โครงการเพาะพันธุ์เสือดาวอาระเบียเพื่อการอนุรักษ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลา ต้อนรับสมาชิกใหม่ "ลูกเสือดาว 7 ตัว"

  • ลูกเสือดาวเกิดใหม่ 7 ตัวนี้ถือว่ามากกว่าลูกเสือดาวเกิดใหม่ในปี 2565 ถึงสองเท่า และทำให้จำนวนเสือดาวอาระเบียทั้งหมดของราชกรรมาธิการอัลอูลาเพิ่มขึ้นเกือบ 100% นับตั้งแต่ปี 2563 รวมเป็น 27 ตัว
  • ลูกเสือดาวทุกตัวเกิดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา โดยมีสัตวแพทย์และผู้ดูแลเสือดาวที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีคอยติดตามพัฒนาการและดูแลตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

อัลอูลา, ซาอุดีอาระเบีย, 8 พฤศจิกายน 2566 /PRNewswire/ — ราชกรรมาธิการอัลอูลา (Royal Commission for AlUla หรือ RCU) ประสบความสำเร็จในการให้กำเนิดลูกเสือดาวอาระเบีย 7 ตัวในปี 2566 นี้ โดยถือเป็นก้าวสำคัญของโครงการเพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งมุ่งหวังที่จะปกป้องสัตว์สายพันธุ์นี้จากสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered)

https://static.prnasia.com/pro/fec/jwplayer-7.12.1/jwplayer.js jwplayer.key=”3Fznr2BGJZtpwZmA+81lm048ks6+0NjLXyDdsO2YkfE=”

 

jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2270889/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2270889/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.mp4?p=thumbnail’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});

ลูกเสือดาวทั้งหมดเกิดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ณ ศูนย์เพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลา ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองทาอิฟ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ส่งผลให้ราชกรรมาธิการอัลอูลามีเสือดาวอาระเบียรวมทั้งสิ้น 27 ตัว หรือเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากที่เคยมีอยู่ 14 ตัวเมื่อตอนเริ่มโครงการอนุรักษ์ในปี 2563

ในระยะยาวนั้น การนำเสือดาวอาระเบียกลับคืนสู่ธรรมชาติถือเป็นจุดสูงสุดของการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเมืองอัลอูลาอย่างครอบคลุม ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปี 2573 (Vision 2030) ของซาอุดีอาระเบีย ทั้งนี้ เสือดาวอาระเบียถูกจัดอยู่ในบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN) ในสถานะ "ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง" โดยเสือดาวตามธรรชาติที่เหลืออยู่ในคาบสมุทรอาหรับคาดว่ามีไม่ถึง 200 ตัว ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงประกาศให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นวันเสือดาวอาระเบียสากล เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สัตว์สายพันธุ์สำคัญนี้

การเกิดของลูกเสือดาว 7 ตัวได้สร้างขวัญและกำลังใจอย่างมากให้แก่โครงการเพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ หลังจากที่มีลูกเสือดาวเกิดใหม่ 3 ตัวเมื่อปีที่แล้ว โดยในบรรดาลูกเสือดาวเกิดใหม่ในปีนี้ มี 5 ตัวที่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่เสือดาวที่อยู่ในศูนย์โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องดูแลเพิ่มเติม และเจ้าหน้าที่จะรักษาระยะห่างเพื่อให้แม่ลูกได้สานสัมพันธ์กัน

ส่วนลูกเสือดาวอีก 2 ตัวที่เหลือได้รับการเลี้ยงดูโดยเจ้าหน้าที่ของราชกรรมาธิการอัลอูลา เนื่องจากถูกแม่ทิ้งหลังคลอด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ในศูนย์หรือในป่าก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่ได้นำลูกเสือดาวที่ถูกทิ้งออกมาอย่างรวดเร็วหลังจากติดตามพฤติกรรมของแม่อย่างใกล้ชิด

การย้ายลูกเสือดาวไปยังเนอร์สเซอรีที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษนั้น ไม่เพียงช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดจากแม่เสือดาวเท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้อย่างมากในช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่เปราะบางเช่นนี้ และเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการอนุรักษ์ที่เข้มงวด ลูกเสือดาวจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยมือโดยเจ้าหน้าที่ผู้ทุ่มเทและอยู่กับลูกเสือดาวตลอดเวลา ทั้งนอนอยู่ใกล้ ๆ และให้อาหารทุก ๆ สองชั่วโมงโดยประมาณ

คุณอับดุลอะซีซ อเลนซี (Abdulaziz Alenzy) ผู้จัดการศูนย์เพาะพันธุ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลา กล่าวว่า "เราทุกคนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับลูกเสือดาวอาระเบียเกิดใหม่ทั้ง 7 ตัวอย่างปลอดภัยและสมบูรณ์แข็งแรงในโครงการเพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลา นับเป็นอีกก้าวสำคัญในความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการอนุรักษ์สัตว์สายพันธุ์นี้ ด้วยการเพิ่มจำนวนประชากรให้ได้ทุกปีเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของเราในการนำเสือดาวกลับคืนสู่ป่าของเมืองอัลอูลาและซาอุดีอาระเบีย"

ทีมงานของศูนย์เพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลาได้ติดตามดูเสือดาวทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงผ่านกล้องวงจรปิด เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเสือดาวอาระเบียกำลังตั้งท้อง ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเข้าไปใกล้แม่เสือดาวเป็นเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ และอาศัยการติดตามจากกล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียว

คุณอเลนซีกล่าวเสริมว่า "แน่นอนว่าถ้าแม่เสือดาวเลี้ยงลูกเองตามธรรมชาติจะดีกว่ามาก แต่บางครั้ง โดยเฉพาะกับแม่มือใหม่ มีโอกาสที่แม่เสือดาวอาจทิ้งลูกเนื่องจากขาดประสบการณ์ เพราะไม่รู้ว่าจะเลี้ยงลูกอย่างไร ถ้าเป็นในป่า ลูกเสือดาวอาจถูกทิ้งให้ตาย เนื่องจากเสือดาวอาระเบียเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมาก เราจึงตัดสินใจยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเมื่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในศูนย์ของเรา"

"ลูกเสือดาวที่ถูกเลี้ยงด้วยมือโดยเจ้าหน้าที่มีความสำคัญพอ ๆ กับลูกเสือดาวที่ถูกเลี้ยงโดยแม่เสือดาว แต่หลังจากเลี้ยงด้วยมือแล้ว ลูกเสือดาวจะต้องกลับไปอยู่กับเสือดาวตัวอื่น ๆ ซึ่งต้องอาศัยการฝึกพิเศษและความอดทนอย่างมาก หลังจากเวลาผ่านไป 5-6 สัปดาห์ เราจะนำลูกเสือดาวกลับเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงต่อวันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย นอกจากนี้ เรายังเปลี่ยนจากการให้นมไปเป็นอาหารแข็ง ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการช่วยชีวิตลูกเสือดาวทุกตัวมีความสำคัญมากเพียงใด"

Video – https://mma.prnasia.com/media2/2270889/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.mp4
Photo – https://mma.prnasia.com/media2/2270891/Arabian_Leopard_Cub_RCU.jpg?p=medium600
Photo – https://mma.prnasia.com/media2/2270894/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.jpg?p=medium600
Photo – https://mma.prnasia.com/media2/2270896/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.jpg?p=medium600
Photo – https://mma.prnasia.com/media2/2270897/Arabian_Leopard_Cubs_RCU.jpg?p=medium600

 


Arabian Leopard Cubs

 

Arabian Leopard Cubs
Arabian Leopard Cubs

 

Arabian Leopard Cubs
Arabian Leopard Cubs

 

Arabian Leopard Cubs
Arabian Leopard Cubs

Source : โครงการเพาะพันธุ์เสือดาวอาระเบียเพื่อการอนุรักษ์ของราชกรรมาธิการอัลอูลา ต้อนรับสมาชิกใหม่ "ลูกเสือดาว 7 ตัว"

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles