หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งสร้างรากฐานคลาวด์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบ

บาร์เซโลนา, สเปน, 28 กุมภาพันธ์ 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/

ในระหว่างการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันประจำปี 2567 ของหัวเว่ย (Huawei) ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา 2567 (MWC Barcelona 2024) คุณบรูโน จาง (Bruno Zhang) ซีทีโอของหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) กล่าวว่า "หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐานคลาวด์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเร่งความอัจฉริยะในอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบซึ่งครอบคลุมเอไอสำหรับคลาวด์ (AI for Cloud) และคลาวด์สำหรับเอไอ (Cloud for AI)"

Bruno Zhang, CTO of Huawei Cloud
Bruno Zhang, CTO of Huawei Cloud

เอไอสำหรับคลาวด์: พลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยโมเดลผานกู่ (Pangu)

โมเดลหัวเว่ยคลาวด์ผานกู่ ขับเคลื่อนการยกระดับอัจฉริยะของอุตสาหกรรมและการใช้งานคลาวด์

คุณจางอธิบายถึงวิธีการที่ลูกค้าโทรคมนาคมนำโมเดลการวิจัยและพัฒนาผานกู่ไปใช้ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโค้ดด้วยการสั่งเพียงครั้งเดียว และทดสอบโค้ดด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว โมเดลโทรคมนาคมผานกู่แก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดของเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติถึง 90% ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ขณะที่โมเดลเสมือนมนุษย์ผานกู่มีความแม่นยำในการขยับริมฝีปากตามเสียงถึง 95% สำหรับการบริการลูกค้าและการสตรีมสด และทั้งหมดนี้เป็นเพียงโมเดลบางส่วนเท่านั้น

คลาวด์สำหรับเอไอ: การแก้ปัญหาความท้าทายด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบ

เพื่อช่วยเหลือบริษัทโทรคมนาคมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์อัจฉริยะ หัวเว่ย คลาวด์ ได้มอบชุดโซลูชันที่ประกอบด้วยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบเอไอ บริการเกาส์ดีบี (GaussDB) การผสานรวมข้อมูลเอไอ และสถาปัตยกรรมชิงเทียน (QingTian) แบบกระจาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้และใช้งานบนคลาวด์ เครือข่าย เอดจ์ และอุปกรณ์

  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเอไอแบบเนทีฟ : แบนด์วิดท์สูง ความสามารถในการทำงานร่วมกันสูง และเวลาแฝงต่ำสำหรับโมเดลพื้นฐาน

การฝึกฝนโมเดลพื้นฐานจำเป็นต้องใช้ข้อมูลในระดับเอ็กซาไบต์ ซึ่งหัวเว่ย คลาวด์สามารถจัดการกับความต้องการนี้ได้อย่างง่ายดายด้วยแนวทางสามส่วน ส่วนแรกได้แก่บริการหน่วยความจำอีเอ็มเอส (EMS) ที่จัดเก็บพารามิเตอร์จำนวนหลายเพตะไบต์ด้วยแบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่พิเศษ 220 เทราไบต์พร้อมเวลาแฝงต่ำพิเศษในระดับไมโครวินาที ส่วนที่สองได้แก่บริการแคชเอสเอ็ฟเอส เทอร์โบ (SFS Turbo) ที่มอบปริมาณงานและการทำงานร่วมกันในระดับสูงด้วยจำนวนคำสั่งอ่าน/เขียนต่อวินาที (IOPS) ในอัตราหลักสิบล้านต่อวินาที ทำให้การบันทึกข้อมูลขนาด 1 พันล้านรายการไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเตรียมการที่ 100 ชั่วโมงอีกต่อไป แต่ลดเหลือเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนที่สามได้แก่คลังความรู้ที่สร้างขึ้นบนบริการพื้นที่จัดเก็บออบเจ็กต์ (Object Storage Service – OBS) ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลการฝึกฝนและการอนุมานลง 30%

  • เกาส์ดีบี: ฐานข้อมูลที่มั่นคงที่ช่วยให้บริษัทโทรคมนาคมประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เกาส์ดีบี เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายระดับองค์กรที่มีโหนดมากกว่า 100,000 โหนด รับประกันความสอดคล้องที่แข็งแกร่งแบบคลัสเตอร์คู่โดยปราศจากระยะเวลาที่ยอมให้ข้อมูลเสียหาย (RPO) เพื่อความพร้อมใช้งาน ได้รับการรับรองความปลอดภัย CC EAL4+ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม เกาส์ดีบีทำงานอัตโนมัติโดยมอบเครื่องมือแบบครบวงจรในการแปลงและย้ายซินแท็กซ์ทั่วไปกว่า 95%

  • แพลตฟอร์มผสานรวมข้อมูลเอไอ: รากฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งสำหรับโมเดลพื้นฐาน

เนื่องจากข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างแบบจำลองพื้นฐาน การพัฒนาโมเดลโทรคมนาคมจึงจำเป็นต้องทำให้ข้อมูลจากโดเมนบีเอสเอส (BSS), โอเอสเอส (OSS) และเอ็มเอสเอส (MSS) รวมเป็นแอ่งข้อมูลเดียวกัน แพลตฟอร์มผสานรวมข้อมูลเอไอของหัวเว่ยคลาวด์มอบพื้นฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งสำหรับโมเดลเหล่านี้ ระบบเลคฟอร์เมชัน (LakeFormation) ช่วยให้สามารถแชร์ข้อมูลสำเนาหนึ่ง ๆ ได้โดยไม่ต้องย้ายข้อมูล ขณะที่ดาต้าอาร์ตส สตูดิโอ (DataArts Studio) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เอไอได้รับข้อมูลคุณภาพสูงและเป็นไปตามข้อกำหนด ปิดท้ายด้วยการประสานกันของสามระบบ ได้แก่ดาต้าอาร์ตส (DataArts), โมเดลอาร์ตส (ModelArts) และโค้ดอาร์ตส (CodeArts) ที่จัดการและกำหนดเวลาข้อมูลและการทำงานของเอไอ เพื่อขับเคลื่อนการฝึกฝนโมเดลออนไลน์และการอนุมานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์

  • โมเดลการใช้งานมัลติคลาวด์แห่งแรกของอุตสาหกรรม และโซลูชันคลาวด์บนคลาวด์ (Cloud on Cloud) สำหรับผู้ให้บริการ

ความสามารถของโมเดลผานกู่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น และบริการคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยผานกู่ ถูกปรับแต่งสำหรับลูกค้าแต่ละรายเพื่อการปรับใช้ในระบบคลาวด์สาธารณะ คลาวด์เฉพาะ หรือคลาวด์แบบไฮบริด ตัวอย่างเช่น บริษัทโทรคมนาคมสามารถสร้างและรันแพลตฟอร์มเอไอรูปแบบเฉพาะ รวมถึงโมเดลพื้นฐานในศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้หัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งเป็นคลาวด์แบบไฮบริด

หัวเว่ย คลาวด์ ยังให้บริการคำปรึกษา การดำเนินงานแบบครบวงจร และบริการย้ายข้อมูลจุดเดียวผ่านโซลูชันคลาวด์บนคลาวด์

คุณจางยังกล่าวสรุปในช่วงท้ายถึงแนวทางในการบรรลุซึ่งความสำเร็จร่วมกันของหัวเว่ย คลาวด์ โดยระบุว่าเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันนั้นให้บริการผ่านเอพีไอกว่า 150,000 รายการ ขณะที่ประสบการณ์ที่มีร่วมกันนั้นมาจากการให้บริการลูกค้าทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านราย และระบบนิเวศที่ใช้ร่วมกันซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอคูแกลเลอรี (KooGallery) กว่า 10,000 รายการ ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างบริการแบบ B2B และคว้าโอกาสในการรักษาไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขัน

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรซ บาร์เซโลนา 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยในระหว่างงาน หัวเว่ยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันล่าสุดที่บูธ 1H50 ในฟิรา แกรน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) การเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปี 2567 ของหัวเว่ย ครอบคลุมความร่วมมือร่วมกับผู้ให้บริการและพันธมิตรทั่วโลก เพื่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านเครือข่าย คลาวด์ และความชาญฉลาด เราจะร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรือง เพื่อสร้างยุคใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ชาญฉลาด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024

 

 

Source : หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งสร้างรากฐานคลาวด์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบ

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles