ปอร์โต, โปรตุเกส, 21 กุมภาพันธ์ 2567 /PRNewswire/ — ทีมนักวิจัยจากเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และนอร์เวย์ คว้ารางวัล ไบอัล อวอร์ด ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (BIAL Award in Biomedicine) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมูลนิธิไบอัล (BIAL Foundation) พร้อมเงินรางวัล 300,000 ยูโร เพื่อยกย่องผลงานตีพิมพ์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีคุณภาพโดดเด่นและมีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
Lead researchers of the winning team of the BIAL Award in Biomedicine 2023 promoted by the BIAL Foundation. Photo credits: Thomas Kuner – Hendrik Schröder, Heidelberg University Hospital; Frank Winkler – berlin-event-foto.de; Varun Venkataramani – Carina Kircher and Gerald Bendner.
ทีมนักวิจัยนำโดยคุณวรุณ เวนกาตามานี (Varun Venkataramani) (ผู้นิพนธ์หลัก), คุณแฟรงก์ วิงเคลอร์ (Frank Winkler) และคุณโธมัส คูเนอร์ (Thomas Kuner) (ผู้นิพนธ์ร่วมอาวุโส) จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในเยอรมนี ในงานวิจัยเรื่อง "การส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับกลูตาเมตไปยังไกลโอมาช่วยกระตุ้นการลุกลามของเนื้องอกในสมอง" (Glutamatergic synaptic input to glioma cells drives brain tumour progression) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ (Nature) เมื่อปี 2562 แสดงถึงการค้นพบครั้งสำคัญในการทำความเข้าใจโรคมะเร็งในมนุษย์ โดยเฉพาะไกลโอมาซึ่งเป็นเนื้องอกในสมองที่มีความรุนแรงมาก โดยผู้ป่วยจะมีระยะเวลารอดชีวิตเฉลี่ยเพียง 1.5 ปี แม้จะได้รับการรักษาที่ทันสมัยก็ตาม
ในงานวิจัยนี้ ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นว่าไกลโอมาสามารถรวมตัวเองเข้ากับการทำงานของสมองได้ ส่งผลให้การส่งสัญญาณจากเซลล์สมองที่แข็งแรง ซึ่งปกติแล้วจะถูกใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่นการคิดและความจำ กลับเพิ่มการลุกลามของเนื้องอกในสมอง
คุณราล์ฟ อดอล์ฟส์ (Ralph Adolphs) ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล กล่าวว่า "การค้นพบเหล่านี้เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่น่าตื่นเต้นในการทำความเข้าใจว่ามะเร็งสมองนั้นลุกลามได้อย่างไร และยังอธิบายถึงช่องทางการสื่อสารใหม่ระหว่างเซลล์ประสาทกับเนื้องอก รวมถึงแนะนำช่องทางเฉพาะสำหรับการรักษา"
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เซลล์มะเร็งไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มจำนวนได้เท่านั้น แต่ยังแย่งชิงกระบวนการทำงานของร่างกายที่ปกติดี เพื่อรวมตัวเข้ากับการทำงานปกติของเนื้อเยื่อ โดยคุณราล์ฟ กล่าวเสริมว่า "ไม่มีที่ใดที่ชัดเจนและน่าประหลาดใจไปกว่าเนื้องอกในสมองที่ปรากฏอยู่ในงานวิจัยนี้"
นอกจากนี้ งานวิจัยยังมอบคำอธิบายใหม่ว่าเหตุใดโรคลมชักและการลุกลามของเนื้องอกจึงมักเกิดคู่กันบ่อยครั้ง โดยระบุว่าโรคลมชักอาจเป็นสาเหตุ มากกว่าผลที่ตามมาของการลุกลามของเนื้องอก
งานวิจัยฉบับนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการคัดเลือกงานวิจัยที่ถูกเสนอชื่อรวมกว่า 70 ชิ้น เป็นงานวิจัยที่ร่วมนิพนธ์โดยนักวิจัย 29 รายจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก, ศูนย์วิจัยมะเร็งเยอรมัน, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมันไฮม์, มหาวิทยาลัยออตโต วอน เกฮิเกอร์ (เยอรมนี), คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (สหรัฐอเมริกา), มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (สหราชอาณาจักร), มหาวิทยาลัยเบอร์เกน และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยฮอคแลนด์ (นอร์เวย์)
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์สองรายที่ได้รับรางวัลนี้ในปี 2564 ได้แก่คุณคาตาลิน คาริโค (Katalin Karikó) และคูนดรูว์ ไวซ์แมน (Drew Weissman) ยังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี 2566 จากการค้นพบที่ช่วยให้สามารถต่อยอดเป็นวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันโควิด-19 ขณะที่การมอบรางวัลครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2568
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2341755/BIAL_Foundation.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2337547/BIAL_Foundation_Logo.jpg?p=medium600
Source : สุดยอดงานวิจัยด้านเนื้องอกในสมองคว้ารางวัลไบอัล อวอร์ด พร้อมเงินรางวัล 300,000 ยูโร
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network