โครงการเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์: การค้นพบเศษวัตถุ 25,000 ชิ้นที่มีอายุตั้งแต่สมัยอิสลามตอนต้น

เจดดาห์, ซาอุดีอาระเบีย, 6 กุมภาพันธ์ 2567 /PRNewswire/ — โครงการเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์ (Jeddah Historic District Program) ร่วมกับ คณะกรรมการมรดกชาติ (Heritage Commission) ประกาศค้นพบชิ้นส่วนสิ่งประดิษฐ์จำนวน 25,000 ชิ้น ซึ่งชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุตั้งแต่สองศตวรรษแรกของฮิจเราะห์ศักราช (ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8) งานภาคสนามได้ดำเนินการในสถานที่ 4 แห่ง: มัสยิดโอธมาน บิน อัฟฟาน (Othman bin Affan Mosque – ขออัลลอฮ์ทรงเมตตา), อัล-โชนา (Al-Shona), คูเมืองฝั่งตะวันออก (Eastern Moat) และส่วนหนึ่งของกำแพงทางตอนเหนือ (Northern Wall) ภายใต้กรอบของโครงการโบราณคดี (Archeology Project) ซึ่งอยู่ในความดูแลของโครงการเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์

7th-8th century AD ebony pillar during conservation in the laboratory of JHD's General Department of Archaeology.
7th-8th century AD ebony pillar during conservation in the laboratory of JHD’s General Department of Archaeology.

การประกาศการค้นพบทางโบราณคดีครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในโครงการฟื้นฟูประวัติศาสตร์เจดดาห์ ซึ่งริเริ่มโดยมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ (Mohammed bin Salman bin Abdulaziz) โครงการโบราณคดีดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์โบราณวัตถุและแหล่งโบราณคดีของชาติ เปิดเผยประวัติศาสตร์ที่ฝังอยู่ในดินแดนของราชอาณาจักร และสนับสนุนเมืองเจดดาห์ในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเพื่อบรรลุนโยบายปฎิรูปประเทศ Saudi Vision (2030)

การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีซึ่งดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบเศษเครื่องปั้นดินเผา 11,405 ชิ้น หนัก 293 กก. กระดูกสัตว์ 11,360 ชิ้น หนัก 107 กก. เปลือกหอย 1,730 ชิ้น หนัก 32 กก. นอกจากนี้ ยังพบวัสดุก่อสร้าง 685 ชิ้นซึ่งมีน้ำหนัก 87 กก. รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากแก้ว 187 ชิ้นซึ่งมีน้ำหนัก 5 กก. และสิ่งประดิษฐ์โลหะ 71 ชิ้น หนัก 7 กก. โดยน้ำหนักรวมของวัตถุทางโบราณคดีที่พบคือ 531 กก. ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการค้นพบทางโบราณคดีของซาอุดีอาระเบีย

การสำรวจทางโบราณคดีในมัสยิดโอธมาน บิน อัฟฟาน – ขออัลลอฮ์ทรงเมตตา – เผยให้เห็นการค้นพบทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสองศตวรรษแรกของฮิจเราะห์ศักราช (ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8) ผ่านยุคอิสลามตอนต้น, ยุคอุมัยยะฮ์, ยุคอับบาซียะห์ ต่อด้วยยุคมัมลูก และเข้าสู่ยุคปัจจุบัน (กล่าวคือ ต้นศตวรรษที่ 15 ของฮิจเราะห์ศักราช / คริสต์ศตวรรษที่ 21) นอกจากนี้ การตรวจสอบซึ่งดำเนินการกับเสาไม้มะเกลือที่พบบริเวณด้านข้างของเมียะห์รอบ (Mihrab) โพรงในกำแพงของมัสยิดซึ่งหันไปทางนครมักกะฮ์ เผยให้เห็นว่าเสาไม้เหล่านี้น่าจะมีอายุย้อนกลับไปในช่วงสองศตวรรษแรกของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8) โดยแหล่งกำเนิดของไม้มะเกลือได้รับการระบุว่ามาจากเกาะซีลอนในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงทางการค้าอันกว้างขวางของประวัติศาสตร์เจดดาห์

นอกจากนี้ ชิ้นส่วนของสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบในมัสยิดโอธมาน บิน อัฟฟาน ยังมีภาชนะเซรามิกหลากหลายชิ้น ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องลายครามคุณภาพสูง ซึ่งในจำนวนนี้มีบางชิ้นที่ผลิตในมณฑลเจียงซีของจีน ซึ่งอาจมีอายุย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 10 และ 13 ของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19) เช่นเดียวกับเศษเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่บางชิ้นที่มีอายุย้อนกลับไปถึงยุคอับบาซียะห์

ในขณะที่อัล-โชนามีอายุย้อนกลับไปอย่างน้อยถึงศตวรรษที่ 13 ของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 19) โดยมีข้อบ่งชี้ของซากทางโบราณคดีที่อาจเก่าแก่เท่ากับศตวรรษที่ 10 ของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 16) พบเศษเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องลายครามและเซรามิกอื่น ๆ จากยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 13 และ 14 ของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20)

ยิ่งไปกว่านั้น การขุดค้นที่อัล-คิดวาห์ (Al-Kidwah) หรือ "บับมักกะฮ์" – ประตูมักกะฮ์ ("Bab Makkah" – Makkah gate) เผยให้เห็นบางส่วนของคูเมืองฝั่งตะวันออกซึ่งน่าจะมีอายุย้อนกลับไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ของฮิจเราะห์ศักราช (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18)

มีการพบศิลาหน้าหลุมฝังศพจากหินแมงกาโนแคลไซต์ (Mangabi), หินอ่อน และหินแกรนิต ณ สถานที่ต่าง ๆ ในเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์ ซึ่งมีชื่อ ข้อความรำลึก และโองการต่าง ๆ ของอัลกุรอานจารึกไว้ โดยน่าจะมีอายุย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 2 และ 3 ของฮิจเราะห์ศักราช (คริสต์ศตวรรษที่ 8 และ 9) และยังอยู่ระหว่างการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญ

การศึกษาทางโบราณคดีของโบราณสถานทั้งสี่แห่ง ประกอบด้วย การขุดค้น การวิเคราะห์คาร์บอนกัมมันตรังสี การวิเคราะห์ดิน การสำรวจธรณีฟิสิกส์ และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบ นอกจากนี้ ยังมีการเก็บตัวอย่างไม้มากกว่า 250 ตัวอย่างจากอาคาร 52 หลังและย้ายไปศึกษาในห้องปฏิบัติการเฉพาะทางระหว่างประเทศเพื่อระบุแหล่งที่มาและอายุขัย ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยเอกสารสำคัญระดับนานาชาติยังส่งผลให้มีการรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์มากกว่า 984 รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เจดดาห์ อันได้แก่ แผนที่ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงภาพวาดของกำแพงเมืองเจดดาห์ (Jeddah City Wall), อัล-โชนา และส่วนอื่น ๆ ของสถานที่ทางประวัติศาสตร์เจดดาห์  (Historic Jeddah) ซึ่งได้รับการศึกษาอย่างละเอียดและจริงจัง

โครงการเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์ ร่วมกับ คณะกรรมการมรดกชาติ ดูแลการจัดทำเอกสาร การลงทะเบียน และการอนุรักษ์วัตถุทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในสถานที่ทางประวัติศาสตร์เจดดาห์ และลงรายการการค้นพบไว้ในทะเบียนโบราณคดีแห่งชาติ (National Archaeological Register) นอกจากนี้ ยังมีการสร้างฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันและรักษารายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบ ทั้งนี้ เอกสารทางโบราณคดีและภาพถ่ายสำหรับจัดเก็บในจดหมายเหตุนั้น ดำเนินการโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับชาติซึ่งชำนาญด้านการอนุรักษ์และขึ้นทะเบียนชิ้นส่วนทางโบราณคดี

การดำเนินงานของโครงการประวัติศาสตร์เจดดาห์เริ่มต้นในเดือนที่ห้าของปฏิทินอิสลาม หรือ ญุมาดะ อัลเอาวัล (Jumada Al-Awwal) ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม 2563 โดยมีการเตรียมงานด้านการศึกษาเชิงสำรวจและการสำรวจธรณีฟิสิกส์เพื่อเปิดเผยประวัติศาสตร์ที่ฝังอยู่ในสถานที่ทั้งสี่แห่ง ได้แก่ มัสยิดโอธมาน บิน อัฟฟาน, อัล-โชนา, ส่วนหนึ่งของกำแพงทางตอนเหนือ และอัล-คิดวาห์

ลิงก์รูปภาพที่แนบมา
https://www.dropbox.com/scl/fo/qvtnekex0tee6izeu76vc/h?rlkey=2tg2710nmee4hchlecezq2fiq&dl=0

 

Aerial view of the excavated segment of the north fortification wall of historic Jeddah.
Aerial view of the excavated segment of the north fortification wall of historic Jeddah.

 

Examples of imported Chinese ceramic sherds found during archaeological excavations in historic Jeddah.
Examples of imported Chinese ceramic sherds found during archaeological excavations in historic Jeddah.

 

Iron round shot (cannonball) during conservation in the laboratory of JHD's General Department of Archaeology
Iron round shot (cannonball) during conservation in the laboratory of JHD’s General Department of Archaeology

 

Painted incense burner after the completion of restoration carried out in the laboratory of JHD's General Department of Archaeology.
Painted incense burner after the completion of restoration carried out in the laboratory of JHD’s General Department of Archaeology.

 

View of the interior of al Shona showing archaeological remains belonging to various historic phases.
View of the interior of al Shona showing archaeological remains belonging to various historic phases.

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333785/JHD_Ebony_pillar.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333786/Historic_Jeddah.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333787/JHD_Chinese_ceramic.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333789/JHD_Iron.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333790/JHD_Incense_burner.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2333791/al_Shona.jpg?p=medium600

Source : โครงการเขตประวัติศาสตร์เจดดาห์: การค้นพบเศษวัตถุ 25,000 ชิ้นที่มีอายุตั้งแต่สมัยอิสลามตอนต้น

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles