกถาพิเศษ การประชุมย่อยหลายหัวข้อ และพิธีปิด โดยมีแขกผู้ทรงเกียรติเกือบ 200 คนเข้าร่วมงาน ทั้งตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และแวดวงกฎหมาย ซึ่งรวมถึงทนายความ อนุญาโตตุลาการ และผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายทั้งจากจีนและอาเซียน
ในระหว่างพิธีเปิดงาน ได้มีการเปิดตัวพันธมิตรบริการทางกฎหมายในระเบียงเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International Land-Sea Corridor Legal Service Alliance) ซึ่งรวมบริษัทและสถาบันทางกฎหมายราว 70 แห่งเข้าด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่โดดเด่นคือ บริษัท คิง แอนด์ วู้ด มอลลีสันส์ (King & Wood Mallesons) คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการนครฉงชิ่ง และคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของจีนสาขาตะวันตกเฉียงใต้
พันธมิตรดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันในอาเซียนเกือบ 30 แห่ง ซึ่งรวมถึงหอการค้าลาว-จีน และศูนย์อนุญาโตตุลาการการค้าระหว่างประเทศเวียดนาม-จีน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการสนับสนุนความก้าวหน้าด้านกฎหมายอย่างครอบคลุม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (ILSTC)
นายลู่ เค่อหัว (Lu Kehua) สมาชิกคณะกรรมการถาวรของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเทศบาลนครฉงชิ่ง และเลขาธิการคณะกรรมการกิจการการเมืองและกฎหมายประจำเทศบาลนครฉงชิ่ง กล่าวว่า "พันธมิตรบริการทางกฎหมายมุ่งมั่นที่จะยกระดับการให้บริการทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่โดดเด่นด้วยการยึดตลาดเป็นศูนย์กลาง ความชอบธรรมทางกฎหมาย และความเปิดกว้างในระดับสากล"
นายเกดสะหนา พมมะจัน (Ketsana Phommachan) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เน้นย้ำถึงความก้าวหน้าและชัยชนะด้านการพัฒนาภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง โดยเขายืนยันว่าความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ต่อหลักนิติธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือและความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศต่าง ๆ
นอกจากนี้ เขายังยกย่องศูนย์วิจัยกฎหมายจีน-อาเซียน (China-ASEAN Legal Research Center) ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจรจาทางกฎหมายและการพัฒนาความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย พร้อมกับตั้งตารอดูการมีส่วนร่วมสนับสนุนการวิจัยและแนวปฏิบัติในด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ และการบังคับใช้กฎหมายต่อไป
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network