PeproMene Bio ประกาศผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของทีเซลล์ที่มีตัวรับแบบไคเมอริก (CAR) ชนิดใหม่

คุณสมบัติที่สามารถทำได้หลายหน้าที่สัมพันธ์กับอาการที่ทุเลาลงของผู้ป่วยยาวนานกว่า 18 เดือนด้วยการบำบัดโดยใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์

เออร์ไวน์, แคลิฟอร์เนีย, 8 สิงหาคม 2567 /PRNewswire/ — PeproMene Bio, Inc. บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพระดับคลินิกผู้พัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติแบบใหม่ ประกาศในวันนี้ว่า ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR (BAFF-R CAR T Cells) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป (City of Hope) ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ PMB-CT01 แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ที่ดีกว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 (CD19 CAR T cells) ซึ่งใช้ในปัจจุบันในการรักษาแบบใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ตามการศึกษาเชิงความสัมพันธ์ที่ตีพิมพ์ใน Blood Advances

นักวิจัยใช้แพลตฟอร์มการศึกษาวิเคราะห์เซลล์เดียวที่พบว่าการรักษา PMB-CT01 ด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์ มีคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ นั่นคือความสามารถของทีเซลล์ที่จะทำได้หลายหน้าที่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งมากกว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 นอกจากนี้ เซลล์ PMB-CT01 ยังผลิตไซโตไคน์ (cytokines) กระตุ้นที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและไซโตไคน์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปฏิบัติการซึ่งทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงได้มากกว่า

จากการใช้การทดสอบที่พัฒนาโดยศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป กลุ่มนักวิจัยได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR จากชายอายุ 57 ปีที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแมนเทิลเซลล์ (Mantle Cell Lymphoma) ที่กลับมาเป็นซ้ำ อาการผู้ป่วยไม่ทุเลาลงด้วยการรักษาที่ใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 ก่อนหน้านี้ หลังจากได้รับการฉีด PMB-CT01 เพียงครั้งเดียวในช่วงการทดลองเฟส 1 ของศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ชายผู้นี้มีอาการทุเลาลงอย่างสมบูรณ์เป็นระยะเวลากว่า 18 เดือนและยังคงไม่มีเซลล์มะเร็งที่ตรวจพบโดยการทดสอบระดับโมเลกุลที่มีความไวสูงเพื่อตรวจหามะเร็งที่เหลือตกค้างในระดับต่ำที่สุด

การศึกษาชิ้นนี้รายงานให้เห็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนของคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งสัมพันธ์กับการขยายเพิ่มจำนวนของซีเออาร์ ทีเซลล์อย่างประสบผลสำเร็จหลังการฉีด และอาการทุเลาลงของผู้ป่วยที่ยังคงอยู่ต่อเนื่อง นักวิจัยวางแผนที่จะใช้การทดสอบนี้เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์จากผู้ป่วยอื่น ๆ อีกห้ารายในการทดลอง ซึ่งทุกคนมีอาการทุเลาลงที่คล้ายกันกับการรักษาด้วย PMB-CT01

"เราได้พัฒนาการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่กลับมาเป็นซ้ำหลังจากได้รับการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 ในเชิงพาณิชย์ และผลลัพธ์ของเราจนถึงขณะนี้แสดงถึงประสิทธิภาพระดับสูงสุดและดีที่สุด โดยมีผลข้างเคียงที่น้อยที่สุด" นพ. ดร. Larry W. Kwak รองประธานและรองผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งครบวงจรของซิตี้ ออฟ โฮป และผู้ก่อตั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ PeproMene และเป็นประธานที่ได้รับค่าตอบแทนของคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของบริษัทกล่าว ทั้งนี้ Kwak มีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์หุ้นของ PeproMene "เราได้พัฒนาการทดสอบการทำงานได้หลายหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้สำหรับผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์ โดยมีศักยภาพในการทำนายผลลัพธ์ของผู้ป่วยและเร่งการพัฒนาการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์ที่มีประสิทธิภาพ"

พญ. ดร. Elizabeth Budde นักวิจัยหลักของการทดลอง รองศาสตราจารย์ฝ่ายโลหิตวิทยาและการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด และแพทย์ผู้อำนวยการบริหารโปรแกรมการบำบัดด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ซิตี้ ออฟ โฮป ได้เสนอผลการทดลองเบื้องต้นที่การประชุม American Society of Hematology ในเดือนธันวาคม 2566

"เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่กล่าวได้ว่าผู้ป่วยห้ารายที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน และหนึ่งรายที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดบีเซลล์ได้รับการรักษาด้วย PMB-CT01 และทั้งหมดทุกรายแสดงให้เห็นการตอบสนองอย่างยาวนาน" ดร. Budde กล่าว "ผู้ป่วยหลายรายในการทดลองกลับมาเป็นโรคอีกหลังจากได้รับการรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 และ/หรือมีภาวะ CD19 เป็นลบ การใช้ PMB-CT01 อาจเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสำหรับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าว"

"การทดสอบนี้สามารถนำไปใช้กับการทดลองทางคลินิกในปัจจุบันและอนาคตเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา PMB-CT01 ทั้งนี้ PeproMene ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และคลินิกของการบำบัดโดยใช้เซลล์แบบใหม่ที่มีศักยภาพดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง" ดร. Hazel Cheng ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของ PeproMene Bio กล่าว

เกี่ยวกับ PMB-CT01

PMB-CT01 เป็นการรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยตัวแรก ทั้งนี้ BAFFR (ตัวรับกระตุ้นบีเซลล์ หรือ B Cell Activating Factor Receptor) ในกลุ่มตัวรับปัจจัยทำลายเซลล์มะเร็ง (tumor necrosis factor หรือ TNF) เป็นตัวรับหลักสำหรับ BAFF ที่มีฤทธิ์ต่อบีเซลล์เกือบจะโดยเฉพาะ เนื่องจากการส่งสัญญาณ BAFF-R ส่งเสริมการแบ่งตัวของบีเซลล์ที่เป็นปกติ อีกทั้งยังจำเป็นต่อการอยู่รอดของบีเซลล์ จึงทำให้มีแนวโน้มต่ำที่เซลล์มะเร็งจะสามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผ่านการสูญเสียแอนติเจน BAFF-R คุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวนี้ทำให้การรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R เป็นการศึกษาที่มีแนวโน้มที่ดีสำหรับมะเร็งในบีเซลล์ ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R สร้างขึ้นโดยใช้แอนติบอดีสายเดี่ยว (single-chain fragment variable) ต้าน BAFF-R (anti-BAFF-R scFv) ที่มีการส่งสัญญาณรุ่น 2 ซึ่งประกอบด้วย CD3ζ และ 4-1BB งานวิจัยของเราพบว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR ฆ่าเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวของมนุษย์ในการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ตัวแบบ ทั้งนี้ PeproMene Bio ได้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ PMB-CT01 จากซิตี้ ออฟ โฮปแล้ว

เกี่ยวกับ PeproMene Bio

PeproMene Bio, Inc. เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขั้นคลินิกในเมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่สำหรับรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ขณะนี้วิธีการรักษาระดับแนวหน้าของ PeproMene ได้แก่ PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR) อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ บีเซลล์ (B-cell acute lymphoblastic leukemia) (B-ALL; NCT04690595) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน บีเซลล์ (B-NHL; NCT05370430) ที่มีการกลับมาเป็นซ้ำใหม่หรืออยู่ในระยะไม่ตอบสนองของโรค ในการศึกษาทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 นอกจากนี้ PeproMene Bio ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาตัวเชื่อมทีเซลล์จำเพาะสองเป้าหมายมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR Bispecific T Cell Engager) และซีเออาร์ เซลล์เอ็นเคมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR-CAR NK cells) ด้วย

ติดต่อ: John Fry, อีเมล: [email protected]

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1972356/4847154/Pepromene_Bio_Inc__Logo.jpg?p=medium600

Source : PeproMene Bio ประกาศผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของทีเซลล์ที่มีตัวรับแบบไคเมอริก (CAR) ชนิดใหม่

This content was prepared by our news partner, Cision PR Newswire. The opinions and the content published on this page are the author’s own and do not necessarily reflect the views of Siam News Network

Share

Latest Updates

Most Viewed

Related Articles