เวียนนา, 27 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ — การประชุมกองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development Forum) ครั้งที่ 3 ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศโลกใต้ สิ้นสุดลงด้วยผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน พร้อมการลงนามในโครงการและความร่วมมือใหม่ ๆ ขณะที่พันธมิตรต่างให้คำมั่นในการจัดการกับปัญหาด้านการพัฒนาระดับโลกที่เร่งด่วน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงพลังงาน และเร่งความคืบหน้าตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573
การประชุมดังกล่าวซึ่งจัดโดยกองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ดึงดูดพันธมิตรด้านการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 350 ราย เพื่อร่วมกันหารือในประเด็นเร่งด่วน เช่นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันต่าง ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของมนุษย์ โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนโอเปกยังได้อนุมัติเงินทุนก้อนใหม่จำนวน 605 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังได้เฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี การดำเนินงานในภาคส่วนเอกชน พร้อมเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในกรุงเวียนนา ภายหลังเสร็จสิ้นการบูรณะ Palais Colloredo-Mannsfeld บริเวณ Ringstrasse อันเก่าแก่
Abdulhamid Alkhalifa ประธานกองทุนโอเปก กล่าวว่า "ความพยายามร่วมกันของเราในการประชุมครั้งนี้ได้วางรากฐานสำหรับโครงการริเริ่มที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการจัดการกับความท้าทายระดับโลก ความร่วมมือและนวัตกรรมคือกุญแจสู่ความสำเร็จของเรา เรามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแผนการสู่การปฏิบัติและส่งมอบทางออกที่มีประสิทธิภาพร่วมกับประเทศพันธมิตรของเรา"
การลงนามสัญญาและการประกาศในช่วงสัปดาห์การประชุมประกอบด้วย:
ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางอาหารระดับโลกและความพร้อมรับมือด้านสภาพภูมิอากาศ:
- กองทุนโอเปกร่วมกับโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ประกาศจัดตั้งหน่วยงานความมั่นคงด้านอาหารและการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศภายใต้กองทุนโอเปก เพื่อเสริมสร้างระบบอาหารที่มีความพร้อมรับมือด้านสภาพภูมิอากาศ และยกระดับความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคที่เปราะบางที่สุดของโลก ด้วยทุนช่วยเหลือเริ่มต้นที่ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนโอเปก พร้อมเป้าหมายกระตุ้นการลงทุนจำนวน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 และจะเริ่มต้นด้วยโครงการริเริ่มนำร่องในพื้นที่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกา
- กองทุนโอเปกและกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (IFAD) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขยายความเป็นหุ้นส่วนและส่งเสริมการจัดหาเงินทุนร่วมสำหรับโครงการด้านความมั่นคงทางอาหารและความพร้อมรับมือด้านสภาพภูมิอากาศ และโครงการที่มอบการสนับสนุนสำคัญแก่เกษตรกรรายย่อย
ส่งเสริมความพร้อมรับมือด้านสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงพลังงานทั่วโลก
- กองทุนโอเปกมอบเงินสนับสนุนจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐแก่เซียร์ราลีโอนสำหรับการจัดตั้งศูนย์กลางการเงินด้านสภาพภูมิอากาศและนวัตกรรมพลังงาน การประชุมโต๊ะกลมร่วมกับประธานาธิบดีเซียร์ราลีโอน Julius Maada Bio และตัวแทนจากชุมชนการพัฒนาระหว่างประเทศในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อระดมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและการเกษตรในประเทศ กองทุนโอเปกยังประกาศความตั้งใจที่จะจัดสรรเงินทุนจำนวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงปี 2573 เพื่อสนับสนุนโครงการที่วางแผนไว้แล้วด้านการเข้าถึงและการเปลี่ยนแปลงพลังงาน และความมั่นคงด้านอาหารในประเทศ
- กองทุนโอเปก ร่วมกับซาอุดีอาระเบียในฐานะประเทศสมาชิก และโซมาเลีย ได้ทำข้อตกลงไตรภาคีเพื่อลดภาระหนี้ของโซมาเลียที่ขึ้นตรงต่อกองทุนโอเปก และเริ่มดำเนินการจัดหาเงินทุนในประเทศอีกครั้ง ธุรกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับการลดภาระหนีแก่ประเทศยากจนที่มีหนีสูง (HIPC) ของธนาคารโลกและ IMF และเป็นไปตามความคืบหน้าล่าสุดของโซมาเลียในการลดภาระทางการเงิน โดยซาอุดีอาระเบียได้มอบเงินกู้ระยะสั้นแก่โซมาเลียให้สามารถปลดหนี้ค้างชำระได้ ในขณะเดียวกัน กองทุนโอเปกยังได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสริมด้วยทุนสนับสนุนแยกสองรายการมูลค่ารวม 6.06 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินโครงการร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
- กองทุนโอเปกลงนามข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (OESC) ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างรัฐบาลที่อุทิศตนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและความพร้อมรับมือด้านสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค ขณะที่ทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) และธนาคารอาหรับเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในแอฟริกา (BADEA) ยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกศูนย์กลางการเงินด้านสภาพภูมิอากาศและนวัตกรรมพลังงานของกองทุนโอเปก ซึ่งทำงานเพื่อสร้างการลงทุนในวงกว้างและเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โดยเน้นไปที่การทำอาหารด้วยพลังงานสะอาดในประเทศที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ SEforALL และ UNIDO ยังเป็นสมาชิกของศูนย์กลางแห่งนี้อีกด้วย
เสริมสร้างความร่วมมือในเอเชียกลาง:
- กองทุนโอเปกลงนามข้อตกลงกรอบความร่วมมือระดับประเทศร่วมกับเติร์กเมนิสถานและคาซัคสถาน โดยกำหนดแผนงานระยะเวลา 5 ปีสำหรับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และการบูรณาการในระดับภูมิภาค กองทุนโอเปกยังได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงทางการเงินร่วมกับทาจิกิสถานเพื่อสนับสนุนเงินทุนจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Rogun ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของทาจิกิสถาน
การระดมภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา:
- กองทุนโอเปกลงนามในข้อตกลงเงินกู้มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐร่วมกับ ธนาคาร Global IME ของเนปาล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง รวมถึงธุรกิจที่มีสตรีเป็นเจ้าของ เช่นเดียวกับโครงการอัจฉริยะด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศ
- กองทุนโอเปกร่วมกับ Saudi Eximbank ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อกระชับความร่วมมือในประเทศหุ้นส่วน
- เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน กองทุนโอเปกได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี การดำเนินงานในภาคส่วนเอกชน ด้วยโครงการกว่า 600 โครงการที่มีมูลค่ารวมกว่า 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ การดำเนินงานในภาคส่วนเอกชนจึงมีส่วนโดยตรงต่อการพัฒนาโดยกองทุนโอเปกในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
กองทุนโอเปกยังลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอย่างซาอุดีอาระเบียเพื่อขยายความร่วมมือ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อร่วมมือกับ World Governments Summit Organisation ซึ่งเป็นองค์กรสมองระดับโลกที่อุทิศตนให้กับการกำหนดอนาคตของรัฐบาล และผู้จัดงานประชุมสุดยอดประจำปีของเหล่าผู้นำระดับโลก
เกี่ยวกับ กองทุนโอเปก
กองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development หรือ OPEC Fund) เป็นสถาบันเพื่อการพัฒนาระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่จัดหาเงินทุนจากประเทศสมาชิกให้กับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกโดยเฉพาะ องค์กรทำงานร่วมกับพันธมิตรประเทศกำลังพัฒนาและชุมชนการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางทั่วโลก กองทุนโอเปกก่อตั้งขึ้นในปี 2519 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนา เสริมสร้างชุมชน และส่งเสริมผู้คน งานของเราเน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนสนับสนุนโครงการที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็น เช่น อาหาร พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน การจ้างงาน (โดยเฉพาะในวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล การดูแลสุขภาพ และการศึกษา จนถึงปัจจุบัน กองทุนโอเปกได้มอบเงินทุนมากกว่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับโครงการพัฒนาในกว่า 125 ประเทศ โดยมีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ Fitch ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกไว้ที่ AA+/Outlook Stable ขณะที่ S&P ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกไว้ที่ AA/Outlook Positive ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างโลกที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนกลายเป็นความจริงสำหรับทุกคน
ติดต่อ:
Basak Pamir
T+43151564174
[email protected]
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2449170/OPEC_Fund_1.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2449171/OPEC_Fund_2.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2449172/OPEC_Fund_3.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2449173/OPEC_Fund_4.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2449174/OPEC_Fund_5.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1899865/OPEC_Fund_Logo.jpg?p=medium600
Chief Executive Officer of Global IME Bank, Ratna Raj Bajracharya and OPEC Fund President Abdulhamid Alkhalifa
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network