ปักกิ่ง–21 พฤศจิกายน 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานโดยไชน่า เดลี (China Daily)
jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2281372/video.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2281372/video.mp4?p=medium’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});
ศาสตราจารย์ มันซูร์ ฮุสเซน ซูมโร (Manzoor Hussain Soomro) วัย 67 ปี ได้ให้สัมภาษณ์ต่อหน้ากล้องเกี่ยวกับบทบาทของเยาวชนภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) เขากวาดสายตามองดูทีมงานอาสาสมัครด้วยแววตาเป็นประกาย พร้อมกับกล่าวว่า "พวกเขาคืออนาคต พวกเขามีความกระตือรือร้นมากกว่าคนรุ่นเรา และปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มากกว่าเรา พวกเขาคือผู้นำโลกในอนาคต"
นับเป็นครั้งที่ 7 แล้วที่ศาสตราจารย์ซูมโรได้เข้าร่วมค่ายพัฒนาเยาวชนและการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Teenager Maker Camp and Teacher Workshop) โดยเขารู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นตั้งใจของเหล่าครูและนักเรียนจากอาเซอร์ไบจาน อิหร่าน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ปากีสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ตลอดจนอาสาสมัครชาวจีนที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในงานนี้ ซึ่งจัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงพลังความหนุ่มสาวออกมา เพราะการพัฒนาคนเก่งอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ทางรถไฟ ถนน และสะพาน นำไปสู่การพัฒนาคนรุ่นใหม่
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทรงพลังมาก ดังนั้น ประเทศที่คนหนุ่มสาวยังไม่เก่งเรื่องการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือเพื่อตามให้ทัน" ศาสตราจารย์ซูมโรกล่าว โดยครูชาวปากีสถานผู้นี้มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างพันธมิตรข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ในฐานะที่เขาดำรงตำแหน่งรองประธานกลุ่มความร่วมมือด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์นานาชาติสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road International Science Education Consortium หรือ BRISEC) และได้รับรางวัลแห่งมิตรภาพจากรัฐบาลจีนในปี 2563
ศาสตราจารย์ซูมโรกล่าวว่า ปากีสถานซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขา คือห้องทดลองโครงการความร่วมมือมากมายระหว่างจีนกับพันธมิตรข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขาได้เห็นทางรถไฟ ทางหลวง สะพาน เขื่อน และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มากมายเกิดขึ้นในปากีสถาน อันเป็นผลมาจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับจีน โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ชาวปากีสถานจำนวนมากก็ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ จากนั้นก็ได้รับการฝึกอบรมให้เป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิคที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการหยิบยื่นโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ให้แก่คนหนุ่มสาวในประเทศกำลังพัฒนา) ปัจจุบัน การฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง กำลังดำเนินไปตามกำหนดและให้ผลลัพธ์ที่โดดเด่นเป็นที่น่าพอใจ
วัยรุ่นที่เติบโตมาจากหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
ศาสตราจารย์ซูมโรเติบโตมาอย่างยากจนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของปากีสถาน ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
พ่อของเขาเป็นเกษตรกรที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบ แต่เลี้ยงลูกชายได้อย่างชาญฉลาดด้วยการส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและการสำรวจโลกของวิทยาศาสตร์ รวมถึงดาราศาสตร์
เมื่อครั้งที่เป็นนักเรียน ศาสตราจารย์ซูมโรมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นจากความยากจน เขารักวิทยาศาสตร์และศึกษาอย่างจริงจัง จนตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารและการศึกษาที่มีต่อการเติบโตของแต่ละบุคคล หลังจากชนะการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์หลายรายการ เขาก็ได้รับทุนการศึกษาประธานาธิบดีปากีสถาน และได้เดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่สหราชอาณาจักร เขาค่อย ๆ ก้าวขึ้นสู่เวทีระดับนานาชาติ และมีส่วนร่วมในความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ
เทคโนโลยีช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงการศึกษา
ด้วยประสบการณ์การทำงานกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์กรอื่น ๆ ทำให้ศาสตราจารย์ซูมโรตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ในอดีตนั้น โรงเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกลมักมีบุคลากรและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะวิชาอย่างฟิสิกส์ ขณะที่ครูมักไม่ได้รับการอบรมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาด้อยกว่าโรงเรียนในเมืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่การศึกษาทางไกลและการร่วมมือกับครูภายนอกช่วยปรับปรุงการศึกษาในพื้นที่ยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่อาจทดแทนการสอนสดแบบเห็นหน้ากันได้
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ซูมโรกล่าวว่า การเรียนรู้เฉพาะบุคคลกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยมีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในห้องเรียนแบบดั้งเดิม เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับจังหวะและความยากในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง ขณะที่ผู้ทุพพลภาพและผู้ที่ใช้ภาษาอื่นก็ไม่ถูกกีดกันจากการศึกษาอีกต่อไป
"คนหนุ่มสาวสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ใช่เอาแต่แข่งขันและเปรียบเทียบกัน" ศาสตราจารย์ซูมโรกล่าว "อนาคตของการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่ก็คาดเดาได้ว่าความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ การปรับตัว และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คือสิ่งจำเป็นที่คนหนุ่มสาวต้องมี"
ในค่ายพัฒนาเยาวชนซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีนร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น เขาคาดหวังให้คนหนุ่มสาวค้นพบจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ค้นพบตัวเอง และเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นไปพร้อมกับการไล่ตามความฝันของตนเอง ซึ่งความคิดของเขาสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง นั่นคือ การดึงเอาจุดแข็งของแต่ละคนออกมา เพื่อบรรลุการเติบโตที่ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน
Source : ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเผยแวดวงวิทยาศาสตร์พร้อมมอบโอกาสมากมายให้เยาวชน
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network