การสัมผัสกับควันไฟป่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

ประเด็นที่สำคัญ

  • ควันจากไฟป่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพสมองอย่างมาก โดยอ้างอิงจากการศึกษากับชาวแคลิฟอร์เนียตอนใต้มากกว่า 1.2 ล้านคนเป็นระยะเวลา 10 ปี 
  • การสัมผัสกับควันจากไฟป่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่ามลพิษทางอากาศรูปแบบอื่น 
  • ควันไฟป่าส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น เช่น ยานยนต์และโรงงาน
  • ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ผู้คนควรอัปเดตระบบกรองอากาศในบ้านเมื่อเป็นไปได้ อยู่ในบ้านเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี และสวมหน้ากาก N95 ขณะอยู่ภายนอกบ้าน เมื่อดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าถึง 100

ฟิลาเดลเฟีย, 29 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — การสัมผัสกับควันจากไฟป่าส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่ามลพิษทางอากาศประเภทอื่น โดยอ้างอิงจากผลการศึกษาในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมศึกษาจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้กว่า 1.2 ล้านคน โดยได้มีการรายงานผลการศึกษาในวันนี้ที่การประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association International Conference® หรือ AAIC®) 2024 ในฟิลาเดลเฟียและทางออนไลน์ ซึ่งบ่งชี้ว่าควันไฟป่ามีอันตรายต่อสุขภาพสมองมากกว่ามลพิษทางอากาศรูปแบบอื่น

ควันจากไฟป่า ยานยนต์ และโรงงานต่างๆ ปล่อยมลพิษทางอากาศประเภทหนึ่งที่เรียกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งเป็นส่วนผสมขนาดเล็กของละอองของแข็งและของเหลวในอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมของมนุษย์ทั่วไปถึง 30 เท่า นักวิจัยค้นพบว่าความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจากการสัมผัสกับ PM2.5 ในควันไฟป่ามีความเสี่ยงสูงกว่า เมื่อเทียบกับความเสี่ยงจากแหล่งมลพิษทางอากาศ PM2.5  อื่นๆ แม้ในปริมาณที่น้อยกว่าก็ตาม การสัมผัสกับ PM2.5  ที่ไม่ได้มาจากควันไฟป่าก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับควันจากไฟป่า

ทั้งนี้การสัมผัสกับ PM2.5 ในระดับสูงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หอบหืด และน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย

"เหตุไฟป่าที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ทำให้การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศประเภทนี้เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพสมองมากยิ่งขึ้น" ดร. Claire Sexton ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการทางวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่ข้อมูลของสมาคมอัลไซเมอร์ กล่าว "ผลการวิจัยเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการออกนโยบายเพื่อป้องกันไฟป่า และการค้นหาวิธีการที่ดีกว่าเพื่อรับมือกับไฟป่า"

นักวิจัยได้วิเคราะห์บันทึกสุขภาพของสมาชิก Kaiser Permanente ที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 1,227,241 คน ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปในช่วงปี 2552-2562 โดยไม่มีใครเลยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ขณะที่เริ่มต้นการศึกษา โดยมีการประมาณค่า PM2.5  ทั้งหมดจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติของละอองลอยจากดาวเทียม และการติดตามข้อมูลของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) นักวิจัยใช้ข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และเทคนิคการเรียนรู้อัตโนมัติเพื่อแยก PM2.5 จากไฟป่าและที่ไม่ได้มาจากไฟป่าออกจากกัน โดยได้พวกเขาจะกำหนดระดับการสัมผัสกับ PM2.5  ทั้งสองแหล่งของผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคนตามสถานที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมในเวลาต่อมาในบันทึกสุขภาพของผู้เข้าร่วม

นักวิจัยได้รายงานผลการวิจัยครั้งแรกที่งานประชุม AAIC 2024 โดยพบว่าอัตราการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 21% สำหรับปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นปริมาณฝุ่นละอองในอากาศหนึ่งลูกบาศก์เมตรจากการสัมผัสกับ PM2.5 จากไฟป่าโดยเฉลี่ยสามปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกเขาพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาจะมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในทุกๆ 3 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร เมื่อสัมผัสกับ PM2.5  ที่ไม่ได้มาจากไฟป่าในค่าเฉลี่ย 3 ปี

"งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าการสัมผัสกับ PM2.5 มีความเกี่ยวข้องกับการป่วยเป็นภาวะสมองเสื่อม แต่เมื่อพิจารณาจากการศึกษาในระยะยาวขนาดใหญ่ของเรา ก็เห็นได้ชัดว่าความเสี่ยงจากการสัมผัสควันจากไฟป่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่งกว่า" ดร. ทพ. Holly Elser ผู้เขียนหลักของงานวิจัย และเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทวิทยาที่โรงพยาบาลของ University of Pennsylvania ฟิลาเดลเฟีย "มลพิษทางอากาศที่เกิดจากไฟป่าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของปริมาณ PM2.5  ทั้งหมดในวันที่คุณภาพอากาศไม่ดีในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่จริงจัง"

ดร. Elser ตั้งข้อสังเกตกับสาเหตุหลายประการว่าเหตุใด PM2.5  ที่เกิดจากไฟป่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นเพราะนี่เป็น PM2.5  ที่เกิดขึ้นในอุณหภูมิที่สูงกว่า มีความเข้มข้นของสารพิษมากกว่า และจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยเล็กกว่า PM2.5 จากแหล่งอื่น ทั้งยังกล่าวเสริมอีกว่า ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อระบุกลไกที่ชัดเจน

"ผลการวิจัยพบว่าปัญหาดังกล่าวปรากฏเด่นชัดที่สุดในกลุ่มผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยและในพื้นที่ยากจนสูง" ดร. Joan A. Casey ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษานี้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย University of Washington ซีแอตเทิล กล่าว "ผลการวิจัยเหล่านี้เน้นย้ำว่านโยบายทางคลินิกและสุขภาพที่มุ่งป้องกันความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม ควรรวมถึงความพยายามในการลดการสัมผัสกับ PM2.5. จากไฟป่าและที่ไม่ได้มาจากไฟป่าในระยะยาวเข้าไปด้วย"

ดร. Elser และ Casey แนะนำให้ผู้คนอัปเดตระบบกรองอากาศ และตรวจสอบคุณภาพอากาศในแอปพลิเคชันสภาพอากาศ ในกรณีที่พวกเขาใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่เกิน 100 ขึ้นไป หมายความว่าอากาศไม่ดีต่อสุขภาพเมื่อหายใจเข้าไป ทั้งนี้เพื่อเป็นลดความเสี่ยงของพวกเขาเมื่อพบเห็นค่า AQI สูงกว่า 100 ขึ้นไป ผู้คนควรอยู่ภายในอาคารและปิดหน้าต่าง และสวมใส่หน้ากาก N95 เมื่อออกไปนอกบ้าน

เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association International Conference® (AAIC®)
Alzheimer’s Association International Conference (AAIC)เป็นการรวมตัวของนักวิจัยจากทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมุ่งเน้นไปที่โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ โดย AAIC ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของ Alzheimer’s Association ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและส่งเสริมชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญและเป็นมิตร
หน้าหลักของ AAIC 2024: www.alz.org/aaic/ 
สถานีข่าว AAIC 2024: www.alz.org/aaic/pressroom.asp 
แฮชแท็ก AAIC 2024: #AAIC24

เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association®
Alzheimer’s Association เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อการดูแล สนับสนุน และวิจัยโรคอัลไซเมอร์ เรามีพันธกิจเพื่อเป็นผู้นำในการยุติโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วยการเร่งผลักดันการวิจัยทั่วโลก ขับเคลื่อนการลดความเสี่ยงและการตรวจจับแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเพิ่มคุณภาพการดูแลและการช่วยเหลือในระดับสูงสุด โดยเรามีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้โลกปราศจากโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ® เข้าไปที่ alz.org หรือโทร 800.272.3900

  • ดร. ทพ. Holly C Elser และคณะ การสัมผัสควันจากไฟป่าในระยะยาว และภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย (แหล่งทุน: U.S. National Institute on Aging R01-AG071024)

*** ข่าวเผยแพร่ของ AAIC 2024 อาจมีข้อมูลอัปเดตที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงานในบทคัดย่อต่อไปนี้ 

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2470275/AAIC24_rgb_Logo.jpg?p=medium600

Source : การสัมผัสกับควันไฟป่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles