- ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia Financial Resilience Index) ชี้กลุ่มมิลเลนเนียลมีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุด โดยพิจารณาจากระดับความรู้ทางการเงิน ความเข้าใจในเครื่องมือ และความสามารถในการจัดการทางการเงิน
- ความเชื่อมั่นในทุกกลุ่มประชากรอยู่ในระดับสูง แต่ 60% ยังขาดแผนการเงินระยะเวลาเกินหนึ่งปี
- หนึ่งในสาม (34%) ไม่มีหรือไม่สามารถรักษาเงินเก็บ และผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในสี่ (25%) รู้สึกไม่มั่นคงทางการเงิน
- ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 1 ใน 10 (10%) เท่านั้นที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินสูง และอยู่บนเส้นทางเพื่อการบรรลุเป้าหมายในอนาคต และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ฮ่องกง, 13 มีนาคม พ.ศ. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — ซัน ไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia) เปิดตัวดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงิน (Sun Life Asia Financial Resilience Index) เป็นครั้งแรกในวันนี้ ซึ่งสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและความเชื่อของบุคคลทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงอุปสรรคที่ผู้คนเผชิญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินระยะยาว โดยดัชนีชี้ให้เห็นว่า แม้ความเชื่อมั่นและการมองโลกในแง่ดีจะอยู่ในระดับสูง แต่ผู้คนจำนวนมากยังขาดแผนในการปฏิบัติ
จากการศึกษาพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้คนมีมากกว่าการเตรียมพร้อมในเรื่องเป้าหมายทางการเงินระยะยาว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 69% มั่นใจในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว แต่มีเพียง 40% เท่านั้นที่มีแผนทางการเงินเกินหนึ่งปี ขณะที่การเกษียณอายุและการออมถือเป็นสิ่งสำคัญทางการเงินสูงสุดเป็นอันดับสอง รองจากการจัดการค่าใช้จ่ายประจำวัน และมีเพียง 16% เท่านั้นที่มีแผนเกษียณอายุหรือเงินบำนาญเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของพวกเขา
คนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุด
จากการสำรวจพบว่า คนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุดในเอเชีย โดยเมื่อเทียบกับผู้คนรุ่นอื่น ๆ แล้ว คนรุ่นมิลเลนเนียลมองอนาคตทางการเงินของตนในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ (75%) พร้อมกับมีความเชื่อมั่นมากที่สุดในการบรรลุเป้าหมายระยะยาว (70%) เมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่า (63%) คนรุ่นมิลเลนเนียลยังมองว่าตนมีความรู้ทางการเงินมากกว่า (80%) เมื่อเทียบกับคนที่อายุมากกว่า (70%) และมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะตัดสินใจโดยอิงจากการผลศึกษา (56% เทียบกับ 51%) อย่างไรก็ตาม 42% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในกลุ่มมิลเลนเนียลเท่านั้นที่มีแผนการทางการเงินล่วงหน้าเกินกว่าหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งหมายความว่าพวกเขาเสี่ยงที่จะตกหลุมพรางจากการไม่วางแผนเช่นเดียวกับผู้คนรุ่นอื่น ๆ
คุณเดวิด บรูม (David Broom) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าและจัดจำหน่ายของซัน ไลฟ์ เอเชีย กล่าวว่า "ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย มอบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ครัวเรือนทั่วเอเชียใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินและปกป้องอนาคตของตน และเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนจำนวนมากมองการเงินของพวกเขาในปี 2567 ในแง่บวกมากขึ้น และการมองโลกในแง่ดีนี้จำเป็นต้องมีแผนเพื่อให้สามารถบรรลุความเป็นจริงได้ เนื่องจากแผนการเงินจะช่วยให้มองเห็นขั้นตอนที่ง่ายและชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่งคั่งและสุขภาพของผู้คน"
ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบท
รายงานยังชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชุมชนเมืองและชนบทที่ชัดเจน โดยผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง (58%) มีความรู้สึกมั่นคงทางการเงินมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท (51%)
อารมณ์และความไว้วางใจมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางการเงิน
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (46%) ระบุว่าอารมณ์และความไว้วางใจมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางการเงิน โดยสถาบันการเงินเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือที่สุด รองลงมาคือครอบครัวและเพื่อนฝูง และตามด้วยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ขณะที่โซเชียลมีเดียได้รับการจัดอันดับให้เป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือน้อยที่สุด ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่ง (47%) ต้องการความรู้เพิ่มเติมด้านการเงินส่วนบุคคล แต่อาจลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ เนื่องจากในปัจจุบันมีเพียง (23%) เท่านั้นที่เข้ารับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากมืออาชีพในการจัดการด้านการเงินของตน
ความมั่งคั่งไม่ได้หมายถึงความสามารถในการรับมือทางการเงินเสมอไป
จากการสำรวจพบว่า แม้ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ร่ำรวยที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากยังขาดการเตรียมพร้อมและประเมินระดับการใช้จ่ายหรือประโยชน์ของแผนการเงินระยะยาวต่ำเกินไป ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้น้อยกว่าและมีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินงบประมาณรายเดือนเท่า ๆ กัน (21% สำหรับทั้งสองกลุ่ม) การศึกษายังพบว่ามีเพียง 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้สูงที่กำลังวางแผนการเงินเกินระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 40% ของทุกช่วงรายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"ความสามารถในการรับมือทางการเงินเป็นเป้าหมายสำหรับผู้คนทุกวัยและทุกระดับรายได้ เริ่มต้นได้จากการกระทำเล็ก ๆ เช่นการกำหนดงบและการวางแผน เพื่อให้สามารถเก็บเงินและลงทุนตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ซัน ไลฟ์ มีเครื่องมือดิจิทัลฟรีมากมายเพื่อช่วยเหลือผู้คนในการวางแผน จัดลำดับความสำคัญ และติดตามเป้าหมายทางการเงิน แผนทางการเงินร่วมกับคำแนะนำทางการเงินแบบองค์รวมจะสามารถระบุวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการของผู้คน นำไปสู่การเติบโตและปกป้องความมั่งคั่งและความมั่นคงทางการเงิน" คุณบรูม กล่าว
ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย เป็นการศึกษาที่ดำเนินการในเดือนตุลาคม 2566 เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมรับมือทางการเงินกับเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่ ความเชื่อมั่น พฤติกรรม การวางแผน เครื่องมือ และทรัพยากร โดยอิงจากการสำรวจผู้คน 8,000 คนแบบอำพรางสองฝ่ายในตลาด 8 แห่ง (จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)
อ่านรายงานฉบับเต็มที่นี่
เกี่ยวกับ ซัน ไลฟ์
ซัน ไลฟ์ (Sun Life) เป็นองค์กรบริการทางการเงินระหว่างประเทศชั้นนำที่ให้บริการโซลูชันด้านการจัดการสินทรัพย์ ความมั่งคั่ง การประกันภัย และสุขภาพแก่ลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าสถาบัน ซัน ไลฟ์ดำเนินธุรกิจในตลาดหลายแห่งทั่วโลก ประกอบด้วยแคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเบอร์มิวดา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ซัน ไลฟ์มีสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารอยู่ที่ 1.40 ล้านล้านดอลลาร์ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sunlife.com
ซัน ไลฟ์ ไฟแนนเชียล อิงค์ (Sun Life Financial Inc.) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต (TSX), นิวยอร์ก (NYSE) และฟิลิปปินส์ (PSE) ภายใต้สัญลักษณ์ย่อ SLF
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: จำนวนเงินทั้งหมดอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา
สื่อมวลชนสัมพันธ์:
ไบรอัน เซิน (Bryan Shen)
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบัญชีลูกค้า แซนด์ไปเปอร์ (Sandpiper)
โทร: +85292015160
[email protected]
เบ็กกี้ มาร์แชล (Becky Marshall)
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร ซันไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia)
โทร: +8526170312
[email protected]
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network