ลอนดอน, 18 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ — สหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงลดลงกว่า 9,500 รายในปี 2567 รองจากจีน และมากกว่าสองเท่าของกว่า 4,200 รายที่เดินทางออกจากประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา ทำลายสถิติเดิมหลังจากที่จำนวนผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงในปี 2565 ลดลงกว่า 1,600 ราย ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีแนวโน้มติดอันดับหนึ่งในฐานะดินแดนที่ดึงดูดความมั่งคั่งชั้นนำของโลกเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยมีบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงกว่า 6,700 รายตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปยังเอมิเรตส์ภายในสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าเศรษฐีจากสหราชอาณาจักรและยุโรป
รายงาน Henley Private Wealth Migration Report 2024 ซึ่งเผยแพร่วันนี้โดย Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการย้ายถิ่นฐานการลงทุนระหว่างประเทศ นำเสนอข้อมูลการไหลเข้าและออกของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีทั่วโลก รวมถึงการจัดอันดับ W15 ซึ่งเป็นประเทศ 15 อันดับแรกของโลกที่เศรษฐี เศรษฐีร้อยล้าน และมหาเศรษฐีเลือก
จีนกำลังขึ้นแท่นเป็นประเทศที่มีเศรษฐีไหลออกรายใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้ง โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงไหลออกสุทธิกว่า 15,200 รายในปีนี้ (เทียบกับ 13,800 รายในปี 2566) ในขณะที่อินเดียสามารถสกัดกั้นการไหลออกของความมั่งคั่งได้ โดยตกลงมาอยู่ในอันดับ 3 รองจากสหราชอาณาจักรที่คาดว่าจะมีเศรษฐีจำนวน 4,300 รายเดินทางออกนอกประเทศในปี 2567 (เทียบกับ 5,100 รายในปีที่ผ่านมา) ด้านเกาหลีใต้มีแนวโน้มการไหลออกของผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงเพิ่มขึ้นแตะที่ 1,200 ราย (เทียบกับ 800 รายในปี 2566) ในขณะที่จำนวนเศรษฐีที่เดินทางออกจากรัสเซียหลังสงครามยูเครนปะทุขึ้นมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ 1,000 รายในปีนี้ (เทียบกับ 8,500 รายในปี 2565 และ 2,800 รายในปี 2566)
Dominic Volek หัวหน้ากลุ่มลูกค้าเอกชนของ Henley & Partners กล่าวว่า ปี 2567 จะเป็นช่วงเวลาสำคัญในการโยกย้ายของความมั่งคั่งทั่วโลก: "จำนวนเศรษฐีกว่า 128,000 รายจะย้ายที่อยู่ทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในปีนี้ ซึ่งมากกว่าสถิติเดิมที่ 120,000 รายในปี 2566 ขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่นี้ เศรษฐีทั้งหลายต่างแสดงออกผ่านการย้ายถิ่นฐานมากที่สุดประวัติการณ์"
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดเศรษฐีชั้นนำของโลก
ด้วยภาษีเงินได้เป็นศูนย์ วีซ่าทอง ไลฟ์สไตล์ที่หรูหรา และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คือจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งของโลกสำหรับเศรษฐีที่ต้องการย้ายถิ่นฐาน ความพร้อมในการดึงดูดเศรษฐีเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา ทำให้ที่แห่งนี้มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการไหลเข้าของเศรษฐีกว่า 3,800 รายในปี 2567
ด้านสิงคโปร์คว้าอันดับที่ 3 อีกครั้งในปีนี้ด้วยจำนวนการไหลเข้าสุทธิของเศรษฐีจำนวน 3,500 ราย ตามมาด้วยจุดหมายปลายทางยอดนิยมตลอดกาลสำหรับเศรษฐีอย่างแคนาดาและออสเตรเลียในอันดับที่ 4 และ 5 ด้วยการไหลเข้าสุทธิที่ 3,200 รายและ 2,500 รายตามลำดับ ขณะที่ประเทศโปรดของชาวยุโรปอย่างอิตาลี (+2,200) สวิตเซอร์แลนด์ (+1,500) กรีซ (+1,200) และโปรตุเกส (+800) ต่างติด 10 อันดับแรกในปีนี้ เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ที่มีฐานะร่ำรวยย้ายเข้าประเทศกว่า 400 ราย โดยส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากจำนวนผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงจากจีนที่ย้ายไปโตเกียวหลังช่วงโควิด
ประเทศอื่น ๆ ที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกมากที่สุดในปี 2567
นอกจากจีน สหราชอาณาจักร อินเดีย เกาหลีใต้ และรัสเซียแล้ว ประเทศที่ติดอันดับจำนวนเศรษฐีไหลออกมากที่สุด 10 อันดับแรกยังประกอบด้วยบราซิล โดยคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีมหาเศรษฐีไหลออกกว่า 800 ราย ตามด้วยแอฟริกาใต้ (-600) ไต้หวัน (-400) และเวียดนามและไนจีเรียที่ 300 ราย
ดร. Hannah White OBE กรรมการและซีอีโอประจำ Institute for Government ในลอนดอนกล่าวว่า ผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงย้ายออกจากประเทศอื่น ๆ เหล่านี้ด้วยเหตุผลที่ค่อนข้างแตกต่างจากสหราชอาณาจักร: "จีนและอินเดียมีการไหลออกสุทธิของผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงเนื่องจากความสำเร็จทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของตนที่สร้างเศรษฐีรุ่นใหม่ แม้ว่าการชะลอตัวของการเติบโตของความมั่งคั่งในประเทศจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจหมายถึงความสูญเสียในระยะยาวที่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ รวมถึงบราซิล เวียดนาม แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย ด้านเศรษฐีชาวอินเดียมักย้ายออกจากประเทศเพื่อค้นหาวิถีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาดยิ่งขึ้น รวมถึงบริการด้านสุขภาพและการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ภัยคุกคามและความไม่แน่นอนในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับจุดยืนด้านความมั่นคงของอเมริกาภายหลังทรัมป์มีโอกาสคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้ หมายความว่าเกาหลีใต้และไต้หวันจะยังคงมีจำนวนผู้มีความมั่งคั่งสุทธิไหลออกมากขึ้น"
การย้ายถิ่นฐานของเศรษฐีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกำลังกระตุ้นให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในภาคส่วนการลงทุนเพื่อการย้ายถิ่นฐาน โดย Henley & Partners ได้รับการสอบถามเกี่ยวกับการพำนักอาศัยและการขอสัญชาติผ่านการลงทุนมากเป็นประวัติการณ์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก โดยสองสัญชาติแรกที่ผลักดันความต้องการย้ายถิ่นในปัจจุบันได้แก่ชาวอเมริกันและชาวอินเดีย ตามด้วยชาวอังกฤษ ฟิลิปปินส์ และชาวแอฟริกาใต้ที่ติด 10 อันดับแรกเช่นเดียวกับในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
Source : เศรษฐีย้ายบ้าน: ประเทศที่ผู้มีความมั่งคั่งสุทธิสูงจากมาและเลือกไปในปี 2567
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network