รัฐบาลสหรัฐ ฟินแลนด์ และแคนาดาจัดหาเงินทุนให้แก่โรงงานผลิตออกซิเจนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองตาตูในเคนยา

โครงการนี้จะดำเนินการเพื่อป้องกันอัตราการเสียชีวิตของทารกและลดภาวะทารกเครียดในครรภ์ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก

เมืองตาตู เคนยา, 6 มีนาคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และแคนาดากำลังจัดหาเงินทุนให้แก่โรงงานผลิตออกซิเจนทางการแพทย์เพื่อสร้างความยั่งยืน สามารถเข้าถึงได้ และมีราคาเอื้อมถึง ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เมืองตาตู ที่เป็นเมืองใหม่ขนาด 5,000 เอเคอร์และอยู่ติดกับกรุงไนโรบี

เฮวาเทเล (Hewatele) ผู้ผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ในประเทศเคนยา ได้รับแพ็กเกจเงินช่วยเหลือ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ (U.S. International Development Finance Corporation หรือ DFC) ฟินน์ฟันด์ (Finnfund) กองทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโซรอส (Soros Economic Development Fund หรือ SEDF) ยูบีเอส ออปติมัส ฟาวด์เดชัน (UBS Optimus Foundation) และแกรนด์ ชาเลนเจส แคนาดา (Grand Challenges Canada)

ทั้งนี้ เฮวาเทเลจะใช้กองทุนรวมตราสารทุนและตราสารหนี้ที่ได้รับมาเพื่อเป็นเงินทุนในการสร้างโรงงานที่ใช้หน่วยแยกอากาศเพื่อผลิตออกซิเจนเหลวทางการแพทย์แบบความเย็นจัด (Cryogenic Medical Liquid Oxygen Air Separation Unit) แบบทันสมัยที่สวนอุตสาหกรรมตาตู โดยโรงงานแห่งนี้มีกำหนดเริ่มดำเนินงานในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2568 และจะเป็นโรงงานผลิตออกซิเจนเหลวที่ทันสมัยแห่งแรกในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก และช่วยจัดหาออกซิเจนเหลวสำหรับใช้ทางการแพทย์ ที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในสถานพยาบาลทั่วทั้งประเทศเคนยา ยูกันดาและตอนเหนือของแทนซาเนีย

"การลงทุนของเฮวาเทเลที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิและสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่มีอิทธิพลของโลก จะแสดงให้เห็นการปรับปรุงพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในประเทศเคนยาและทั่วทั้งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก" คุณเดวิด คาริมิ (David Karimi) รองหัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศเคนยาของบริษัทเรนเดเวอร์ (Rendeavour) ผู้เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาเมืองตาตูกล่าว

ดร. เบอร์นาร์ด โอลาโย (Dr. Bernard Olayo) ผู้ก่อตั้งเฮวาเทเล กล่าวว่า "โรงงานผลิตออกซิเจนทางการแพทย์แห่งนี้แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญเพื่อรับรองว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงออกซิเจนทางการแพทย์ได้อย่างยั่งยืนในราคาที่จับต้องได้ โดยความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นของโรงงานแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ในเมืองตาตู จะช่วยให้ออกซิเจนมีราคาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของมารดาและเด็ก และช่วยยกระดับบริการดูแลสุขภาพระดับพื้นฐานให้ดีขึ้น"

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของเคนยา ความต้องการออกซิเจนทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ที่เกิดภาวะระบาดทั่วในวงกว้างของโรคโควิด โดยเพิ่มจาก 410 ตันต่อเดือนเป็น 880 ตันต่อเดือน ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลในเคนยาจึงมักประสบกับปัญหาการจัดส่งออกซิเจนทางการแพทย์ที่ไม่แน่นอน ทั้งยังมีราคาเพิ่มขึ้น และมีต้นทุนการขนส่งสูงด้วย ทั้งนี้ ด้วยเหตุจากต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดส่งแบบแบ่งย่อย และทางเลือกในการจัดเก็บ ทำให้โดยทั่วไปออกซิเจนทางการแพทย์ในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารามีราคาสูงกว่าในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือแปดถึงสิบเท่า ทั้งนี้ โรงงานของเฮวาเทเลจะเพิ่มความสามารถในการผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ได้อย่างน้อย 20 ตันต่อวัน และยังช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้รับบริการดูแลสุขภาพในพื้นที่ชนบทและในเมืองลงได้สูงสุด 30% การปรับปรุงเพื่อให้สามารถเข้าถึงออกซิเจนและให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะปอดบวมในเด็กลงได้ 35% ทั้งยังลดภาวะทารกเครียดในครรภ์ (Foetal Distress) และสามารถช่วยชีวิตสตรีในระหว่างการตั้งครรภ์ด้วยการให้ออกซิเจน

"การระบาดทั่วในวงกว้างของโรคโควิด ทำให้คนทั่วโลกเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดหาออกซิเจน" คุณโจฮานนา เรฮัลม์ (Johanna Raehalme) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงานในแอฟริกาของฟินน์ฟันด์กล่าว "เรามีความยินดีที่ได้สร้างผลงานด้านการลงทุนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในด้านการดูแลสุขภาพของเรา รวมทั้งที่ได้เห็นว่าความเข้าใจถึงความสำคัญของออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นนี้จะรับรองได้ว่าตลาดจะยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของเฮวาเทเลต่อไป"

คุณจอร์เจีย เลเวนสัน โคเฮน (Georgia Levenson Keohane) ซีอีโอของ SEDF กล่าวว่า "SEDF ในฐานะของนักลงทุนที่มุ่งมั่นสร้างผลกระทบและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งยังให้ความสนใจกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในระยะยาวและสร้างผลกระทบโดยตรง เรามองว่าการลงทุนในเฮวาเทเลเป็นความมุ่งมั่นครั้งสำคัญเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคการดูแลสุขภาพที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วของแอฟริกา"

คุณมายา ซิสวิเลอร์ (Maya Ziswiler) ซีอีโอของออปติมัส ฟาวด์เดชัน กล่าวว่า "ยูบีเอส ออปติมัส ฟาวด์เดชัน ลงทุนในองค์กรต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าใช้โมเดลทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม สามารถปรับขนาดได้ และสามารถสร้างผลกระทบได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ เราจึงเป็นผู้สนับสนุนของเฮวาเทเลตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เนื่องจากเรามองเห็นผลกระทบและมูลค่าของโมเดลธุรกิจของบริษัทฯ และในตอนนี้เรามีความยินดีที่ได้ทำสัญญากับทางบริษัทฯ ในระยะยาว เพื่อให้ความช่วยเหลือชุมชนในเมืองและชนบทที่ยิ่งประสบปัญหาขาดแคลนออกซิเจนรุนแรงกว่าในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ด้วยการจัดหาออกซิเจนทางการแพทย์ที่สามารถช่วยชีวิตผู้คนและมีราคาเหมาะสมจับต้องได้"

"ด้วยฐานธุรกิจแห่งแรกในเคนยาตะวันตกของเรา จะทำให้การขยายธุรกิจของเราไปยังเมืองตาตูสามารถสร้างตำแหน่งงานประจำได้โดยตรงเพิ่มอีก 50 ตำแหน่ง และตำแหน่งงานทางอ้อมกว่า 100 ตำแหน่ง เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเติบโต เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศการดูแลสุขภาพในเขตเคียมบู" ดร. ซูลฟิคาร์ วาลี (Dr Zulfiqar Wali) ซีอีโอของเฮวาเทเลเสริม

ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งในภูมิภาคและระดับโลกมากกว่า 75 รายกำลังดำเนินงานหรืออยู่ระหว่างการพัฒนาในพื้นที่ที่เหมาะกับการทำธุรกิจแห่งนี้ของเมืองตาตู ที่รวมถึง CCI Global, Heineken, Dormans, Copia, Cooper K-Brands, Grit Real Estate Income Group, Twiga Foods, Freight Forwarders Solutions, ADvTECH, Friendship Group และ Davis & Shirtliff โดยมีบ้านและอะพาร์ตเมนต์มากกว่า 3,000 แห่ง ทั้งที่มีผู้อยู่อาศัยแล้วหรือกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งนักเรียน 4,500 คนที่กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนของเมืองตาตู

เกี่ยวกับเฮวาเทเล (www.hewatele.org

เฮวาเทเล (Hewatele) เป็นผู้บุกเบิกเพื่อจัดหาโซลูชันทางการแพทย์ และมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพของบริการดูแลสุขภาพในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก เฮวาเทเลมุ่งความสนใจที่นวัตกรรมและความยั่งยืน เพื่อทุ่มเทจัดการปัญหาความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพในระดับวิกฤติ และเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนต่าง ๆ โดยเฮวาเทเล พร้อมด้วยบริษัทในเครือ อย่างศูนย์เพื่อการพัฒนาและสาธารณสุข (The Center for Public Health and Development) หรือ CPHD และเมดิควิป โกลบอล (Mediquip Global) ได้จัดหาโซลูชันที่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับออกซิเจนแบบครบทุกด้านให้แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับออกซิเจน

เกี่ยวกับเมืองตาตู (www.tatucity.com

เมืองตาตู (Tatu City) เป็นเมืองใหม่ขนาด 5,000 เอเคอร์ซึ่งอยู่ติดกับกรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา ภายในเมืองมีทั้งบ้าน โรงเรียน สถานประกอบการ ย่านการค้า คลินิกการแพทย์ พื้นที่ธรรมชาติ และพื้นที่นันทนาการสำหรับพลเมืองกว่า 250,000 คน และผู้มาเยือนหลายหมื่นคนต่อวัน โรงเรียนในเมืองตาตูให้การศึกษาแก่นักเรียนหลายพันคนในแต่ละวัน ส่วนบ้านก็มีให้เลือกหลากหลายแบบซึ่งสอดรับกับรายได้ทุกระดับ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการกว่า 75 รายก็เติบโตและประสบความสำเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศแห่งนี้ เมืองตาตูซึ่งตั้งอยู่ห่างจากย่านเวสต์แลนด์ของกรุงไนโรบีราว 30 นาที ถือเป็นสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตและวิธีคิดแบบใหม่ของชาวเคนยาทุกคน ด้วยสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนแบบที่ไม่มีรถติดและไม่ต้องเดินทางไกล

เมืองตาตูได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเรนเดเวอร์ (Rendeavour) ผู้สร้างเมืองใหม่รายใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ซึ่งพัฒนาโครงการสุดสร้างสรรค์รวมพื้นที่ถึง 30,000 เอเคอร์ ทั้งในกานา ไนจีเรีย เคนยา แซมเบีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บริษัทเรนเดเวอร์ได้รับการสนับสนุนโดยนักลงทุนชาวอเมริกัน นิวซีแลนด์ อังกฤษ และนอร์เวย์

Source : รัฐบาลสหรัฐ ฟินแลนด์ และแคนาดาจัดหาเงินทุนให้แก่โรงงานผลิตออกซิเจนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองตาตูในเคนยา

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles