เซินเจิ้น, จีน,7 มิถุนายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — หัวเว่ย (Huawei) จับมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด Tech4Nature ประจำปี 2567 เมื่อวานนี้ เพื่อเปิดตัวโครงการความร่วมมือระดับโลก Tech4Nature เฟสที่ 2 และส่งเสริมนวัตกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป
Tao Jingwen, Board Member and Chairman of the CSD Committee for Huawei, joined the Summit and delivered a keynote speech.
โครงการ Tech4Nature สอดคล้องกับโครงการริเริ่ม TECH4ALL ของหัวเว่ย และ Green List ของ IUCN ซึ่งนับเป็นตัวแทนของวิสัยทัศน์ร่วมกันของพันธมิตรทั้งสองในการพัฒนาโซลูชันทางเทคโนโลยีสำหรับพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ (Protected and Conserved Areas หรือ PCA) ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยหรือ IUCN ได้ผนึกกำลังที่ครอบคลุมทั้งภาคส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology หรือ ICT) และการอนุรักษ์ธรรมชาติ
"โลกธรรมชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทว่าเทคโนโลยีและโซลูชันดิจิทัลก็สามารถเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของโลกใบนี้ นั่นคือเหตุผลที่ IUCN ร่วมมือกับหัวเว่ยจัดตั้งโครงการ Tech4Nature" ดร. Grethel Aguilar ผู้อำนวยการทั่วไปของ IUCN กล่าว "ฉันภูมิใจที่ได้เห็นความร่วมมือครั้งนี้ก้าวไปสู่เฟสต่อไป โดยช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อธรรมชาติและสร้างอนาคตที่ดีกว่า"
โครงการ Tech4Nature เฟส 1
โครงการ Tech4Nature เฟส 1 ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2566 ในพื้นที่คุ้มครอง (Protected Conservation Areas หรือ PCA) 5 แห่งในประเทศจีน มอริเชียส เม็กซิโก สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ ความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่
• การติดตามด้วยเสียงของชะนีไห่หนาน (Hainan gibbon) ซึ่งเป็นลิงที่หายากที่สุดในโลก เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของแต่ละตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือในการฟื้นฟูประชากรของสัตว์ชนิดนี้ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง 37 ตัวเท่านั้น
• การจดจำรูปแบบด้วย AI เพื่อระบุและติดตามเสือจากัวร์ในเม็กซิโก ได้ประสบความสำเร็จในการยืนยันการมีอยู่ของเสือจากัวร์จำนวน 7 ตัวในเขตสงวนรัฐดซิลัม (Dzilam) เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว
• ระบบขั้นสูงสำหรับการดูและติดตามแบบเรียลไทม์ของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนวปะการังที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นในสาธารณรัฐมอริเชียส ได้มีส่วนช่วยในการปลูกถ่ายชิ้นปะการังที่สมบูรณ์แล้วจำนวน 25,000 ชิ้น ไปยังบริเวณแนวปะการังที่เสื่อมโทรมในมหาสมุทรอินเดีย
"ในฐานะพันธมิตรทางเทคนิคของภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม หัวเว่ยพร้อมที่จะเดินหน้าสำรวจสถานการณ์การปกป้องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความท้าทายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และร่วมกันสร้างโลกดิจิทัลที่เท่าเทียมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น" Tao Jingwen สมาชิกคณะกรรมการและประธานคณะกรรมการ CSD ของบริษัทหัวเว่ย กล่าว "หัวเว่ยมุ่งมั่นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยดำเนินตามกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ประการ ควบคู่ไปกับแนวคิด S.H.A.R.E. เพื่อสร้างอนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืน (Sustainable) เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่กลมกลืนและแข็งแรง (Harmony) ยกระดับความเท่าเทียมและการเข้าถึงสูงสุดผ่านการรวมระบบดิจิทัล (TECH4ALL) และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้าน ICT ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อปกป้องโลกดิจิทัล (Reliability) โดยอาศัยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราสามารถบรรลุการพัฒนาสังคมไปพร้อมกับการรักษาความสมดุลทางนิเวศวิทยาร่วมกัน (Environment)"
โครงการ Tech4Nature เฟส 2
โครงการ Tech4Nature เฟส 2 (ปี 2566 – 2569) จะสนับสนุนโครงการสำคัญ 6 โครงการในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จีน เม็กซิโก สเปน บราซิล เคนยา และตุรกี การประชุมสุดยอดครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัวโครงการสำคัญทั้งหกโครงการอย่างเป็นทางการ ต่อเนื่องจากข้อตกลงที่จะเปิดตัว Tech4Nature เฟส 2 ที่หัวเว่ยและ IUCN ได้ประกาศร่วมกันในเดือนตุลาคม 2566
เฟส 2 ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของ IUCN และหัวเว่ยในการสนับสนุนเป้าหมาย 30×30 และเป้าหมายที่ 4 ในการป้องกันการสูญพันธุ์ที่กำหนดไว้ในกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Biodiversity Framework หรือ GBF) เฟสนี้มุ่งหวังที่จะขยายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเทคโนโลยีและการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการดึงดูดบุคลากร พันธมิตร และประเทศต่าง ๆ ให้มาเข้าร่วมมากยิ่งขึ้น
การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์ นักวิชาการ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาครัฐ รวมถึงชุมชน Tech4Nature ในวงกว้าง
ในการประชุมสุดยอด มีการจัดเวิร์คช็อปเพื่อสร้างขีดความสามารถในหมู่พันธมิตร สำรวจแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุการอนุรักษ์ที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพผ่านมาตรฐานบัญชีสีเขียวของ IUCN หารือเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมและให้คำแนะนำในการดำเนินการ และส่งเสริมการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
นอกจากนี้ พันธมิตรยังได้เปิดตัวสิ่งพิมพ์สำคัญของโครงการ Tech4Nature ที่มีชื่อว่า "Partnership for our Planet" โดยสามารถดาวน์โหลดได้แล้วบนเว็บไซต์ของโครงการ Tech4Nature เนื้อหาภายในสิ่งพิมพ์นี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของโซลูชันทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการรับมือต่อความท้าทายด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติในยุคปัจจุบัน
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network