การศึกษาที่ยาวนานกว่าสี่ทศวรรษกับผู้คนกว่า 130,000 คนเพื่อวัดค่าความเสี่ยงของเบคอนยามเช้าหรือฮอตดอกในเกมเบสบอลของคุณ
ประเด็นที่สำคัญ
- การทานเนื้อแดงแปรรูป 2 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์เพื่อความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่ทานเนื้อแดงแปรรูปน้อยกว่า 3 หน่วยบริโภคต่อเดือน
- การเปลี่ยนจากรับประทานเนื้อแดงแปรรูปเป็นถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง หรือเต้าหู้ทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 20%
- การบริโภคเนื้อแดงแปรรูปเพิ่มหนึ่งหน่วยบริโภคแต่ละครั้งในแต่ละวันเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาโดยรวมถึง 1.6 ปี ซึ่งรวมไปถึงด้านภาษาและการทำงานของสมอง
- การวิจัยนี้ครอบคลุมผู้คนมากกว่า 130,000 คน และใช้เวลาติดตามเป็นเวลานานถึง 43 ปี
ฟิลาเดลเฟีย, 31 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — ผู้ที่รับประทานเบคอน โบโลญญา หรือเนื้อแดงแปรรูปอื่นๆ อย่างน้อย 1/4 หน่วยบริโภคต่อวัน (ประมาณสองหน่วยบริโภคต่อสัปดาห์) มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้ที่ทานอาหารเหล่านี้น้อยกว่า 1/10 หน่วยบริโภค/วัน (ประมาณสามหน่วยบริโภคต่อวัน) โดยอ้างอิงจากการรายงานการศึกษาในวันนี้ที่การประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association International Conference® หรือ AAIC®) 2024 ในฟิลาเดลเฟียและทางออนไลน์
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าผู้คนสามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้โดยการแทนที่เนื้อแดงแปรรูปหนึ่งหน่วยบริโภคด้วยถั่วเปลือกแข็ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและถั่วลันเตาทุกวัน
"การป้องกันโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ถือเป็นประเด็นสำคัญ และ Alzheimer’s Association ได้สนับสนุนให้มีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว รวมถึง อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยกว่า เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญา" ดร. Heather M. Snyder รองประธานฝ่ายความสัมพันธ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ Alzheimer’s Association กล่าว "การศึกษาขนาดใหญ่ในระยะยาวครั้งนี้ได้ให้หนึ่งในวิธีการตัวอย่างในการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น"
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจโดยรวมอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญาและภาวะสมองเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีอาหารหรือส่วนผสมชนิดใดเลยที่ได้รับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกัน รักษา หรือบำบัดโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นได้ ในความเป็นจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่อาหารหรือส่วนผสมชนิดเดียวที่จะมีประโยชน์ต่อโรคที่ซับซ้อน เช่น โรคอัลไซเมอร์ อย่างมีนัยสำคัญ
นักวิจัยได้สังเกตผู้เข้าร่วมมากกว่า 130,000 คนในการศึกษาเรื่องสุขภาพของพยาบาล และการศึกษาติดตามผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พร้อมกับติดตามพวกเขาเป็นเวลานานถึง 43 ปีเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดงกับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพวกเขาได้ระบุผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวน 11,173 ราย นักวิจัยประเมินอาหารของผู้เข้าร่วมทุกๆ สองถึงสี่ปีโดยอิงจากคำตอบของแบบสอบถามความถี่ในการรับประทานอาหาร โดยสอบถามว่าพวกเขารับประทานเนื้อแดงแปรรูปบ่อยเพียงใด ซึ่งรวมถึงเบคอน (สองแผ่น) ฮอตดอก (หนึ่งชิ้น) ไส้กรอกหรือไส้กรอกคีลบาซ่า (2 ออนซ์ หรือ 2 ชิ้นเล็ก) ซาลามิ โบโลญญา หรือแซนด์วิชเนื้อแปรรูปอื่นๆ และถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว รวมถึง เนยถั่ว (1 ช้อนโต๊ะ) ถั่วลิสง วอลนัท หรือถั่วเปลือกแข็งชนิดอื่นๆ (1 ออนซ์) นมถั่วเหลือง (แก้ว 8 ออนซ์) ถั่วฝักยาว ถั่วเมล็ดแห้งหรือถั่วเลนทิล ถั่วลันเตาหรือถั่วลิมา (1/2 ถ้วย) หรือเต้าหู้หรือโปรตีนถั่วเหลือง
ผลการศึกษาที่รายงานเป็นครั้งแรกในงาน AAIC 2024 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาที่รับประทานเนื้อแดงแปรรูป 1/4 หน่วยบริโภคขึ้นไปต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเนื้อแดงแปรรูปน้อยกว่า 1/10 หน่วยบริโภคต่อวัน
นักวิจัยยังประเมินระดับความรู้ความเข้าใจโดยใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพื่อประเมินสถานะความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 17,458 คน และพบว่าการรับประทานเนื้อแดงแปรรูปเพิ่มหนึ่งหน่วยบริโภคแต่ละครั้งในแต่ละวันมีความเชื่อมโยงกับ:
- การเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาโดยรวมถึง 1.6 ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดทั้งหมด รวมถึง ภาษา การทำงานของสมอง และการประมวลผล และ
- การเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาในด้านคำพูดเพิ่มขึ้น 1.69 ปี ซึ่งเป็นความสามารถในการจดจำและเข้าใจคำศัพท์และประโยค
อย่างไรก็ตาม การทดแทนเนื้อแดงแปรรูป 1 หน่วยบริโภคต่อวันด้วยถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว 1 หน่วยบริโภคต่อวันมีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 20% และลดอายุทางสติปัญญาโดยรวมให้อ่อนเยาว์ลงถึง 1.37 ปี
"ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเสื่อมถอยของความสามารถในการรับรู้กับการบริโภคเนื้อสัตว์โดยทั่วไปยังคงคลุมเครืออยู่ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดขึ้นว่า การกินเนื้อสัตว์แปรรูปและไม่แปรรูปในปริมาณต่างกันส่งผลต่อความเสี่ยงและการทำงานของขีดความสามารถด้านความรู้ความเข้าใจอย่างไร" วท.ม. Yuhan Li ผู้ช่วยวิจัยใน Channing Division of Network Medicine ที่ Brigham and Women’s Hospital และผู้เขียนหลักของงานวิจัย ซึ่งเธอทำในขณะที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Harvard T.H. Chan School of Public Health บอสตัน "จากการศึกษาผู้คนเป็นระยะเวลานาน เราพบว่าการกินเนื้อแดงแปรรูปอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งควรจะคำแนะนำในการจำกัดอาหารชนิดนี้ในแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมอง"
"เนื้อแดงแปรรูปยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวานอีกด้วย ทั้งยังอาจส่งผลต่อสมองได้ เนื่องจากมีสารอันตราย เช่น ไนไตรต์ (สารกันบูด) และโซเดียมในระดับสูง" Li กล่าว
นักวิจัยยังได้ศึกษาเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป และไม่พบความเกี่ยวข้องที่สำคัญระหว่างภาวะสมองเสื่อมและการกินเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น แฮมเบอร์เกอร์ สเต็ก หรือสเต็กหมู
การศึกษาวิจัยของ Alzheimer’s Association ของสหรัฐฯ เพื่อปกป้องสุขภาพสมองผ่านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อลดความเสี่ยง (U.S. POINTER) เป็นการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีเพื่อประเมินว่าการแทรกแซงไลฟ์สไตล์ที่กำหนดเป้าหมายไปยังปัจจัยเสี่ยงหลายประการสามารถปกป้องการทำงานของสมองในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญามากขึ้นได้หรือไม่ โดยมีอาสาสมัครมากกว่า 2,000 รายลงทะเบียนในสถานที่ศึกษาทั้ง 5 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะมีการรายงานผลภายในปี 2568
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association International Conference® (AAIC®)
Alzheimer’s Association International Conference (AAIC)เป็นการรวมตัวของนักวิจัยจากทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมุ่งเน้นไปที่โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ โดย AAIC ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของ Alzheimer’s Association ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและส่งเสริมชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญและเป็นมิตร
หน้าหลักของ AAIC 2024: www.alz.org/aaic/ สถานีข่าว AAIC 2024: www.alz.org/aaic/pressroom.asp แฮชแท็ก AAIC 2024: #AAIC24
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association®
Alzheimer’s Association เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อการดูแล สนับสนุน และวิจัยโรคอัลไซเมอร์ เรามีพันธกิจเพื่อเป็นผู้นำในการยุติโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วยการเร่งผลักดันการวิจัยทั่วโลก ขับเคลื่อนการลดความเสี่ยงและการตรวจจับแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเพิ่มคุณภาพการดูแลและการช่วยเหลือในระดับสูงสุด โดยเรามีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้โลกปราศจากโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ® เข้าไปที่ alz.org หรือโทร 800.272.3900
- วท.ม. Yuhan Li และคณะ การศึกษาเชิงคาดการณ์เกี่ยวกับการบริโภคเนื้อแดงในระยะยาว ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ชาวสหรัฐอเมริกา (แหล่งทุน: National Institutes of Health R01AG077489, R00DK119412, RF1AG083764, R01NR01999, และ P30DK046200 การศึกษาเรื่องสุขภาพของพยาบาลได้รับการสนับสนุนโดย NIH UM1 CA186107 และการศึกษาติดตามผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพได้รับการสนับสนุนโดย NIH U01 CA167552)
*** ข่าวเผยแพร่ของ AAIC 2024 อาจมีข้อมูลอัปเดตที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงานในบทคัดย่อต่อไปนี้
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2470275/AAIC24_rgb_Logo.jpg?p=medium600
This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network