มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ร่วมกับสถาบันดีคิว เปิดตัวโครงการ "Living Well Digitally" เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านไลฟ์สไตล์ดิจิทัล

สิงคโปร์, 19 เมษายน 2567 /PRNewswire/ — เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้ (CTIC) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มใหม่ภายใต้ชื่อ "Living Well Digitally" (ชีวิตความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี) (https://ctic.nus.edu.sg/living-well-digitally/) โดยโครงการริเริ่มนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันดีคิว (DQ Institute) และโครงการดิจิทัลฟอร์ไลฟ์ (Digital for Life) (ดิจิทัลเพื่อชีวิต) โดยสำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ (IMDA) มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และส่งเสริมด้านความรู้และเครื่องมือในการรับมือกับความซับซ้อนของโลกดิจิทัลให้แก่บุคคลทั่วโลก นำไปสู่ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลที่สมดุลและรอบรู้มากขึ้น
 

(From right to left) Professor Li Mongli, Professor Chen Tsuhan, Professor Audrey Yue, Senior Parliamentary Secretary Mdm Rahayu Mahzam, Professor Natalie Pang, Dr. Yuhyun Park, Assistant Professor Zhang Renwen, Research Assistant Soh Kai Xin
(From right to left) Professor Li Mongli, Professor Chen Tsuhan, Professor Audrey Yue, Senior Parliamentary Secretary Mdm Rahayu Mahzam, Professor Natalie Pang, Dr. Yuhyun Park, Assistant Professor Zhang Renwen, Research Assistant Soh Kai Xin

โครงการริเริ่ม "Living Well Digitally" ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่:

กรอบงานเพื่อบ่งชี้ความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี (DWIF): DWIF เป็นกรอบงานแรกของโลกที่ประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลแบบองค์รวมในขอบเขตต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน DWIF ใช้มาตรฐานระดับโลก IEEE DQ (IEEE 3527.1TM) ของสถาบันดีคิวเป็นกรอบการทำงานพื้นฐานเพื่อมอบความครอบคลุมในประเด็นความเป็นอยู่ดิจิทัลทั้ง 5 ด้าน (ความสัมพันธ์ทางสังคมดิจิทัล สุขภาพดิจิทัล การบริโภคดิจิทัล การจ้างงานดิจิทัล และการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลของผู้คน) ผสานรวมแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลเพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ครอบคลุมสำหรับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัล
 
เครื่องมือการประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีระดับสากล (Universal Digital Wellbeing Assessment Tool): การใช้เครื่องมือการประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยดีคิว ช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีของตนได้อย่างง่ายดายเพียงการกดปุ่มเพื่อขอรับคะแนนและข้อเสนอแนะได้ทันทีบนเว็บไซต์ของโครงการ Living Well Digitally เครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาโดยใช้กรอบงาน DWIF นำเสนอชุดคำถามและการแจกแจงคะแนนความเป็นอยู่ที่ดีแบบส่วนตัว ช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มระดับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีได้
 
ทรัพยากรที่เข้าถึงได้สำหรับชุมชน: ด้วยจุดมุ่งหมายในการมอบความรู้และเสริมศักยภาพบุคคลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล เว็บไซต์ของโครงการ Living Well Digitally จึงทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการแหล่งข้อมูลทางการศึกษา เคล็ดลับ และข้อมูลต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ตั้งแต่คนหนุ่มสาวไปจนถึงผู้ใหญ่ ครอบครัว นักการศึกษา และนักสังคมสงเคราะห์

Digital Wellbeing Indicator Framework (DWIF)
Digital Wellbeing Indicator Framework (DWIF)

 

กรอบงาน DWIF พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจากศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (นำโดยศาสตราจารย์ออเดรย์ เยว่ (Audrey Yue) ศาสตราจารย์นาตาลี ผาง (Natalie Pang) ศาสตราจารย์จาง เยิ่นเหวิน (Zhang Renwen) ร่วมกับศาสตราจารย์ลิม อี เผิง (Lim Ee-Peng) จากมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ และดร.ยูฮยอน พัค (Yuhyun Park) จากสถาบันดีคิว) ผ่านการวิจัย การปรับแต่ง และการตรวจสอบความถูกต้องเป็นเวลากว่าสองปี ครอบคลุมการปรึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 23 คน (ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานบริการสังคม และนักวิชาการ) จากสิงคโปร์ จีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ตามด้วยการทดสอบนำร่องที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,300 คนรวมกันในสิงคโปร์และทั่วโลก ตและการสำรวจประชากรข้ามประเทศจำนวนกว่า 4,000 คนใน 4 เมืองของสิงคโปร์ โซล เซี่ยงไฮ้ และลอนดอน

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเปิดตัวโครงการริเริ่ม Living Well Digitally สู่สาธารณะ ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้จึงจัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยภายในงานประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกระทรวงและองค์กรของรัฐ เช่นกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และสำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ หน่วยงานบริการสังคมอย่างทัช คอมมิวนิตี เซอร์วิสเซส (TOUCH Community Services) และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่างเมตา (Meta) และบิตแดนซ์ ByteDance (หรือติ๊กต๊อก)

"การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นในโลกปัจจุบัน เรากำลังจุดประกายความเคลื่อนไหวเพื่อมอบความรู้และส่งเสริมผู้คนในสิงคโปร์และทั่วโลกให้เป็นเจ้าของประสบการณ์ดิจิทัลของตนเอง และปลูกฝังการเชื่อมต่อที่มีความหมายทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ผ่านโครงการ Living Well Digitally นี้" ศาสตราจารย์ออเดรย์ เยว่ หัวหน้านักวิจัยของโครงการ รองผู้อำนวยการศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้ หัวหน้าภาควิชาและศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารและสื่อใหม่ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว "การเปิดตัวกรอบงานเพื่อบ่งชี้ความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีและแพลตฟอร์ม Living Well Digitally นี้จะมอบเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคล นักสังคมสงเคราะห์ นักการศึกษา บริษัทเทคโนโลยี และผู้กำหนดนโยบายสามารถสนับสนุนให้ทุกคน ‘มีชีวิตเชิงดิจิทัลที่ดี’ ในโลกแห่งดิจิทัล"

 

นอกจากนี้ คุณราฮายู มาฮ์ซาม (Rahayu Mahzam) แขกผู้ทรงเกียรติ เลขาธิการรัฐสภาอาวุโสประจำกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกฎหมาย ยังได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษโดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติสำหรับผู้คนจากทุกภูมิหลัง โดยระบุว่า "ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ปกครอง เป็นนักการศึกษา หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี สิ่งสำคัญคือการพิจารณาแนวทางและความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อเทคโนโลยีอย่างรอบคอบ"

คุณราฮายู มาฮ์ซาม กล่าวเสริมว่า "เราหวังว่าชุดเครื่องมือนี้จะต่อยอดทรัพยากรที่หลากหลายของโครงการดิจิทัลฟอร์ไลฟ์ เพื่อมอบความรู้ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนคนสิงคโปร์ในการเสริมสร้างความเป็นอยู่และความยืดหยุ่นทางดิจิทัลของพวกเขา"

ในระหว่างงาน ทีมวิจัยยังได้เปิดตัวเว็บไซต์โครงการ Living Well Digitally และจัดแสดงเครื่องมือประเมินความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีที่ขับเคลื่อนโดยดีคิว หรือ "พาวเวอร์ดบายดีคิว" (Powered by DQ) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานระดับโลก IEEE DQ (IEEE 3527.1TM) มอบกรอบการทำงานของศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ พร้อมด้วยเครื่องมือวัดความเปลี่ยนแปลงเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อน นำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้และการพัฒนาโครงการริเริ่มเพิ่มเติม

ดร.ยูฮยอน พัค ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว กล่าวว่า "สถาบันดีคิวเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือในโครงการริเริ่มระดับโลกที่สำคัญนี้ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การทำความเข้าใจและการยกระดับความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดีในยุคที่การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอก้าวล้ำกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่เอไอยังคงส่งผลต่อผู้คนอย่างต่อเนื่องนี้ ความมุ่งมั่นของทีมวิจัยจากศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริงและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โครงการริเริ่มที่สำคัญนี้จะช่วยให้ชุมชนมีเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นในการสำรวจความเสี่ยงและโอกาสที่มาพร้อมกับเอไอ สร้างความมั่นใจในแนวทางที่สมดุลมากขึ้นเพื่อความเป็นอยู่เชิงดิจิทัลที่ดี"

เกี่ยวกับ ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์:

ศูนย์อินเทอร์เน็ตและชุมชนที่เชื่อถือได้แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS-CTIC) ทุ่มเทให้กับการศึกษาแบบสหวิทยาการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสังคมแห่งอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการการวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัล แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการศึกษานโยบายเพื่อสำรวจอินเทอร์เน็ตและผลกระทบทางสังคมแบบองค์รวม เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์ฯ: https://ctic.nus.edu.sg/

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:

เวนดี โพห์ หวาน หลี่ (Wendy Poh Wan Li)
[email protected] 

เกี่ยวกับ สถาบันดีคิว:

สถาบันดีคิว (DQ Institute หรือ DQI) เป็นสถาบันวิจัยระดับนานาชาติที่อุทิศตนเพื่อสร้างมาตรฐานระดับโลกด้านความฉลาดทางดิจิทัล รับประกันความปลอดภัย เสริมศักยภาพ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับบุคคล องค์กร และประเทศต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล กรอบงานของสถาบันดีคิวได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานระดับโลกด้านความรู้ ทักษะ และความพร้อมด้านดิจิทัล (IEEE 3527.1-2020) สถาบันดีคิวดำเนินงานในฐานะองค์กร 501(c)(3) ในสหรัฐอเมริกา และเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสิงคโปร์ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันฯ: https://dqinstitute.org

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:

เอริส เซียห์ (Eris Seah)
[email protected]
โทรศัพท์: +65 9396 9200

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2391338/DQ_Institute_1.jpg?p=medium600
อินโฟกราฟิก – https://mma.prnasia.com/media2/2391339/DQ_Institute_2.jpg?p=medium600

Source : มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ร่วมกับสถาบันดีคิว เปิดตัวโครงการ "Living Well Digitally" เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านไลฟ์สไตล์ดิจิทัล

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles