การประชุมว่าด้วยการทำความเข้าใจประเทศจีน ประจำปี 2566: ความท้าทายและโอกาสในการบอกเล่าเรื่องราวของจีน

  • นายซุย เทียนข่าย อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกา ร่วมถกประเด็นความสัมพันธ์จีน-สหรัฐอเมริกาในเชิงความคิดและเชิงเล่าเรื่อง
  • ศาสตราจารย์ หวง เหรินเว่ย รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน และกรรมการบริหารของสถาบันสายแถบและเส้นทางและธรรมาภิบาลโลกแห่งมหาวิทยาลัยฟูตัน กล่าวว่า การจากไปของนายเฮนรี อัลเฟรด คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้จุดประกายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคใหม่

กว่างโจว, จีน–12 ธันวาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

การประชุมว่าด้วยการทำความเข้าใจประเทศจีน (Understanding China Conference) โดยสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Institute for Innovation & Development Strategy) ได้จัดขึ้น ณ นครกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในหัวข้อ "ความพยายามครั้งใหม่ของจีนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน การบรรจบกันของผลประโยชน์และการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน" ทั้งนี้ ในระหว่างงานเลี้ยงอาหารกลางวันได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดยนายซุย เทียนข่าย (Cui Tiankai) ที่ปรึกษาสภาสถาบันกิจการต่างประเทศของสภาประชาชนจีน และอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกา โดยประธานของงานเลี้ยงดังกล่าวคือนายเจิ้ง หยงเหนียน (Zheng Yongnian) ประธานสถาบันวิจัยเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าแห่งนครกว่างโจว (Guangzhou Guangdong Hong Kong Macao Greater Bay Area Research Institute) และหัวหน้าสถาบันวิจัยกิจการระหว่างประเทศเฉียนไห่ (Qianhai International Affairs Research Institute) มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (เซินเจิ้น)

https://static.prnasia.com/pro/fec/jwplayer-7.12.1/jwplayer.js jwplayer.key=”3Fznr2BGJZtpwZmA+81lm048ks6+0NjLXyDdsO2YkfE=”

 

jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2296392/video.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2296392/video.mp4?p=medium’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});

นายซุย เทียนข่าย ได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการบอกเล่าเรื่องราวของจีนอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อนำเสนอแก่นแท้ของจีน พร้อมกับเน้นย้ำถึงความเข้าใจผิดในวงกว้างเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของจีน ได้แก่ เจตจำนงเชิงยุทธศาสตร์ระดับโลกของจีน นโยบายต่างประเทศรอบนอกของจีน และรูปแบบการทูตของจีน โดยเขาได้เลือก "ซุนหงอคง" เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรูปแบบการทูตของจีน ซึ่งโดดเด่นในด้านความซื่อสัตย์ ความแน่วแน่ การแยกแยะดีชั่ว ความสามารถ และแง่มุมทางวัฒนธรรมจีนที่เด่นชัด

https://static.prnasia.com/pro/fec/jwplayer-7.12.1/jwplayer.js jwplayer.key=”3Fznr2BGJZtpwZmA+81lm048ks6+0NjLXyDdsO2YkfE=”

 

jwplayer(‘myplayer2’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2296393/Video2.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2296393/Video2.mp4?p=medium’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ก่อนที่การประชุมครั้งนี้จะเปิดฉากขึ้น นายเฮนรี อัลเฟรด คิสซิงเจอร์ (Henry Alfred Kissinger) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้ถึงแก่กรรม

"หลายคนกล่าวถึงและยกย่องเขาในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ เขาเป็นที่รู้จักเพราะมีความสนใจอย่างจริงจังในเรื่องของเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์ระดับโลก และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านภาวะผู้นำโลก" ศาสตราจารย์ หวง เหรินเว่ย (Huang Renwei) รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Institute for Innovation & Development Strategy) และกรรมการบริหารของสถาบันสายแถบและเส้นทางและธรรมาภิบาลโลกแห่งมหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan Institute for Belt and Road and Global Governance) กล่าว

"การจากไปของคุณคิสซิงเจอร์เป็นการเปิดบทใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คุณคิสซิงเจอร์เคยกล่าวอยู่บ่อยครั้งว่า การเยือนจีนแต่ละครั้งนำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกและความรู้ใหม่ ๆ เขาคือสัญลักษณ์ของยุคสมัย ทว่าการจากไปของเขาไม่ได้ทำให้ยุคสมัยสิ้นสุดลง แต่กลับเป็นการจุดประกายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคใหม่"

Source : การประชุมว่าด้วยการทำความเข้าใจประเทศจีน ประจำปี 2566: ความท้าทายและโอกาสในการบอกเล่าเรื่องราวของจีน

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles