ผลสำรวจชี้ หญิงไทยและอินโดนีเซียกว่า 86% มีแนวโน้มเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียหลังทราบข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ

ผู้หญิงไทย (91.2%) และอินโดนีเซีย (86.6%) พิจารณาเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียหลังทราบข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 84.5%

กรุงเทพ, 17 พ.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของไทยพบว่า ประชากรไทยราว 18-24 ล้านคน หรือ 30-40% มียีนพาหะธาลัสซีเมีย โดยผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงปานกลางต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการถ่ายเลือดและคีเลชันบำบัดเพื่อขจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากเลือด

เพื่อช่วยให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรมของฮีโมโกลบินนี้ บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) จึงเผยแพร่รายงานสถานะความตระหนักรู้โรคธาลัสซีเมีย รายงานนี้ประเมินระดับความรู้และทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย และการให้คำปรึกษาด้านพันธุกรรมสำหรับผู้เป็นพาหะ ครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงจำนวน 1,847 คนจาก 6 ประเทศที่มีความชุกของธาลัสซีเมียสูง ประกอบด้วยอาเซอร์ไบจาน, จีน, อินโดนีเซีย, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย และไทย

ผลการสำรวจชี้ว่า หญิงไทย (91.2%) และอินโดนีเซีย (86.6%) พิจารณาเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียหลังทราบเรื่องความเสี่ยงด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 84.5% หากคู่รักทั้งสองเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หญิงไทยจำนวน 72.5% และหญิงอินโดนีเซียจำนวน 58.9% มั่นใจว่าจะสามารถชักชวนคู่ครองให้เข้ารับคำปรึกษาด้านพันธุกรรมและการวินิจฉัยตัวอ่อนเพื่อหยุดโรคทางพันธุกรรม (PGD) ได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่เด็กจะปลอดภัยจากธาลัสซีเมีย

หลังจากทราบความเสี่ยงและค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกับโรคธาลัสซีเมียตลอดชีวิตที่สูงแล้วทัศนคติของคุณและคู่ของคุณเปลี่ยนไปอย่างไร
หลังจากทราบความเสี่ยงและค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกับโรคธาลัสซีเมียตลอดชีวิตที่สูงแล้วทัศนคติของคุณและคู่ของคุณเปลี่ยนไปอย่างไร

ผลการสำรวจเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับความตระหนักรู้ จัดการกับอุปสรรค และเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองธาลัสซีเมีย:

คนส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับธาลัสซีเมีย: ผู้หญิงกว่า 70.5% ยังมีความรู้เกี่ยวกับอาการธาลัสซีเมียและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก ขณะที่อีก 14.4% ระบุว่าตนไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับธาลัสซีเมียมาก่อน

ความเต็มใจที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียหลังทราบข้อมูลเพิ่มเติม: หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษาตลอดชีวิตที่สูงมากของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ประชากรหญิงกว่า 84.5% ยินดีเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียบางรูปแบบมากขึ้น (การตรวจก่อนสมรส ก่อนตั้งครรภ์ และก่อนคลอด)

การเข้าถึงการตรวจคัดกรอง: โรงพยาบาลหรือหน่วยงานใกล้เคียงที่ให้บริการตรวจคัดกรอง (43.1%) ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง (38.1%) และการตรวจคัดกรองก่อนแต่งงานหรือมีลูก (35.3%) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเต็มใจในการเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย

ผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียเต็มใจเข้ารับคำปรึกษาด้านพันธุกรรมมากกว่า: หากคู่สมรสทั้งสองเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ประชากรหญิงกว่า 50.8% มั่นใจว่าจะสามารถชักชวนคู่ของตนให้เข้ารับคำปรึกษาด้านพันธุกรรมและพิจารณาเข้ารับการวินิจฉัยตัวอ่อนเพื่อหยุดโรคทางพันธุกรรมได้ และหากฝ่ายหญิงได้รับข้อมูลเกี่ยวกับธาลัสซีเมียจากโครงการสร้างความตระหนักด้านสุขภาพแล้ว ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 59.5%

หากคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ คุณสามารถชักชวนคู่ของคุณ เข้ารับคำปรึกษาทางพันธุกรรมและการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ (PGD) ได้หรือไม่
หากคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ คุณสามารถชักชวนคู่ของคุณ เข้ารับคำปรึกษาทางพันธุกรรมและการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ (PGD) ได้หรือไม่

ดร. จือยฺวี่ เผิง (Zhiyu Peng) รองผู้จัดการทั่วไปของบีจีไอ จีโนมิกส์ กล่าวว่า "การสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างความตระหนักรู้และการเข้าถึงข้อมูลเป็นก้าวแรกที่สำคัญในโครงการควบคุมธาลัสซีเมีย โปรแกรมคัดกรองและรักษาเฉพาะภูมิภาคที่ได้รับการปรับแต่งให้สอดคล้องกับทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพในท้องถิ่นและคุณค่าทางวัฒนธรรม ยังเป็นส่วนสำคัญในการระบุผู้ป่วยและพาหะของโรคธาลัสซีเมียอีกด้วย"

ดร. แอนดรูลา เอเลฟเธอริโอว (Androulla Eleftheriou) กรรมการบริหารประจำสมาพันธ์ธาลัสซีเมียนานาชาติ ให้ความเห็นว่า "การเสริมสร้างความตระหนักรู้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแต่ละบุคคลและการปฏิรูปนโยบาย นำไปสู่การยกระดับการป้องกัน ควบคุม และการจัดการโรคธาลัสซีเมีย บริการคัดกรองซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการควบคุมระดับชาติที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องพิจารณาถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสังคม เรายินดีกับความพยายามของบีจีไอ จีโนมิกส์ และยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของเราในการขยายความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในระดับโลก"

อ่านรายงานสถานะความตระหนักรู้โรคธาลัสซีเมียประจำปี 2566 โดยบีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics State of Thalassemia Awareness Report 2023) ฉบับเต็มได้ที่ https://cutt.ly/PwYL7HYI

เกี่ยวกับบีจีไอ จีโนมิกส์ และการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย

บีจีไอ จีโนมิกส์ (BGI Genomics) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการชั้นนำระดับโลก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 บีจีไอ จีโนมิกส์ (300676.SZ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บีจีไอ กรุ๊ป (BGI Group) ได้จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้นอย่างเป็นทางการ

บริษัทเป็นผู้บุกเบิกบริการทดสอบพันธุกรรมธาลัสซีเมียโดยใช้เทคโนโลยีระบุรหัสสารพันธุกรรม (NGS) ตั้งแต่ปี 2556 การขยายความพร้อมของการทดสอบทางพันธุกรรมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคธาลัสซีเมีย

 

Source : ผลสำรวจชี้ หญิงไทยและอินโดนีเซียกว่า 86% มีแนวโน้มเข้ารับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียหลังทราบข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles