หัวเว่ยชูศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัล หวังใช้ยกระดับกำลังไฟฟ้า

เดวิด ซัน (David Sun) รองประธานของหัวเว่ย (Huawei) และซีอีโอหน่วยธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังไฟฟ้าของหัวเว่ย

เซินเจิ้น, จีน–13 พ.ย. 2566—พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางดิจิทัลจำเป็นต้องสร้างขีดความสามารถหลัก ๆ อย่างเป็นระบบ โดยการยกระดับพลังการประมวลผลและความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งสร้างระบบไฟฟ้าใหม่

1. สร้างระบบไฟฟ้าใหม่ โดยเน้นกำลังไฟฟ้าและพลังประมวลผล

พลังงานใหม่จะเข้ามาพลิกโฉม ลักษณะ และกลไกระบบไฟฟ้าแบบเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง โดยการพัฒนาและนำระบบจ่ายไฟ กริด โหลด และจัดเก็บมาใช้นั้นทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลทั่วไปไปจนถึงการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ (AI) และจากการประมวลผลจุดเดียวไปเป็นการประมวลผลร่วมกันบนคลาวด์-เอดจ์-อุปกรณ์ สถาปัตยกรรมการประมวลผลที่เป็นระบบได้กลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดความชาญฉลาดทางดิจิทัลและตักตวงประโยชน์ที่ได้ เรานำรูปแบบการควบคุมดูแลที่พบได้ทั่วไปในองค์กรพลังงาน มาพัฒนาต่อยอดจนได้สถาปัตยกรรมสปาร์ค (Spark) ที่คลาวด์-เอดจ์-อุปกรณ์ทำงานร่วมกัน สถาปัตยกรรมนี้ช่วยให้บริษัทด้านพลังงานสร้างสำนักงานใหญ่ที่เป็นมืออาชีพและมุ่งเน้นการบริการ ระบบธุรกิจแบบรวมศูนย์ และไซต์งานที่ไม่มีพนักงาน/หรือมีพนักงานน้อยที่สุดได้

2. การันตีส่งกำลังได้อย่างทรงพลัง

การส่งไฟฟ้าเป็นกุญแจสำคัญในการสื่อสาร โดยเราจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการส่งไฟฟ้าให้ล้ำหน้ามากกว่าเดิมยิ่งเร็วได้ก็ยิ่งดี เพราะเราจำเป็นต้องนำหน้าหนึ่งก้าวอยู่เสมอ ในเวลาเดียวกัน เราจำเป็นต้องค้นหาเทคโนโลยีการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย

เราจะสัมผัสความชาญฉลาดเพียงปลายนิ้วได้ก็ต่อเมื่อการเชื่อมต่อมีความปลอดภัย ลื่นไหล และเรียกใช้ได้ตามต้องการในทุกแง่มุมเท่านั้น

3. นวัตกรรมเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม แบบจำลอง และระบบนิเวศมีบทบาทสำคัญ

นวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม: จากสถาปัตยกรรมอ้างอิงในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในองค์กรไปจนถึงสถาปัตยกรรมทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการประมวลผลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายการสื่อสารเป้าหมาย นวัตกรรมจะต้องแทรกซึมทุกชั้น

นวัตกรรมแบบจำลอง: การพัฒนาธุรกิจบูรณาการและเทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้เราเชื่อมช่องว่างระหว่างธุรกิจกับเทคโนโลยีดิจิทัลได้ นำความสำเร็จที่ผ่านมาให้เกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต และช่วยให้บริษัทพลังงานเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลในขณะที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานด้วยข้อมูลใหม่ ๆ ลดอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมกระตุ้นและนำพลังสร้างสรรค์ของพนักงานทุกคนมาใช้

นวัตกรรมระบบนิเวศ: โหมดคอสตาริกาแบบเปิดที่เสนอโดยเจมส์ มัวร์ (James Moor) เหมาะกับอุตสาหกรรมนี้มากกว่ามาก โดยโมเดลระบบนิเวศแบบเปิดช่วยให้ทุกคนได้ปลดปล่อยและแบ่งปันจุดแข็งของตนได้ ขณะเดียวกันก็แบ่งปันขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและข้ามอุตสาหกรรมระหว่างผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดได้ด้วย

สถานการณ์ทางดิจิทัลมีบริษัทพลังงาน คลังสมอง และองค์กรอุตสาหกรรมเป็นผู้กำหนด การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นโครงการที่เป็นระบบ ซึ่งไม่เพียงต้องอาศัยผู้ให้บริการโซลูชันและผู้รวมระบบที่มีความสามารถเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยผู้จำหน่ายและพันธมิตรด้านไอซีทีด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนมีบทบาทในแคมเปญที่ท้าทายนี้

ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งวางรากฐานสร้างดิจิทัล ไชน่า (Digital China) และมอบทางเลือกที่ดีงามเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง (One More Beautiful Choice) ให้กับโลกใบนี้ โดยมุ่งพัฒนาสิ่งที่เราเชี่ยวชาญในแวดวงดิจิทัล และทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าของพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/industries/grid 

ติดต่อ: [email protected] 

 

Source : หัวเว่ยชูศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัล หวังใช้ยกระดับกำลังไฟฟ้า

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles